วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มาดูแนวคิด ก่อนใช้ Trading system

อันนี้ผมว่าเป็น clip ที่จะทำให้เราเข้าใจการ Trade โดยใช้ระบบได้ดีมากขึ้น


ก็ขอสรุป คร่าวๆ เผื่อใครขี้เกียจดู Clip นี้นะครับ

vdo นี้สรุปว่า การเล่นหุ้นด้วยระบบนั้นเป็นเกมส์ของความน่าจะเป็น และสถิติครับ ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความหวังว่าถ้าเกิดอย่างนี้ แล้วจะเป็นอย่างนั้น

จากสถิติเบื้องต้นนั้น ระบบจะมีความแม่นยำอยู่ที่ 70 % ขึ้นไป ดังนั้นคุณควรจะเชื่อระบบอย่างน้อยให้ครบ 10 ครั้งก่อนจะตัดสินใจว่าควรจะทำตามระบบต่อไปไหม ซึ่งคุณควรจะถูก 7 ครั้งใน 10 ครั้ง โดยคนทำ vdo นี้ทำการทดลองโดยการสุ่มหยิบลูกแก้ว แล้วนำมา plot เป็นกราฟซึ่งกราฟจะได้ไกล้เคียงกับกราฟในตลาดหุ้น นั้นซึ่งเป็นที่มาของตัวเลขสถิติที่กล่าวมาข้างต้น ( ยังไงอยากรู้เขาทดลองยังไง ดู clip ได้นะครับ)

คุณไม่สามารถเล่นหุ้นโดยบอกว่า ตอนนี้ผมคิดว่ามันเป็นขาขึ้นหรือขาลง แต่คุณต้องอธิบายอย่างชัดเจนได้ว่า จะทำกำไร หรือตัดขาดทุนเมื่อไหร่ Exit? Stops? Targets? ถ้าคุณไม่สามารถมีคำตอบให้ตัวคุณเองได้ล่ะก็ คุณก็คนที่เตรียมรอวันเจ๊งหุ้น

และจากสถิติอันนี้ เมื่อคุณได้กำไรติดต่่อกัน 5 - 6 ครั้งแล้วคุณควรจะลดน้ำหนักการลงทุนลง เพราะจากสถิติ 3 - 4 ครั้งถัดไปคุณมีโอกาสแพ้ติดต่อกันได้ ก่อนที่เงินคุณจะโตขึ้นอีกครั้ง

แต่ช่วงที่เป็นทำให้คนไม่สามารถทำตามระบบได้ก็คือช่วงที่มันเป็น whipsaw ( อยู่กับที่ขึ้นๆลงๆ) ก่อนจะมี Trend ใหญ่เกิดขึ้น ดังนั้นความมีวินัย และการควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเล่นตามระบบ

ก่อนที่จะทำกำไรมหาศาล ไม่ใช่แค่เล่นตามเซียนเก่งๆ เวบบอร์ดดีๆ หนังสือดีๆ แต่ผู้คนมากมายก็ยังขาดทุนในตลาดหุ้นอยู่ดี ดังนั้นคุณควรจะตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า เมื่อไหร่ควรเข้า เมื่อไหร่ควรออก เมื่อควรหยุดการขาดทุน ระบบของคุณสามารถดูสถิติย้อนหลังได้ไหม ค่าเฉลี่ยของการชนะ และแพ้ เป็นสิ่งที่คุณควรจะต้องคำนึง

boyles


แหล่งที่มา: http://mangmaoclub.com/important-trading-system/

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

25 stupid mistake book

ก็ไปห้องสมุดมารวยมา ก็ได้หนังสือมา 2 เล่ม ก็เห็นว่ามันมีประโยชน์ ก็เลยว่าจะมาแปลสรุปๆเก็บไว้ เผื่อเอาไว้ทบทวนในอนาคต

เนื่องจากปีใหม่ เที่ยวกระจายเลยอ่านไม่ทันพรุ่งนี้ได้กำหนดคืนหนังสือแล้ว ยังไงจะสรุปคร่าวๆ ไว้คราวหน้ายืมมาใหม่ค่อยว่ากันล่ะกัน

25 - ความผิดพลาดของนักเล่นหุ้น

1. ฉันรู้ทุกอย่างที่ต้องรู้หมดแล้ว เพราะนั้นจะทำให้คุณไม่เรียนรู้เพิ่ม อย่าทำตัวเหมือนน้ำที่เต็มแก้ว

2. ฉันไม่มีแผนในการลงทุน เปรียบเสมือนเรือไม่มีหางเสือ คลื่นจะพัดไปทางไหนก็ได้ ไร้จุดหมาย ไม่ว่าจะจนหรือรวย คุณก็ต้องการแผนการลงทุน การออมในชีวิตคุณเพื่อให้คุณได้เดินตาม และติดตามจนกระทั่งถึงเป้าหมาย

3. ฉันเชื่อเพื่อนเมื่อเพื่อนแนะนำหุ้นเด็ดๆให้ - ถ้าฉันไม่เชื่อเพื่อนฉันคงเป็นเศรษฐีไปแล้ว จริงอยู่บางครั้งมันอาจจะถูกบ้าง หรือผิดบ้างแต่ก่อนจะตัดสินใจ คุณควรจะตัดสินให้ดีก่อนทุกครั้ง ไม่ใช่เชื่อตามไป

4. ฉันไม่วิเคราะห์หุ้นที่ฉันซื้อ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามที่คุณตัดสินใจซื้อ การที่คุณไม่รู้ว่าหุ้นพื้นฐานดีหรือไม่ หรือไม่รู้เทคนิคการเข้าซื้อหรือขายออก นั่นหมายความว่าคุณกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเอง Buying without knowledge increases yr investment risk. Great stocks start with great fundamentals.

5. ฉันซื้อหุ้นในขณะที่มันเป็นขาขึ้น แต่ทำไมฉันถึงขาดทุน Sometimes the best investments are the ones you don't make. Donald Trump

6. ฉันไม่เคยขายหุ้นตัวที่ฉันขาดทุนและนั่นคือสิ่งเดียวที่ฉันยังถืออยู่ Selling your winners and holding losers is like cutting your flowers and watering your weeds. Bill O'neil

7. ฉันขายหุ้นตัวที่ได้กำไรก่อนที่มันจะจบ trend . Never jump off a fast-moving train or a winning racehorse. Peter lynch

8. ฉันซื้อหุ้นโดยไม่รู้ว่ามันมีค่าอย่างไร

9. ฉันไม่เข้าใจ หรือรู้ว่าวงจรของเศรษฐกิจ อย่างน้อยคุณควรจะรู้ช่วงไหนเป็นช่วง ถดถอย ฟื้นตัว รุ่งเรื่อง กำลังจะอิ่มตัว กำลังโตช้าลงเรือ่ยๆ วงจรของเศรษฐกิจ

10. ฉันติดว่าการลงทุนในต่างประเทศเหมือนกับการซื้อของ 7-11 คุณพลาดครั้งใหญ่แล้วล่ะ

11. ฉันคิดว่า broker ของฉันรู้หมดทุกอย่าง แต่จากประสบการณ์ผม broke ทำผมเจ๊งตลอด

12. ฉันไม่เชื่อในการลงทุนใน mutual fund ถ้- าคุณไม่มีเวลา mutual funds คือเพื่อนที่ดีทีั่สุดของคุณเลย

13. ฉันไม่อ่านกราฟหุ้น If you start with the fundamentals and finish with the graphs, you'll qualify winners every time. Bill O'neil

14. ฉันไม่เชื่อ online trading จะทำเงินได้

15. Asset allocation is for Wimps. Once you've amassed two nikles to invest, it's a good idea to keep them in separate pockets and not in the same pants. Ben Franklin

16. ฉันเล่นหุ้นด้วยไม่ตามอุตสาหกรรม sector นั้นๆ

17. ฉันซื้อหุ้นราคาต่ำ เพราะคิดว่ามันถูก นี่คือสิ่งที่ผิดพลาดมากๆข้อนึง นักลงทุนให้ความสนใจในราคาของมันมากเกินไป เกินกว่ามูลค่าที่มันควรจะเป็น

18. ฉันชอบเล่น margin นั้นจะทำให้คุณเล่นเกินตัว ไม่แต่ขาดทุน ยังอาจเป็นหนี้ด้วย

19. ฉันเล่นหุ้นโดยขาดความระวัดระวังหลังจากฉันได้กำไรก้อนโต และสุดท้ายฉันก็เสียมันไปทั้งหมด

20. ฉันไม่มีแผนในการอยู่รอดในตลาดขาลง หรือตลาดหมี

21. ฉันไม่เคยเรียนจากความผิดพลาดของตัวเอง

22. อย่าไปสนใจ หรือทำตัวเหมือนกับตัวเองเป็นรายใหญ่ หรือ สถาบัน เพราะคุณเป็นแค่กบตัวน้อยๆ ในตลาด จงทำในสิ่งที่คุณต้องทำ

23. ฉันไม่สนใจในการลงทุนในพันธบัตร - พันธบัตร จะทำให้เงินใน portfolio คุณปลอดภัยขึ้น อย่างน้อยควรจะแบ่งการลงทุนที่ความเสี่ยงน้อยออกมาบ้าง

24. ฉันซื้อหุ้นตามความรู้สึก ไม่ใช่ความจริง

25. ฉันไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะขายหุ้น

ยังไงถ้าเขียนไรผิดก็ comment มาได้นะครับ ไว้วันหลังมีโอกาสไปยืมมาใหม่จะสรุป เนื้อหาข้างในให้ได้มากกว่านี้

Boyles

การตั้งสติ กับ การเทรด



ก็ขอ post บทความที่ชอบนะครับ comment ได้ดีจิงๆ หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ช่างใช้ได้ดีในทุกๆที่จริงๆ

^O-O^
23 December 2009 at 9:44 am #

สวัสดีครับ

ผมอ่านแล้วคิดถึงพี่คนหนึ่งพอร์ตใกล้ 1พันแล้ว ครั้งหนึ่งผมถามเขาว่า พี่มีอะไรจะสอนน้องคนนี้ไหมครับ เขาบอกผมสั้นๆ ครับ
“ เดาว่าไรไม่สำคัญ สำคัญว่าถึงเวลาซื้อก็ต้องซื้อไม่ว่าเราจะเดาว่ามันจะขึ้นหรือจะลง
และถึงเวลาขายก็ต้องขาย ไม่สำคัญว่าที่ราคาไหนกำไรหรือขาดทุน ถึงเป้าหรือไม่ถึงเป้า ผิดหรือถูกนี่ก็ล้างพอร์ทไปแล้ว เมื่อเช้า เรียบวุธ 555ต่อให้ขายหมูก็ต้องขายครับ ตามระบบ”
นั่นสุดยอดวิชาเลย!
ผมเคยซื้อ cpall หุ้นมาราคา 10 บาท แต่เอาตัวกูรไปบวกในราคาหุ้น อย่างนี้ถือว่าหุ้นตัวนี้แพงกว่า 10 บาทครับ เพราะมีต้นทุนตัวกรูผุกเข้าไปด้วย เวลาขายนี่ ต้องขายตัวกรูออกก่อน แล้วค่อยขายหุ้น ทำให้ต้นทุนมันเพิ่มทำไม ซื้อหุ้น ให้มีแต่ต้นทุนหุ้น ไม่มีต้นทุนกรู ตีราคาอย่างนี้ หุ้นจะได้ไม่แพงครับ 555555

สมัยก่อนผมมัวแต่วัดมูลค่า ตีราคา ให้ราคา แต่ไม่ได้ให้ราคาตัวเอง ไม่ค้นหาตัวเอง ตีราคาหุ้นจนลืมตีราคาตัวเอง นี่ไปเที่ยวกันรอบโลก เสาะหาค้นหาที่กินอร่อยๆ ไปมาหมดทุกทวีปแล้ว แต่ไม่เคยไปในใจของตัวเอง ไม่เคยค้นหาตัวเอง ไม่ต้องลงทุนเปนเงินเปนทอง ได้ของที่ดีกว่า ค้นหาตัวเองไม่เสียตังสักบาท

พี่เขาชอบสอนเรื่อง การละความเปนตัวกรูว่าทำได้อย่างไร “ง่าย ๆ ใครๆ ก้ทำได้ ลองเอาชนะตัวเอง อย่างอดข้าวเย็น กินมังสวิรัติ ฝึกตัวเองอะไรก้ได้ ใจไม่ยาก กระโดดเข้าใส่เลย”
แต่ต้องเปนเรื่องที่ดี อย่างเล่นดนตรี หัดเล่นไวโอลิน ยาก แต่ชอบ เพราะเปนการเอานะตัวเอง ไปหวิดพื้น เคยหวิดได้ 20 พยายามจนวันหนึ่งถึง 50/ครั้ง ความเพียรเกิดแล้ว ละเปนของกรูแล้ว ไม่มีตีวกรูแล้ว

เหมือนท่านริชาร์ท เบนสัน ถุกแม่ใช้กุศลบายฝึกอย่างหนัก ให้ละความเปนตัวกู ไม่ให้ย่อท้อกับชีวิต

การขี่จักรยานข้ามเมืองตั้งแต่วัยเด็กของนายเบนสันนี่กือเปนศีล ศีลคือเครืองมือชนะตน จักรยายก็เปนศีลได้ ถ้าติดกาแฟ บอกตัวเอง วันนี้ไม่กิน นั่นกาแฟกลายก็ศีลแล้ว ชอบกินข้างขาหมูมาก แต่วันนี้ฝืนตัวเองได้ เอาชนะตัวเองได้ ข้าวขาหมนั่นก้ศีลแล้ว อย่างการบ้านเด็กนี่ยังไม่เปนศีล แต่ถ้าใจเด็กขี้เกียจทำ แล้วฝืนตัวเองทำ นั่นก้ศีลแล้ว การบ้านกลายเปนศีลตรงนั้น สิ่งต่างๆ จะเปนศีลได้ ไมใช่ด้วยตัวมันเอง แต่เปนศีลได้เพราะใจ ศีลของคนหนึ่งอาจไม่เปนศีลขออีกคน ศีลมีในสิ่งนั้น ศีลไม่มีในสิ่งนั้น ถ้าอยากเมื่อไหร ยังไม่เปนศีล ถ้าละได้ เปนศีล เดี๋ยวมีเดี๋ยวไม่มี ไม่มีตัวกรู ความเปนตัวกรูก็ไม่มี ศีลก็ไม่จำเปนต้องมี ศีลทำให้ชนะตัวเอง ด้วยเพราะความเพียร ความเพียรจึงยิ่งใหญ่ครับ

ชาวยิวทุกคนมีศีลถึง 613 ข้อ จำกัดตัวเองให้แคบ ละยึดติดตัวเอง ความสำเร็จชาวยิวฝึกเปนชีวิตประจำวัน ฝึกทุกวัน แล้วจะไม่ให้คนยิวเขาประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกได้อย่างไร ในเมื่อเขาฝึกความสำเร้จกันทุกวันอยู่แล้ว

บ่อยครั้ง เวลาเทรดกับพี่เขาในห้อง จะชอบสอนเรื่องความ ” อดทน อดกลั้น อดออม ”

ตัวเราอยากอะไร เอาชนะมันให้ได้ มันโกรธ จัดให้หายโกรธ มันรักก็หายรัก มันหลงก้หายหลง ทำจิตใจไม่ให้กิเลสครอบ เข้าไม่ได้ ไม่มีทางเข้า ขอดทษด้วยนะ ท่านกิเลสท่านเข้ามาไม่ได้ สติเราทันท่าน ท่านไปที่อื่นเถอะ 5555555 เรามี expectation เอาสติไปสู้กับมัน สติเปนยางลบ ลบ expectation ออก เอาความเพียรไปลบมันออก ถ้าทำอย่างนั้น expectation ไม่มีที่นั่ง เพราะสติไปนั่งแล้ว เหมือนเก้าอี้ดนตรี เก้าอี้ตัวนี้มีแค่ตัวเดียว ถ้าสติไม่นั่ง กิเลสมันจะนั่งแทน แล้วพาเราไปไหนต่อไหนตามกิเลส ใจเราเปนคนโดยสารไปแล้ว ไม่ใช่คนขับ พาไปเหวหรือ สายเกินไปแล้ว ทำให้สติคงที่ ฝึกเอาสติไปจับอยู่สิ่งที่เข้ามา กลัวขาดทุน เอาสติไปจับทันที ขาดทุนเท่าไร กำไรเท่าไร วันนี้เสี่ยงไหม ต้องเล่นเร็วแค่ไหน 50/50 เข้าทำไม กำไรไม่คุ้มสติที่เสียไป ตังหาได้ สติหาได้ แต่สติไม่แพง ไม่มีต้นทุน เอาสติดีกว่า ถ้าไม่มั่นใจ อยากลอง ลองน้อยๆ ขาดทุน ก็ตามที่คาดหวัง ทุกวันนี่คิดถึงขาดทุนไว้ ขาดทุนเท่าไร เปนไปตามที่เราคิดไหม ใจเราต้องคงที่ ถึงไปจับตลาด เพราะใจของตลาดมันแกว่ง ใจเราถึงต้องคงที่ ไม่ใช่ใจเราแกว่งมากกว่าตลาด อย่างนี้แพ้ตั้งแต่ต้นครับ 555555


ที่มา http://mangmaoclub.com/book-zen-in-the-market/#comments

คุยกัน กับ ปรัชญาหุ้น


ผมไปอ่านมาคุยกันเรื่องปรัชญาชีวิตกะหุ้น เห็นว่ามันส์ดีเลยเลือกเอามาแปะไว้ ลองดูนะครับเผื่อได้แนวคิดใหม่ๆ ปรัชญากะหุ้น ในมุมมอง Trader คนอื่นๆ

Artis 22 December 2009 at 12:13 pm

“Invest first, investigate later”

Soros

ข้างบนนี้เปน คำพิพากษา ไม่ใช่สมมุติฐาน

สมมุติฐาน มาก่อนคำพิพากษา ส่วนสิ่งที่ก่อนสมมุติฐาน คือ สัณชาติญาณ
ผมเคยลองใช้กับ MINT สร้างสมมุติฐานขั้นมา แล้ว Invest first, investigate later ลงทุนทีละน้อย คอยดูว่าสมมุติฐานของเราถุกหรือผิด บางทีก็สร้างสัมผัสขึ้นมา ขายก่อนแล้วค่อยซื้อ ถ้ามีคนรับมาก ผมถึงจะซื้อ
คือ ซื้อไปแล้ว มีคนมารอซื้อต่อแน่ๆ การสร้างความรูสึกเกี่ยวตลาดขึ้นมานั้น ผมทำไม่บ่อยครับ
ทำต่อเมื่อ ไม่แน่ใจเท่านั้น ถ้าอยากซื้อ ผมจะขายก่อน ถ้าอยากขาย ผมจะซื้อก่อน
ที่สำคัญ ต้องแยกอารมณ์และความรูสีกของตนออกจากตลาดให้ได้
ไม่ปล่อยให้ตันหาต่างๆ เข้ามาปน ไม่ปล่อยให้อัตตามาปะปนกับการตัดสินใจทางการลงทุนอย่างเด็ดขาด
การที่ปราศจากอารมณ์ความรูสึกในการลงทุนนั้น ต้องอาสัยความมีวินัยอย่างมาก
ต้องอาสัยความมั่นใจในตัวเองอย่างมากด้วยครับ
อีกทั้งต้องเข้าใจว่าตลาดมีทั้งด้านที่มีเหตุผล และไม่มีเหตุผล
และยังต้องยอมรับด้วยว่า เราไม่สามารถตัดสินใจได้ถุกต้องตลอดเวลา
หากมีโอกาส ต้องฉกฉวยให้เต็มที่
หากผิดพลาด ก็ยอมรับผิด สำคัญที่ต้องรูว่าเมื่อผิดแล้ว ต้องทำอย่างไรให้อยู่รอด

แล้วนี่ละครับ …..

กฎขอที่ 1 อย่าขาดทุน
กฎข้อที่ 2 อย่าลืมกฎข้อที่ 1

คำอธิบายที่อยู๋หลังกฎเหล่านี้เปนอย่างไร มันมีอะไรมากกว่านี้เยอะ
นี่ต้องคิดถึง วอเรน บัฟเฟต
เขาอธิบายว่าทำอย่างไร เอ้ยยยย ตัวเขาเองปีนี้ยังขาดทุนเลยนี่
มีใครช่วยอธิบายให้ผมฟังหน่อยนะครับ ว่าสิ่งที่พูดข้างบนนี้ ทำอย่างไร
สำหรับผม ถ้าไม่อยากขาดทุน ก็ไม่ต้องลงทุน…จบข่าวเลย 555555

ออ…..ช่วงเข้าป่า พรานสอนผม มีเรื่องหนึ่งมาเล่าให้ฟังครับ

พรานเดินไป คุยกันเพลินๆ ทำท่าโยนมีดใส่ผม เราก็ทำท่าหลบ ไม่รับ มีดสปาตามันยาวขนาดไหน ท่านพอนึกออก ทำท่าแต่ไม่โยนครับ เดินไปอีกสักพัก หันกลับมาคุยกับผม ทำท่าโยนมีดให้ผมรับอีก ผมก้ตั้งท่ารับ เพราะเหนมีดใส่ฝักแล้ว แต่ไม่โยนครับ เราก็ทำท่ารอ แต่เขาไม่โยนนะ เขาเหมือนกับวา จะโยนแต่ไม่โยน คือไม่ตั้งใจโยน พอเราเผลอ ๆ เอาอีก ทำท่าโยนอีก คราวนี้ ผมไม่ตั้งท่ารับอีกแล้ว เพราะรู้แล้วว่า เขาไม่โยน พอผมไม่ทำท่ารับ พรานจึงหัวเราะออกมา ผมถามว่าทำไมพรานหัวเราะละ พรานบอกว่า เหนท่านไม่รับผมจึงหัวเราะ พรานจึงบอกว่า ทำอย่างนั้นไมได้ ถ้าอยู่ในป่า อย่าประมาทเด้ดขาด ถ้าท่านเชื่อว่า ผมไม่โยนแน่ๆ จึงไม่รับ ถ้าผมโยนจริง ๆ ละ ท่านเสร็จเลย

มีดข้างบน ไม่ต่างอะไรจาก สมมุติฐานที่ว่า “อย่าขาดทุน” วันไหนท่านเลิกสงสัยในกฎข้อนี้ ไม่ยื่นแขนมารอรับแล้ว…….ท่านมีโอกาสหลงป่าทุนนิยมแน่ๆ !


Anonymous 22 December 2009 at 2:09 pm #

ผมเคยไปเจอนักมวยท่านหนึ่งตอนไปเที่ยวเมืองจีน พอรู้ว่าผมมีอาชีพเป้นนักลงทุน ท่านก็ถามว่า “เปนคนกล้าได้กล้าเสียอย่างนี้เล่นหุ้นได้ไหม” กระผมก็เรียนตอบไปว่า ” ไม่ใช่เลย” ในตลาดหุ้น อย่าใจร้อน ถ้าร้อนนี่มีแต่เสีย นักลงทุนที่เก่งๆ ถึงต้องใจเย็น ต้องควบคลุมอารมณ์ตัวเองให้เก่ง ใครบอกคนเก่งต้องกล้าได้กล้าเสีย เข้าใจผิดแล้ว คนภายนอกมองแล้วคิดว่าเรามีนิสัยอย่างนั้น นั่นไม่เปนความจริง คนเก่งต้องรอดูจังหวะที่พอเหมาะ แล้วค่อยเข้าไปลงทุน ไม่ใช่เข้าทุกวัน หาจังหวะได้แน่ๆ แล้วค่อยเข้า นาน ๆทีค่อยปล่อยมัด ปล่อยทีแล้วน๊อคเลย ไม่ใช่ปล่อยตลอด อย่างนั้นน้ำหนักมัดไม่มี ไม่ใช่กล้าได้กล้าเสีย อย่างนั้นหมดตัวไปนานแล้ว

ผมเรียนต่อไปว่า ถ้าเข้าตลาดทุกวันเหมือนท่านกวนน้ำในแก้วทุกวัน ตะกอนมันวนในแก้ว น้ามันก้ขุ่น ไม่เคยใส ถ้าปล่อยให้มันตกตะกอนบ้าง ท่านจะเหนน้ำใสในแก้ว สิ่งต่างๆ จะตกตะกอนหมด นั่นคิอเหตุผลที่ไม่ต้องเข้าทุกวัน อย่าให้แก้วน้ำของชีวิตการลงทุนมันแกว่งตลอด ไม่อย่างนั้นแล้ว ท่านจะไม่เหนน้ำใสตะกอนใจในแก้วของตนเองเลย

ถ้าแนวทางการลงทุนของเราดี เหมือนรถที่ดี แต่นักแข่งดันขับไม่เปน ไม่เอารถไปลอง ไม่เคยลองสนามแข่ง ก่อนแข่งแต่ละครั้ง ต้องนั่งเซตก่อนว่าวันนี้จะเข้าโค้งอย่างไร สนามวันนี้จะเปนอย่างไร รายละเอียดเรื่องตลาดมันเยอะ ต้องลองเอารถไปลองในสนาม ปรับให้เข้ากับสนาม ปรับใจตัวเองให้เข้ากับรถ ให้เข้ากับวิถีการลงทุนที่เราใช้

ไปเที่ยวจีนครั้งนั้น ไกด์เล่าให้ฟังว่า ….”ฮ่องเต้จีนกระแทกตื้น 8 ลึก 2″ สูตรเด็ดท่านเมียเยอะ ผมเลยคิดไปว่า นี่เกี่ยวกับตลาดหุ้นอยู่บ้างไม่น้อย สูตรนี่เปนสูตรเอาชนะใจตนเองของท่าน แต่พอตื้น 8 แล้วลึก 2 สนมไม่คาดหวัง พอลงลึกแล้วเกินคาดหวัง critical mass ของสนมจึงเกิด พอครั้งต่อไปนานๆ นี่กลายเปน expectation ของสนม ตื้น 8 แล้วเดี่ยวมีลง ใจสนมรอตั้งแต่แรกแล้ว ใจสนมเกิด critical mass ตั้งแต่ตื้นครั้งที่ 1 แล้ว ฮ่องเต้ไมได้เสพกามอีกต่อไป ท่านทำให้สนม เสพ expectation ทั้งนั้น สนมกลายเปนคนติด expecatation กัน ที่บอกว่าคนติดบุหรี่อย่างนี้ไม่ถูก เขาติด expectation ต่างหาก ท่านก็เสพ expectation ในตลาดกันทั้งนั้น

ถ้าเราเหนคนเคาะหุ้น ………..

500
500
500
500
500
500
500
500
100000
100000
500
500
500
500
500
500
500
500
100000
100000

นั่นก็ตื้น 8 ลึก 2 เหมือนกัน!

เหนอย่างนี้แล้วตามซื้อทันที เขาเล่นกับ expectation ของเราครับ
ทันสติตัวเองให้ได้ สูตรนี้เอาไปใช้ค้าขาย ไปทำอะไรได้หลายอย่าง นอกเตียง ในเตียง ใช้ได้หมดครับ

ขอบพระคุณมากครับ…….


mod 22 December 2009 at 3:28 pm #

ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์อุเอชิบะของไอคิโด จิกาโรคาโนของยูโด โอทสุกะเซนเซของวโดริวคาราเต้ ของจีนก็มีอย่างท่านจางซานฟงปรมจารย์ไทเก็ก หรือท่านยิปมั่นครูมวยหย่งชุน ซึ่งเป็นอาจาย์ของบรุซลี และแม้แต่มวยปากัวที่ลุ่มลึกมากๆ หรือถ้าแม้แต่ในไทยนี้ก็ยังมีครูแปรงซึ่งสืบทอดมวยไชยา มรดกของไทยๆที่มีคุณค่ามากๆ นี่ผมไม่อาจจะยกตัวอย่างมาหมดได้เพียงแต่อยากจะบอกว่าจริงๆแล้วทุกศาสตร์ล้วนก่อกำเนิดควบคู่มากับแนวคิดและปรัชญาที่ลึกซึ้งมากๆครับ

Anonymous 22 December 2009 at 9:14 pm #

หรือว่า…… นี่เท่ากับว่า ท่านได้ขจัดความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ให้หมดไปจากใจได้จนจิตใจนิ่งดุจบ่อน้ำที่สงบงันจนสามารถสะท้อนดวงจันทร์ได้อย่างสวบงาม จดจ่อกับสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันขณะ จนกระทั่งการเทรดคือการฝึกสมาธิไปในตัว

ผมเคยเจอเทรดเดอร์ท่านหนึ่ง บรรลุถึง “วิถีกระบี่ภาพสะท้อน” คือ แนวทางไม่แสดงงำประกายตนเอง โดยการ “สำรวมถ่อมตัว” เป็นหลัก ในขั้นนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึกภายในจิตใจ ทำให้สามารถมองโลกในมุมมองใหม่ เปลี่ยนวิถีคิดของตัวเองไปอีกขั้น คือการถือเอา เป้าหมายทางจิตวิยญาณเป็นหลัก ดั่งอัศวินเจได ผสมผสานระหว่างนักรบกับนักพรต การฝีกคิดเหมือนเจไดไม่ต่างจากการปฎิบัติธรรม และการเทรดเป็นการแสวงหาธรรมฝึกจิตใจอย่างหนึ่งเช่นกัน

ผมเคยเจออีกท่าน เทรดเดอร์ระดับปรมาจารย์ มีลักษณะภายนอกเหมือนคนสามัญธรรมดา แต่ความเป็นอยู่ไม่ต่างอะไรจากนักบวช รักสมถะ รักสันโดษ มีคุณธรรม เปรียบเหมือนนักรบ แต่ไม่ปรารถนาการฆ่าฟัน เพียงแต่ทำสงครามในสมรภูมิภายในตัวตน เป็นนักรบแห่งจิตวิญญาณและสามารถเปิด “พื้นที่ศักสิทธิ์” ในหัวใจของตนเอง

เขาบอกผมว่า….”เงินเป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การทดสอบทฤษฎีปรัชญาของตนเอง และ การฝึกสมาธิเพื่อทดสอบอารมณ์ตัวเองเป็นจุดหมายสำคัญมากกว่า”

เขายังเปรยอีกว่า อาชีพเทรดเดอร์ที่บริหารกองทุนป้องกันความเสี่ยง ต้องเป็นคนที่ลึกลับซับซ้อน อย่าออกสื้อโดยเด็ดขาด ต้องเป็นนักคิดที่ชัดเจน มั่นใจตนเอง และพูดในสิ่งที่ขัดแย้งกันเสมอ นั่นเพื่อลับสมองตลอดเวลา ถามตัวเองเสมอว่า “ทำไม ทำไม ทำไม” สิ่งที่เห็น “คืออะไร” ตีความหมายทางนามธรรมให้มากที่สุด แล้วจะเอาไปใช้ทางรูปธรรมได้มากเท่านั้น

ท่านสอนอีกว่า ต้องมีความปรารถนาจะเข้าใจทุกสิ่งที่บิดเบือนจากความเป็นจริง แต่เครื่องมือในการทำความเข้าใจกับสิ่งภายนอกต้องได้รับความสนใจในการทำความเข้าใจเช่นกัน สิ่งนั้นคือ จิตใจของตัวเราเอง

“การฝึกกลยุทธ์การเทรดอย่างเดียวทำให้มีจิตใจที่หยาบกระด้าง แต่ฝึกทางใจอย่างเดียวทำให้อ่อนแอ เราต้องปรับให้กลมกลืนกัน”

ขอบคุณครับ วันนี้ถือว่าโชคดีมากที่ได้เจอเว็บนี้ สักวัน คงได้เจอกันอีก สวัสดีครับ……


ก็ขอเก็บเอาไว้อ่านนะคับ ได้แง่คิดในออกแบบนึง จะได้ไม่ต้องไปค้นหาว่ามาจากกระทู้ไหน

ที่มา www.mangmaoclub.com

boyles

มาเรียนรู้ mindset นิดนึงก่อนรู้เทคนิค

พอดี ได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุนซึ่งสัมพันธ์กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างไร ที่คุณ mod ได้ตอบไว้ให้เกี่ยวกับ random outcome mindset ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจดี เกี่ยวกับความเข้าใจก่อนการเชื่อ technique กราฟ indicator ต่างๆ ท้ายที่สุดมันก็แค่สถิติที่จะทำให้เรามีความเป็นไปได้ที่จะกำไรมากกว่าขาดทุน และทัศนคตินี้ก็ยังช่วยให้เราสามารถ Trade ได้ตามระบบมากขึ้นด้วย

ผมข้อ quote ข้อความมาเลยนะครับ

"random outcome mindset คือการที่เราเชื่อ จนถึงในส่วนลึกของจิตใจของเรา ว่าผลของการซื้อ-ขายในตลาดหุ้น นั้นเเหมือนการโยนเหรียญ ไม่มีครั้งใหนที่สามารถการันตีได้ Technical analysis ถูกออกแบบมาให้หาความน่าจะเป็น หรือค่า Expectancy ภายใต้การเทรดหลายๆครั้ง ผลความน่าจะเป็นของมัน คือผลทางสถิติในหลายๆครั้ง และเราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอนว่า Sequence หรือลำดับการเกิดกำไร หรือขาดทุน ในแต่ละครั้งจะเป็นอย่างไร แต่เราพอคา่ดเดาได้ว่าเมื่อถึงจำนวน หรือ Series หนึ่งแล้ว เราจะมี% ถูก-ผิด อยู่เท่านี้ๆ
หรือแม้กระทั่งกฏที่บอกว่ากราฟทางเทคนิคได้สรุปทุกอย่างไว้แล้ว อาจทำให้คนฟังเข้าใจผิดได้ว่ามันคือการสรุปให้เห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้นไว้แล้ว เพราะ จริงๆลองคิดดีๆแล้ว เราจะเห็นว่ากราฟ คือข้อมูลที่ถูก Distort ออกไป เราตัดเอาข้อมูลที่มีค่าหลายๆอย่างออกไปมากมาย อย่าลืมว่า เราเหลืออยู่แค่ OHLC กับ Volume นะครับ

อย่าลืมว่าอินดิเคเตอร์ทั้งหลายก็คือการ Distort ข้อมูลต่างๆอีกรอบ การที่เราพยายาม optimize มัน จึงยิ่งทำให้มันใช้ได้จริงยากกว่าเดิม แต่คนเราเชื่อว่ามันคือสิ่งที่จะบอกให้รุ้ล่วงหน้าได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น
ซึ่งไอ้ความที่ว่าคนเราชื่อว่านี่แหละ จริงๆแล้วเราแต่ละคนจึงไม่ได้เล่นตามกราฟ ตลาดมันก็วิ่งของมันไปอยู่อย่างนั้น -แต่เราเล่นจากมุมมองของเราที่เราเชื่อว่าตลาดจะงั้นงี้ๆ- เรากำลังเล่นจากความเชื่อของเรา เขาถึงบอกว่า We trade our believe ซึ่งผลจะออกมาถูกหรือผิด มันก็ขึ้นอยู่กับว่า คนอื่นๆในตลาดเขาจะเชื่อแบบเดียวกับเราหรือปล่าว ในเวลานั้น ถ้าใช่สัญญาณมันก็เป็นจริงออกมา ผลของมันจึงได้เป็น random outcome ครับ

และโดยการยอมรับว่าผลการเทรดของเรามัน “random outcome” นี่แหละจึงจะทำให้เราสามารถเล่นหุ้นได้โดยไม่มีความลังเล หรือเอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ เพราะทุกเทรดจะเหมือนกับการโยนเหรียญ เราไม่มีความคาดหวังอะไรกับมันมากมาย ผิดก็ผิด เพราะมันไม่ได้อยู่ที่เรา แต่อยู่ที่ตลาด และคนอื่นๆในตลาดด้วย เมื่อไม่มี Ego ของเรามาเกี่ยว ทำอะไรก็ง่ายขึ้นครับ
ลองถามตัวเองดูก็ได้ว่า ถ้าต้องหยอดตู้ม้า แล้วโดนกินตัง เราจะโทษตัวเองว่าวิเคราะห์ผิดใหม? แล้วเอาความรู้สึกนั้นมาเล่นหุ้น เรื่อง Cut loss นี่จะสบายๆขึ้นเยอะ ลงเมื่อไหร่ก็ออกเมื่อนั้น กลายเป็นจ้องจะทิ้งไปเลยครับ"

อ่านไปอ่านมา เพื่อนๆอาจจะคิดว่ามันเหมือนเล่นพนันเลย แต่การที่เราเอาเทคนิคมาใช้เพราะประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอย ดังนั้นเราจึงศึกษาเทคนิคเพื่อเพิ่ม % ความน่าจะเป็นของการทำกำไรให้มากกว่าขาดทุน แต่ความน่าจะเป็นไม่ใช่ว่ามันต้องเกิด ดังนั้นแนวคิดเรื่อง random outcome จึงบอกว่าเราก็ไม่ควรมั่นใจเกินไป มันจึงทำให้เรา Trade ตามระบบได้ดีขึ้น และเป็นแบบแผนมากขึ้น

ก็ขอขอบคุณคุณ mod ที่ให้ความกระจ่างเรื่องนี้ครับ ก็หวังว่าคงเป็นประโยชน์กะเพื่อนๆทุกคนนะครับ

boyles

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Point and Figure Chart ตอนที่ 2 ตัวอย่างกราฟ

ตัวอย่างที่ 1
1. การเข้าออก จะเข้าออกด้วย 3 point reverse และทุกการเข้าซื้อจะต้องกำหนดจุด Stoploss ที่ 3 point reverse เช่นกัน

2. ลองดู ผลลัพธ์ที่ได้ในช่วงกลางๆ ปีจนถึงปลายปี 2009 กับ PTTAR แนวลูกศรสีขาวเป็นผลลัพธ์ของกำไรที่ได้ จะสังเกตเห็นว่าช่วงลูกศรสีขาวๆสั้น จะเป็นช่วง Sideway เราจะได้น้อย หรือขาดทุนเล็กน้อยเท่านั้น แต่ผลลัพธ์โดยรวมเป็นที่น่าพอใจ

3. กำหนด box size และ reversal amount ให้เข้ากับสไตล์การ Trade ของตัวเอง อันนี้ ต้องลองกันเองนะครับ


ตัวอย่างที่ 2
1. การเข้าทุกครั้ง ตั้ง Stoploss เข้าเมื่อเกิด 3 point reverse

2. เมื่อเกิดสัญญาณ O เกิดขึ้น รอจนกระทั่ง กราฟ Reverse เป็น X อีกรอบแล้ว กำหนดจุด Stop profit ไว้ตรงนั้น ในตัวอย่างจะเรียกว่า exit point เราจะขายก็ต่อเมื่อ O ครั้งใหม่ต่ำกว่าครั้งก่อนหน้า ในตัวอย่างเราจะ let profit run จนกระทั่ง ขายที่ประมาณ 19.8 เราจะได้กำไร จากการเข้าครั้งประมาณ 102%

3. นี่เป็นตัวอย่างในขณะเกิด bullish ขึ้น กำไรจึงดูค่อนข้างเยอะ ถ้า Sideway อาจจะต้องเข้าออกบ่อยหน่อย แต่เจอ Bullish ครั้งเดียวคุ้มแน่



นี่ก็เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะเข้าใจง่าย และนำไปใช้งานได้จริง ยังไงลองศึกษา แล้วทดลองใช้ดู คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

อีกอย่างการกำหนดค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น box size, reversal amount, การเลือก plot ตาม high-low หรือ ราคาเปิดปิดของวัน ล้วนได้ผลลัพธ์ต่างกัน ลองค้นหาดูนะครับมาชอบ Trade สไตล์ไหนแล้ว Set ค่าการ Trade ให้ตรงกับเราที่สุด จะได้กำไรด้วย สบายใจด้วยคับ

ความจริงเรื่อง point and figure ก็ยังมีเทคนิคมากกว่านี้ ยังไงว่างๆ จะมาเขียนใหม่ ตอนนี้ก็ลองเอาไปทำกำไรกันก่อนนะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ (รูปอาจจะน่าเกลียดหน่อย เพราะใช้ program paint ทำ ก็ทำตามมีตามเกิดไป :)


BOYLES

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หลักข้อแรกในการเก็งกำไร Protect Your Money First


ในช่วงที่ผมพักไปหาตัวอย่างเกี่ยวกับ Point and Figure Chart มาให้ดู ก็ไปเจอบทความดีๆ ที่แมงเม่าคลับเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องการเก็งกำไร เรื่องนี้สำคัญมาก นักเก็งกำไรยิ่งใหญ่หลายๆคนมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้่อย่างไร และการ Stoploss ให้ถูกที่ถูกเวลาสำคัญขนาดไหน

หลังจากเขียน Point and Figure เสร็จผมจะพยายามรวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่องการ Stoploss ว่ามันสำคัญอย่างไรในการเริ่มเล่นหุ้น และเราจะเผชิญหน้ากับความกลัวกับเรื่องนี้อย่างไร

“Survive first, Profit later”

“อยู่ให้รอดก่อน แล้วค่อยทำกำไร”

จอร์จ โซรอส


"Don't Focus on making money, Focus on protecting what you have"

"อย่ามุ่งมั่นกับการทำกำไรเกินไป จงให้ความสำคัญที่จะรักษาเงินต้นคุณมากกว่า"

Paul Tudor Jones


การทำกำไรนั้นไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญที่สุด ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่านั้น และสิ่งที่สำคัญกว่าการทำกำไรก็คือ การรักษาเงินทุนของคุณเอาไว้ การรักษาเงินทุนของคุณเอาไว้คือสิ่งที่สำคัญกว่า ! ผมจะยกตัวอย่างจากคำพูดของเซียนหุ้นบางคนให้คุณฟัง และคนที่พูดไว้ได้ดีคนหนึ่งก็คือ Paul Tudor Jones… Paul Tudor Jones คือเซียนหุ้นคนหนึ่งซึ่งเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ในหนังสือ The Market Wizards ซึ่งเขียนโดย Jack Schwager เมื่อปี 1989 ตัวของ Paul Tudor Jones นั้น โด่งดังขึ้นมาจากการที่เขาเป็นผู้จัดการกองทุน เพียงไม่กี่คนที่สามารถทำกำไรได้มากกว่า 100% ติดต่อกันถึง 5 ปี มากกว่า 100% ติดต่อกันในเวลา 5 ปีเชียวนะครับ ซึ่งในช่วงกลางปี 80 นั้น หากคุณลงทุนในกองทุนของเขา 4 ปีเงิน $ 1,000 จะกลายเป็นเงินถึงประมาณ $ 17,500 เขาคือคนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในตลาดหุ้นเลยทีเดียว แต่ถึงแม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จอย่างมากก็ตาม คำแนะนำของเขากลับดูง่ายดายเหลือเกิน เขาพูดว่า “อย่าคิดแต่จะทำกำไร แต่คิดว่าจะรักษาเงินทุนของคุณไว้ได้อย่างไร” แน่นอนครับ ! การทำกำไรนั้นสำคัญ แต่การรักษาเงินทุนเอาไว้นั้น สำคัญกว่า

Steven Waugh อดีตกัปตันทีมคริกเก็ตของออสเตรเลียนั้น เคยถูกถามไว้ว่า อะไรคือคำแนะนำที่ดีที่สุดของคุณ? เขาพูดง่ายๆ ว่า “อย่าบุกมากเกินไป” ซึ่งสิ่งที่ Waugh ต้องการที่จะบอกก็คือ… “อย่าคิดแต่จะทำแต้ม แต่จงป้องกันให้ดีก่อน” แน่นอนการทำคะแนนนั้นสำคัญ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือการรักษาแต้มของเราไว้ ! เช่นกันครับ การทำกำไรนั้นสำคัญ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ… รักษาเงินทุนเริ่มต้นของคุณเอาไว้ ถ้าคุณเสียมันไป คุณจะไม่มีเงินไว้ทำกำไรอีกเลย ซึ่งผมต้องเสียใจกับคุณด้วย คุณควรต้องเปลี่ยนทัศนคติของคุณใหม่ จากการมองโลกในแง่ดีเกินไปในเรื่องของความเสี่ยง จงเล่นเกมรับ ! รักษาเงินทุนของเราเอาไว้ จงตั้งจุดตัดขาดทุนเอาไว้ ! ต้องจัดสรรเงินทุนของเราให้เหมาะกับความเสี่ยง และจัดการกับความเสี่ยงของเราให้ดี

นี่คือประโยคต่อไปที่คุณควรจะจำไว้จาก Ed Seykota เซียนหุ้นอีกคนซึ่งได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้ เขาบอกไว้ว่ามี 3 สิ่งที่สำคัญในการเก็งกำไร โดยจากผลการลงทุนในช่วง 16 ปีของเขาหรือตั้งแต่ประมาณปี 73 ถึงประมาณปลายปี 80 นั้น กองทุนของเขาทำผลงานได้อย่างเยี่ยมยอดมาก โดยการเติบโตขึ้นถึง 250,000% นี่เป็นผลงานที่น่านับถือมากๆ แต่คำแนะนำของเขานั้น ง่ายเหลือเกิน เขาบอกว่ามีอยู่ 3 สิ่งที่สำคัญในการเก็งกำไร นั่นคือ “ตัดขาดทุน ตัดขาดทุน และตัดขาดทุน !!”

ผมมีอีกประโยคที่น่าสนใจ “การตัดขาดทุน คือกุญแจสำคัญในการทำกำไร” นั่นหมายความว่าการจะทำกำไรให้ได้นั้น คือการไม่ปล่อยให้เราขาดทุนมากเกินไป นี่เป็นลักษณะที่สำคัญของนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งคุณยังจะได้ยินต่อไปเรื่อยๆ นี่เป็นเพียงบางส่วนจากการให้สัมภาษณ์ของพวกเขาในหนังสือ The Market Wizards ซึ่งผลการลงทุนของพวกเขาบางคนนั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำได้ ผมค่อนข้างโชคดีมากที่ได้รู้จักกับเซียนหุ้นท่านหนึ่งที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ The Market Wizards เขาคือ Mark D. Cook ซึ่งไม่น่าเชื่ออีกว่า เขานั้นเป็นเพื่อนสนิทกับ Marty Schwartz เซียนหุ้นระดับโลกอีกคน เขาบอกกับผมว่า “Marty คือคนที่แพ้เก่งที่สุดที่คุณเคยเจอ” ผมอยากให้คุณลองคิดดูดีๆ สักครู่ สมมุติว่าคุณเป็นนักเล่นหุ้น และถามผมว่า “อะไรคือคำแนะนำที่ดีที่สุด?” และผมบอกว่า “ผมอยากให้คุณเป็นคนที่แพ้เก่งที่สุด” คุณอาจจะต่อยผมแล้วเดินจากไปก็ได้… “ผมต้องการให้คุณเป็นคนที่แพ้เก่งที่สุดครับ” ในการเก็งกำไรนั้น คนที่แพ้เก่งที่สุดต่างหาก… จะกลายเป็นผู้ชนะในระยะยาว Mark Cook บอกกับผมว่า เขารู้จักเพื่อนคนนี้ดีที่สุด… “เขาเป็นคนที่ตัดขาดทุนได้เก่งที่สุด เท่าที่ผมได้เคยพบมา โดยไม่มีความลังเลเลยแม้แต่น้อย !” เขาคือสุดยอดที่ผมเคยเจอ และสำหรับผู้ถูกสัมภาษณ์ไว้ในหนังสือคนอื่นๆ นั้น คำแนะนำของพวกเขาก็ง่ายๆ เช่นกัน นั่นคือการเรียนรู้ที่จะตัดขาดทุน

สิ่งสำคัญที่สุดในการทำกำไร คือการไม่ปล่อยให้ขาดทุนมากจนเกินไป พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ฉลาดไปกว่าคุณบางคนเลย… มีใครบ้างไหมที่เคยขาดทุนในห้องนี้? ผมคิดว่าทุกคนคงจะยกมือขึ้นใช่ไหมครับ พวกเราเคยขาดทุนกันมาแล้วทั้งนั้น แน่นอน มันไม่มีความสุขแน่ๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด… คือการเรียนรู้ที่จะตัดขาดทุน พวกเราทุกคนรู้ดีว่าเมื่อเราขาดทุน และปล่อยให้มันแย่ลงไป เช่น 12% หลังจากนั้นกลายเป็น 30%, 40%, 50% คุณรู้ไหม มันไม่ง่ายเลยนะที่จะตัดขาดทุนออกมา การตัดขาดทุน ณ จุดนั้นไม่ง่ายเลย การตัดขาดทุนที่ง่ายที่สุด คือต้องตัดตั้งแต่แรกครับ ดังนั้น จงใช้โอกาสที่คุณมี

ผมอยากจะเพิ่มเติมอีกหน่อยครับว่า… การขาดทุนครั้งใหญ่ๆ นั้น เริ่มจากการขาดทุนน้อยๆ มาก่อนทั้งนั้น มันเริ่มจากจุดเล็กๆ มาก่อนทั้งนั้นเลย มันจึงง่ายที่สุดที่จะตัดขาดทุนตั้งแต่แรกๆ …ขอให้ตัดขาดทุนได้อย่างไม่ลังเลใจนะครับ


แหล่งที่มา: http://mangmaoclub.com/preservation-of-capital/