วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มุมมอง หุ้น ทอง น้ำมันและภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2016

จากที่เราสำเรวจภาพรวมในปี 2016 เราคิดว่าตลาดอาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่มากมายนัก

เศรษฐกิจ การเงินในทางพื้นฐาน: ดีขึ้นเล็กน้อย




ในทางพื้นฐาน เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างช้าๆ  เทรนของเงินฝืดทั่วโลกจะเริ่มลดลง การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2015 จะเริ่มส่งผลในประเทศต่างๆในปี 2016



การเติบโตของบริษัทต่างๆจะเริ่มดีขึ้น และเงินฝืดจะเริ่มลดลงจะทำให้ บริษัทต่างๆจะทำกำไรประมาณ 3-5% ในอเมริกา และจะมากกว่านี้ใน Japan และ Europe เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนมาก

สำหรับอัตราดอกเบี้ย เราคาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยเกิน 1% จนถึงปลายปี 2016 และน่าจะขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยในระยะยาว ซึ่งจากประวัติศาสตร์แล้วตัวเลขนี้ไม่น่าจะส่งผลให้เกิดภาวะ recession

หุ้นในอเมริกาค่อนข้างราคาสูงในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับระดับที่เหมาะสมอย่างในจีน ยุโรปและญี่ปุ่น

เราเชื่อว่า โอกาสที่ดีในการซื้อหุ้นอเมริกาน่าจะเกิดจากการปรับฐาน หรือการเติบโตของบริษัทต่างๆกลับมามากกว่า 5%  ความจริงตัวเลขนี้ก็ไม่ได้มากมายนัก เมื่อเทียบกับ Dollar ที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับสกุลเงินอื่น

ในปี 2016  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือค่าเงิน Dollar และ ราคาตลาดหุ้นอเมริกาเมื่อเทียบกับปัจจุบัน  โอกาสซื้อที่สำคัญคือการปรับตัวลงของ Dollar index และการปรับฐานของหุ้นอเมริกา (ดอลล์อ่อน กำไรบริษัทดีขึ้น แะหุ้นที่ปรับฐานราคาดีจะเป็นโอกาส)


ในส่วนของยุโรปและเอเชีย


การอ่อนค่าของค่าเงินในประเทศเหล่านี้ จะทำให้การส่งออกดีขึ้น แต่การเติบโตยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ โอกาสในการซื้อหุ้นยังคงต้องเลือกด้วยความระมัดระวัง ปัจจุบันมูลค่า ราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม บริษัที่พื้นฐานดีดูน่าสนใจในการลงทุน

แต่ถ้า Dollar เริ่มปรับตัวลง กำไรในบริษัทต่างๆในอเมริกาจะเพิ่มขึ้น และในยุโรปและเอเชียจะเริ่มลดลง

เมื่อตลาด Commodities สร้างจุดต่ำสุด เราคาดว่าน่าจะประมาณครึ่งปีหลังของปี 2016 ประเทศที่ส่งออก Commodities อย่างพวก Canada และ Australia จะเริ่มน่าดึงดูดในการลงทุน

น้ำมัน ทอง และ Commodities

ความสัมพันธ์ที่ตรงข้ามกับ US Dollar เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ที่ Dollar หยุดขึ้น Commodities จะวิ่งขึ้น  สองสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อราคา Commodities ในปี 2016 คือ Dollar และ เงินเฟ้อ

เราไม่คิดว่าจะมีความต้องการ(demand) เพิ่มขึ้นมากในปี 2016 ดังนั้นทองและน้ำมันจะน่าสนใจจากเงินเฟ้อที่เกิดในประเทศที่พัฒนาแล้ว  เราเชื่อว่าเงินเฟ้อจะขึ้นอย่างช้าๆ รวมถึงดอกเบี้ยด้วย
สรุป  ถ้า Dollar ยังขึ้นต่อไป หรือยังไม่กลับตัว เราคิดว่าทองและน้ำมันจะ sideway หรือน่าดึงดูดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น






ดังนั้นจนกว่า Dollar จะกลับตัว หรือ Commdities price จะเจอ bottom จริงๆ ยังอยากให้เล่นทองด้วยความระมัดระวัง หลังจากเล่นขึ้นรอบนี้แล้ว เรายังมีโอกาสที่อาจจะยังเห็น Low ในทองอีก ในช่วงปี 2016

ที่มา: Guild investment
Boyles Bigmove Club

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

6 ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ทองขึ้นลง

สำหรับทอง เป็นสินค้าที่มีความซํบซ้อนมากที่สุด สินค้าส่วนใหญ่จะเคลื่อนตัวตามข้อมูลพื้นฐาน นั่นทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เลือกที่จะวิเคราะห์ทองโดยใช้เทคนิคล้วน หรือข้อมูลพื้นฐานที่ไม่เยอะนัก

เราเคยเข้าใจว่าทองจะขึ้นตาม หนี้อเมริกาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ย แต่ในปี 2013-2014 ความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดมากๆ เพราะในขณะที่อเมริกายังก่อหนี้ ทองกลับลงแรงมากเช่นกัน
ในอีกฝั่งก็มองว่า ทองไม่สามารถให้รายได้ หรือปันผลเหมือนหุ้น แถมยังมีต้นทุนในการถืออีก แต่เราก็ยังคิดว่าความคิดนี้ ก็ไม่ค่อยฉลาดนัก เพราะในช่วงเงินเฟ้อ หรือช่วงเศรษฐกิจถดถอย ทองให้ผลตอบแทน (capital gain) มากกว่าหุ้นหลายเท่านัก
ราคาทองมีความสัมพันธ์ กับเศรษฐกิจโลกที่ไม่รวม US  vs การเติบโตของ GDP US และการคาดหวังของดอกเบี้ยในเมกา  นั่นคือถ้าเศรษฐฏิจเมกาหรือค่าเงิน US มีความอ่อนแอมากเท่าไหร่ ทองและ silver จะยิ่งถีบตัวสูงมากขึ้นเท่านั้น
เราจึงสรุป 6 เหตุผลพื้นฐานที่เราให้ทองขึ้นหรือลงออกมาดังนี้
1. ทองและ silver วิ่งตามกันกับสินค้า commodities ตัวอื่น และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ไม่นับรวมอเมริกา (non-US)ด้วยเหตุผลสองประการ
1.1 ต้นทุนในการทำทองสูง (Gold dredging, gold ore mining)
1.2 ปัจจัยจากความต้องการในตลาดจีน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน และทองแดง มีความสัมพันธ์กันตามภาพ


g5jUd015d9nd3njsiq2p_rvmm6f.png?type=w52

ในช่วงปี 2013-2014  ราคาทองแดง และราคาน้ำมันถูกกดดันจาก การเติบโตที่ช้าลงจากภาพอสังหาที่จีน  อัตราดอกเบี้ยที่แพง และการไม่อนุญาตให้ซื้อบ้านหลังที่สอง ช่วยทำให้ลดความร้อนแรงของภาคอสังหาไป รวมถึงราคาน้ำมันที่ลงจาก ภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากอเมริกา  และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ  นั่นทำให้ทองได้รับผลกระทบตามมาเช่นกัน

ราคาสินค้า Commodity และราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลในทางลบกับทอง
2. ราคาทอง และ Silver มีความสัมพันะ์กับ Global money suplly และเงินเฟ้อ
ผลตอบแทนทองดีมาก จนกระทั่งปี 2011 ช่วงที่มีการเพิ่มเงินเข้าในตลาดโลก รวมถึงภาวะเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ Emerging market

499Ud0153om6y4b5ej8h_2pfdy3.png?type=w52

bahUd01534hmkumqr9ru_sy1xsc.png?type=w52

อัตราเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ สินค้าราคาอาหารและน้ำมันสูงขึ้น นั่นทำให้เงินเฟ้อในประเทศเกิดใหม่จะมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงปี 1998-2012  และเช่นกัน 2008-2009 ในช่วง crisis เงินเฟ้อลดลดก็ทำให้ทองและเงิน ราคาลงเช่นกัน

ต่อไปมาดูความสัมพัพธ์ของเงินเฟ่้อในอเมริกาและทอง

302Ud015fb0n38zy2aoj_nbar6q.png?type=w52

เงินเฟ้อในอเมริกาก็ยังเป็นปัจจัยหลักต่อราคาทองเช่นกัน

ในช่วงปี 2013-2014 จีนมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น นโยบายการเงินที่เข้มงวดไม่ว่าจะเกิดที่จีน หรืออเมริกา ล้วนแล้วแต่เป็นผลลบต่อทอง

เราเชื่อว่า เงินเฟ้อในอเมริกาจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป จนกว่า ค่าจ้างในอเมริกาจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐฏิจอเมริกา และผลตอบแทนในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น เช่น การกู้ซื้อบ้าน  เราเห็นด้วยที่ Fed member กล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อในอเมริกาจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% (fed fund target) ยาวนานกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อีก
3. ราคาทองและ silver จะน่าดึงดูด เมื่อเศรษฐกิจ Non-Us ดูดีกว่าเมื่อเทียบกับ US

ทองมักจะขึ้นควบคู่ไปกับ การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่ และยุโรป และทองมักจะวิ่งคู่ไปกับค่าเงินยูโรเช่นกัน  ปัจจุัยข้อที่สามเป็นปัจจัยที่สำคัญ


ในช่วงปี 2008 ที่เกิดวิกฤต Fed พิมพ์เงินเพื่อแก้ปัญหา ในช่วงปี 2009-2011 emerging market ยังคงเติบโต ในขณะที่อเมริกามีปัญหาจากราคาน้ำมันที่แพง และตลาดบ้านที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอเมริกา  เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดในปลายยุค 1970 ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในอเมริกาใต้ และยุโรป ดีอย่างชัดเจน

เศรษฐกิจโลกเติบโต ทำให้น้ำมันแพงขึ้น และอเมริกาขาดดุลการค้า  สิ่งเหล่านี้ส่งผลดีต่อทอง


ในขณะเดียวกัน ในช่วงปี 2011  การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในจีน ทำให้จีนยากต่อการการแข่งขัน เงินส่วนเกินจากดุลการค้าเริ่มอ่อนแอ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในจีนนำไปสู่การ Peak ของทองในปี 2011 และในช่วงปี 2012 เศรษฐกิจอเมริกาก็เริ่มกลับมาแข็งแกร่งกว่า  นั่นส่งผลด้านลบต่อราคาทอง


ed8Ud01515e1vj1bhm1xf_48wns5.png?type=w5



การลงทุน และภาคอสังหาที่แข็งแกร่งในอเมริกา มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบต่อทอง เพราะความคาดหวังในเรื่องดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น  และนี้คือเหตุผลที่ราคาทองต่ำมากในช่วงปี 1999-2000  ดังนั้นนี้คือเหตุผลที่ว่า การเพิ่มของหนี้ในอเมริกา เบื้องต้นเลยส่งผลแย่ต่อราคาทอง เพราะสิ่งเหล่านี้ ทำให้ GDP US เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความคาดหวังดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น

ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ หนี้อเมริกาไม่ได้มีความสัมพันธ์กับราคาทองเลย เหมือนในช่วงปี 1982-2000 US public debt หนี้สาธารณอเมริกา
เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ทองกับไม่ได้ขึ้นเลย

4ecUd015q84sgi2tbar6_kxztjg.png?type=w52

4. ราคาทองมีความสัมพันธ์กับธนาคารกลาง
หลาย 10 ปีหลัง ธนาคารกลางในยุโรป และ Emerging market เชื่อในการซื้อ US tresasuries หรือทองมากขึ้น

เหตุผลคือ ประเทศเหล่านี้ มีแนวโน้มที่ค่าจ้างจะสูงขึ้น เมื่อเทียบกับอเมริกา  ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ค่าเงิน Europe or EM มีความเสี่ยงจะอ่อนค่า ดังนั้น การถือ US tresuries หรือทอง ทำให้ได้ประโยชน์สองต่อ  ในขณะที่เงินเฟ้อ ธนาคารยังได้ประโยชน์จากการถือครอง US tresuries หรือทอง าจ้างที่เพิ่มขึ้นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ค่าเงิน Europe or EM มีความเสี่ยงจะลดมูลค่า

c02Ud0151b6r4agbba70l_b4imi7.png?type=w5




หลังจากที่อเมริกาประกาศลอยตัวค่าเงิน us กับทอง ราคาทองก็เริ่มตกในช่วงทศวรรษที่ 1990 ตามภาพธนาคารทั่วโลกเริ่มขายทองมากขึ้น จากนโนบายของ IMF ที่ให้ธนาคารขายทอง และประเทศอย่าง UK และ Switzerland ก็ทำตาม

ในช่วงปี 2010-2012 ธนาคารกลางของประเทศ Emerging market ได้เพิ่มการถือครองทอง โดยจีนถือครอง 1.7% ของเงินสำรอง ตามมาด้วย india 10% บราซิล 0.5% ในขณะที่ ประเทศทางตะวันตกยังทำตามนโยบาย IMF คือไม่ซื้อทองอีกต่อไป


ในปี 2014 ธนาคารกลางในประเทศที่พัฒนาแล้วมีนโยบายในการลดค่าเงินตัวเอง ทั้ง ECB, SNB, BOJ, BOE เหมือนจะมีแค่ FED ที่พยายามจะขึ้นดอกเบี้ย สิ่งเหล่านี้ทำให้ค่าเงิน US แข็งค่า และทำให้ทองอ่อนค่าลง
5. ทองและ silver สูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยของอเมริกาตกลง


ในปัจจุบัน เงินทุนของอเมริกา ยังเป็นส่วนสำคัญต่อการขึ้นลงในตลาดโลก ดังนั้นเมื่อพันธบัตรอเมริกาให้ผลตอบแทนที่ดี ราคาทองก็จะตก

613Ud0153ezeys5kv83h_nr1pd3.png?type=w52

แต่ก็จะมีบางสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในอเมริกาสูงขึ้น ทองก็สามารถวิ่งขึ้นได้เช่นกันคือ

i5bUd015e0homafgu7nf_486ztw.png?type=w52

5.1 โดยปัจจัยการเติบโตของเศรษฐฏิจโลก และราคาสินค้า Commodities สูงขึ้น อย่างเช่นในปี 2005-2007
5.2 และปัจจัยอย่างในปี 1977-1980 ที่เงินเฟ้อปรับตัวเร็วมากกว่าอัตราดอกเบี้ยมากๆ


ทองจะราคาลงเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี เพราะนั่นคือโอกาสของ Fed Funds target ที่จะปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นมามากแล้วก็ตาม  ดังนั้นเมื่ออัตราการจ้างงานของอเมริกาเพิ่มขึ้น ทองและโลหะเงินก็มักจะปรับตัวลง


88dUd0151naduau0jofcs_2d3pdf.png?type=w5

ค่าจ้าง(Wage) คือปัจจัยที่สำคัญต่ออัตราดอกเบี้ย และราคาทอง


ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เงินเฟ้อสูงขึ้นมหาศาล ทำให้ ค่าข้างเพิ่มสูงขึ้น และน้ำมันก็ถีบตัวสูงขึ้น  ทองวิ่งขึ้นพร้อมกับค่าจ้างและราคาน้ำมัน


ทำให้ Fed ในขณะนั้น Volcker ตัดสินใจที่จะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อที่จะหยุดค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น และหยุดราคาน้ำมันและรายได้ของประเทศเกิดใหม่ให้ลดลง (ดอกเบี้ยแพงส่งผลต่อการลงทุนในต่างประเทศ) เศรษฐกิจโลกเริ่มสะดุด และท้ายที่สุด Fed สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้อีกครั้ง และตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้น  ดังนั้นเราสามารถบอกได้ว่า FED ทำลายราคาทอง


ดังนั้น เมื่อค่าจ้างสูง ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ทองมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น และในทางกลับกันค่าจ้างต่ำ เงินเฟ้อลดลง กำไรบริษัทอเมริกาสูงขึ้น เศรษฐกิจอเมริกาดีขึ้น ทองมีโอกาสปรับตัวลง


6. ทองและ โลหะเงินขึ้นตาม demand supply



เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในจีนและอินเดีย ทำให้เกิดความต้องการซื้อทองและโลหะเงิน อินเดียวมีอัตราการเก็บเงินอยู่ที่ 20% และทองก็เป็นส่วนนึงของเงินออม  แต่โลหะเงินจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมมากกว่า ดังนั้นความต้องซื้อโหละเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะมีมากกว่าทอง  ราคาโลหะเงินจะสะท้อน demand supply จริงๆมากกว่าทอง


จากประวัติศาสตร์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 ยุคตื่นทองในแคริฟอเนีย ทำให้ทองในยุค 19 ราคาต่ำลง เมื่อเทียบกับโลหะทองที่ใช่ในอุตสาหรกรรมด้วย ที่มีราคาสูงขึ้น ดังนั้น ธนาคารกลางหลายประเทศเปลี่ยนจากการสำรองทองและโลหะเงิน เป็นสำรองทองอย่างเดียว จนเป็นที่มาของ Gold standard


สินค้า Commodities หลายตัวโดยเฉพาน้ำมัน ราคาจะสะท้อนอย่างมากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแหล่งผลิตน้ำมัน แต่สำหรับทองแล้ว เหมืองต่างๆ ไม่ได้ส่งผลต่อราคาทองมากมายเหมือน Commodities ตัวอื่นๆ

ที่มา http://snbchf.com/gold/gold-and-silver-prices/
Boyles Bigmove Club เรียบเรียง

ดดหasdf



a







วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เยเลนจะขึ้นดอกเบี้ยไหม และดีหรือแย่กับตลาดหุ้น


เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เดี๊ยวเรามาดูข้อมูลกัน


ผมยังเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คิดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเดือนนี้เลย(กันยา) หรืออย่างช้าสุดไม่ควรเกินต้นปี 2016



ข้อมูลบ่งบอกการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ครั้งแรก ตลาดมักจะปรับตัวลงก่อนที่ FED จะประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่คนกลัว แต่จากข้อมูลก็บ่งบอกอีกว่า ตั้งแต่ 1971 มีการขึ้นดอกเบี้ยของ FED 7 ครั้ง และในแต่ล่ะครั้งตลาดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 19.21% เลยทีเดียวดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของ FED โดยสถิติแล้ว ตลาดมักจะปรับฐานก่อน (เหมือนช่วงเดือนที่แล้ว) จากสถิติเราจะเห็นว่าหลังการปรับฐานภายใน 6 เดือน FED เริ่มขึ้นดอกเบี้ย และการขึ้นดอกเบี้ยของ FED โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีถ้านับตั้งแต่ปี 1971 ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเกือบ 20% ดังนั้นอย่าตกใจมากมันกับการขึ้นดอกเบี้ยของ FED จากสถิติเราจะเห็นว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ FED มีแนวโน้มจะทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ดีกว่าตลาดอสังหาเป็นอีกตัวที่เริ่มฟื้นตัว จากรูปที่ให้ดู อันนี้เป็นอีกตัวที่สนับสนุนว่า FED มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้




ตลาดอสังหาเป็นอีกตัวที่เริ่มฟื้นตัว จากรูปที่ให้ดู อันนี้เป็นอีกตัวที่สนับสนุนว่า FED มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้เหตุผลที่ 2 ทำไม FED ต้องขึ้นดอกเบี้ย
หลายปีหลังเครื่องมือหลักที่ธนาคารกลางช่วยในการจัดการกับวิกฤตการเงินคือ การลดอัตราดอกเบี้ย  ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำใกล้ 0 แบบนี้ต่อไป เมื่อเกิดวิกฤตครั้งต่อไป เครื่องมือนี้จะไม่สามารถถูกนำมาใช้ทันที


ในระยะสั้นนี้เรายังไม่เห็นวิกฤตใดๆ แต่จากภาพจะเห็นว่า หนี้ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลของ Bank for International Settlements แสดงให้เห็นว่าเรามีความเสี่ยงในการเกิดวิกฤตการเงินครั้งต่อไป ดังนั้นการเตรียมการให้พร้อมสำหรับ FED จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผมคิดว่า FED ไม่มีทางเลือกมากนักที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำอีกต่อไป
แต่อย่าลืมนะครับ การขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวมากพอ ก็ทำให้เกิด Great Depression ขึ้นมาแล้วในช่วง 70 ปีที่แล้ว
ดังนั้นผมคาดว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย แต่น่าจะขึ้นด้วยอัตราที่ไม่สูงเกินไป เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจมีเวลาในการฟื้นตัวต่อไป คาดการณ์ว่า 6 เดือนนี้มีโอกาสสูงมากๆที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ย 
แต่จากข้อมูลที่ให้ไว้ เราไม่ควรกลัวมากเกินไป การขึ้นดอกเบี้ยของ FED จากสถิติ 45 ปีหลังมักจะให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงเช่นกันสำหรับตลาดอเมริกา
สิ่งที่น่ากลัวคือการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไป ใช้คำว่ามากเกินไปจะเป็นตัวขัดขวางการฟื้นตัวเศรษฐกิจ แต่สิ่งนี้คิดว่าไม่น่ากลัว หลังจาก Yellen ออกมาบอกตลอดว่า ถ้าไม่เห็นสัญญาณที่ดีในการฟื้นตัวจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย  อเมริกาน่าจะไม่เดินตามรอยในช่วง Great depression

แต่การเปลี่ยนเทรนของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเป็นสิ่งที่เราต้องเฝ้าระวัง แม้ระยะสั้นมุมมองเรายังบวก แต่การเปลี่ยนเทรนระยะยาว จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นสรุปว่า ความคิดเห็นของผม FED จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ หรือต้นปีหน้า แต่จะขึ้นด้วยอัตราที่ไม่มากเกินไปนัก ดังนั้นผมคิดว่าตลาดหุ้นจะได้รับผลบวกมากกว่าลบ  ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของ FED หรือไม่ คิดว่าไม่ได้ส่งผลต่อทองมากนัก แต่อย่างนึงที่เราพอจะคาดหวังน่าจะเป็นเรื่องของสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่จะดึงให้เงินเฟ้อกลับมาในตลาดบ้าง หรือเราอาจพอคาดเดาได้ว่าทองมีโอกาสใกล้จุดต่ำสุดด้วยเช่นกัน

ดังนั้นจากข้อมูลทางสถิติ บ่งบอกได้อย่างนึงคือ เมื่อ FED ขึ้นดอกเบี้ย ตลาดมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วง 45 ปีหลังที่ผ่านมา ดังนั้นอย่ากลัวการขึ้นดอกเบี้ยมากจนเกินไป  ไม่ว่าเยเลนจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ ผมเชื่อว่า Q4 2015 นี้เราน่าจะได้เห็นตลาดหุ้นกลับมาวิ่งขึ้นอีกครั้ง จาก Seasonal หุ้นขาขึ้นที่มักเกิดในช่วงนี้

www.facebook.com/bigmoveclub
16 SEP 2015
Boyles Bigmove Club

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรามาดูความคล้ายคลึ่งประวัติศาสตร์ในช่วง Great Depression กับปัจจุบันก่อน

ก่อนที่เราจะมาพูดเรื่อง The Kondratiev Wave: Today and in the Great Depression หรือ SuperWave (K Wave)

เรามาดูความคล้ายคลึ่งประวัติศาสตร์ในช่วง Great Depression กับปัจจุบันก่อน

1. Debt Hit bubble ทำจุดสูงสุดในปี 1929 และ 2007
2. ตลาดหุ้น และ Bond crashed  และสถาบันการเงินล้ม ใน่ชวงปี 1920-1930 และตั้งแต่ปี 2007
3. การพิมเงินเริ่มขึ้นในปี 1933 และ 2009
4. หุ้นทั่วโลก เริ่มวิ่ง Rally ในปี 1933-1937 และ เหมือนกัน 2009-2014
5. เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว 1933-1936 และเช่นกัน 2009-2014
6. ในปี 1937 Fed Tightened reserves หุ้นเมกาตก ในเดือนมีนา 1937 ถึง มีนา 1938 มากกว่า 50%
นี่คือความคล้ายคลึ่นกันในช่วงก่อนที่จะเกิด Great Depression ในปี 1937 ลำดับเหตุการณ์เหมือนที่เราอยู่ในปัจจุบันมาก

ลำดัยเหตุกาณ์ทั้งหมดจะเห็นความสัมพันธ์ของ Supercycle Wave ขนาดใหญ่ที่เราอยู่ในโลกทุนนิยมนี่ จะเป็นรูปแบบวัฐจักร

Tax component คือปัญหาในปี 1937 องค์ประกอบของการขึ้นดอกเบี้ย การขึ้นภาษี และการลดการใช้จ่ายภาครัฐ ส่งพิษต่อเศรษญกิจโลก ซึ่งเป็นความผิดพลาดของ FED ในช่วงปี 1937 ส่งผลตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดเมกาปรับตัวลงมากกว่า 50%

ในปี 2013 ขึ้นภาษี และ 2014 อนุมตัิ the Affordable Care Act และ Spending is falling as a percentage of GDP แต่โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น มีเหตุการณ์ 2 อย่างท่ีคล้าย 1937 และ 1 อย่างที่แตกต่าง ระหว่างปี 1937 และปัจจุบัน

เราเชื่อว่า FED ไม่น่าจะอยากเห็นตลาดปรับตัวลงแรง จากการขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป

จากการประชุม FED Yellen ให้เหตุผลที่เราจะมองหุ้นจะยังดูดีอยู่ เพราะเธอได้บอกว่า ถึงเงินเฟ้อจะขึ้นไปที่ 2% และอัตราการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น FED จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย จนกว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งกว่านี้ ข้อมูล Yallen ทำให้เรา Bullish ในตลาด US ยูโรป india China ถ้า case ที่ดีที่สุด FED จะขึ้นดอกเบี้ยต้นปี 2016 แต่ตามความเห็นเราคิดว่า FED จะเริ่มขึ้นในเดือนกันยา 2015

boyles Bigmove Club

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเก็งกำไรผ่าน การดู volume ใน TFEX Set50 Future

การเก็งกำไรผ่าน การดู volume ใน TFEX Set50 Future 
by Boyles Bigmove club
(พอดียุ่งๆเลย ไม่ได้มาอธิบายต่อ มาดูกันต่อนะครับ)

สิ่งที่เราต้องในการคำนวณคือ
1. การ Flow ของ volume ในช่วง 10 นาทีแรก และทุกชม. เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ แต่ส่วนมาก volume ที่ผิดปกติมักเกิดตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ก็มีโอกาสที่ความผิดปกติระหว่างจากข่าวร้ายบางประเภท แต่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักในแบบหลัง
2. การวิเคราะห์ปริมาณ volume(value) ของ TOP 5 or TOP10 ที่ผิดปกติในช่วงเช้าของการเทรด
3. ตำแหน่งที่มีเราจะสนใจจาก volume อย่างเช่น volume ในช่วงที่เป็นเทรน volume ในช่วงแนวต้าน และแนวรับ หรือ volume ในช่วงการย่อ พฤติกรรมจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่ง แต่ถ้า volume น้อยเรามักจะไม่พิจารณามากถ้าหุ้นปรับตัวทั้งขึ้นและลง เพราะมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้มากมาย ทั้ง sideway ขึ้นแรง ลงแรง ได้หมดจากอารมณ์ในตลาด รวมถึงข่าวที่มากระทบในช่วงสั้น

ตัวอย่าง วันที่ 5 กุมภาพันธ์หลังจากมีการย่อเกิดขึ้น ในช่วงเช้า ลำดับเหตุการณ์
1. 10.10 AM มี volume 6,000 ล้าน รวมถึง PTT มีแรงขายเข้ามาถึง 600 ล้าน คิดเป็น 10% ของมูลค่ารวมตลาด
2. 11.00 AM มี volume 14,000 ล้าน แสดงว่า ปริมาณ flow volume จะอยู่ที่ 9,000 ล้านต่อ ชม. และ SET50 เป็นแรงขาย โดยมี PTT เทรด ประมาณ 1,200 ล้าน แสดงว่า PTT มีแรงขายลดเหลือ 8% และหุ้นพลังงานตัวอื่นมีแรงขายรวมเพียงแค่ 3% ของปริมาณ volume ทั้งตลาด เราจึงไม่ได้นำมาพิจารณามากนัก
3. 12.00 มี volume set 22,000 ล้าน และ PTT มีปริมาณยังคงเดิม ที่ปริมาณ 1,700 ล้าน แสดงถึงปริมาณการขายเทียบกับตลาดยังเท่ากับ 8% ถือว่าแรงขายอยู่ในระดับไม่เยอะ และเราได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกว่า ประมาณการ flow ของ volume ต่อชม.ลดลง เหลือ 8,000 ล้าน ส่วนนึงน่าจะมาจากตัวนำตลาดที่ลดลง ถึงแม้จะเป็น % เท่าเดิม แต่การไหลลงของตลาด ตามมาด้วยปริมาณการซื้อขายที่ลดลงทั้งตัวนำตลาด และตลาดโดยรวม
4. ช่วง 14.30 มี volume ของการเปิดตลาดอยู่ที่ ประมาณ 26,000 ล้าน และ PTT ซึ่งเป็นหุ้นขายนำตลาดวันนั้น มี ปริมาณการขายเหลือ 1,820 ล้าน ซึ่งคิดเป็น 7% ของปริมาณการเทรดโดยรวม นี่แสดง volume ในตัวนำตลาดมีสภาพแรงขายแห้งมากๆ หรือ dry volume แล้ว สิ่งที่เราจะ focus ถัดไปคือแรงซื้อ
5. ข้อควรระวังคือ แม้ volume ขายจะลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่ามันคือจุดซื้อที่ดี มันอาจจะลงต่อ เพราะแรงขายที่เ้ขามาก็ได้ ให้เราเริ่มสังเกตแรงซื้อที่เข้ามา และเริ่มตาม เพราะ condition ที่แรงขายที่หดตัวมาก แสดงว่าจะมีจำนวนหุ้นในตลาดที่น้อย เมื่อเกิดแรงซื้อไม่มาก หุ้นจะทะยานได้เร็ว และแรง เพราะแรงซื้อทีไม่มาก + จำนวนหุ้นในตลาดที่เสนอขายน้อย จะทำให้มีการตอบสนองได้ดีกับแรงซื้อที่เข้ามา
6. หลังจากนั้น เราจึงได้การวิ่งขึ้น 20 จุดใน TFEX ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่ชม.

กำไรทองอาทิตย์ที่แล้ว คนในกลุ่มส่งมาให้ 2 คน กำไร 1000 กว่าเหรียญทั้งสองคน

กำไรทองอาทิตย์ที่แล้ว คนในกลุ่มส่งมาให้ 2 คน กำไร 1000 กว่าเหรียญทั้งสองคน จากที่เรา focus short ลงมา

เฮงๆครับ
Boyles bigmove club

สรุป MACRO ECONOMY กันหน่อย ประจำวันที่ 10 กุมภา 2558

มาสรุป MACRO ECONOMY กันหน่อย ประจำวันที่ 10 กุมภา 2558

1. นโยบายของ obama ในเรื่องการเก็บภาษี ในปี 2016 เพิ่มของชนชั้นกลาง ถ้าเกิดขึ้นจริง เราจะประมาณการณ์ตัวเลขการเติบโตของอเมริกาลดลง ตามที่เคยเกิดกับประเทศในยุโรป ฝรั่งเศสและอิตาลี การทำให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งไปพร้อมกับการเพิ่มภาษีเป็นเรื่องที่ยาก

2. ถ้าประวัติศาสตร์เรื่อง QE ของอเมริกาซ้ำรอย ใน ยุโรปก็น่าจะได้ประโยชน์จาก QE เช่นกัน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น หุ้นยุโรปจะน่าสนใจ ถ้าเกิดการปรับตัวลง เพราะผลตอบแทนหุ้นในยุโรปดูน่าสนใจกว่าหุ้นอเมริกาไปอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และเราคิดเงินจะไหลเข้าหุ้นยุโรป และ 2 อย่างที่น่ากังวลคือ เรื่องรัสเซีย และกรีซ เราเชื่อว่าปัญหาจะถูกแก้ไขในท้ายที่สุด อย่างน้อยในระยะสั้นนี้ กรีซก็น่าจะยังอยู่ในยูโรต่อไป แต่ระยะยาว QE จะไม่ใช่เครื่องมือที่สามารถแก้ไขปัญหายุโรประยะยาว น่าจะมีมาตราการเพิ่มเติมในอนาคต

3. ออสเตรเลียจะลำบากมากขึ้น ถ้าเราสังเกตจากค่าเงินจะเห็นชัด เมื่อจีนลดการนำเข้าเหล็กจากการผลิตเอง และจีนจะนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียมากขึ้น และในส่วนน้ำมันน่าจะยังล้นตลาดต่อไปในครึ่งปีแรก 2015

4. พื้นฐานทองดูดีขึ้นในระยะยาว
4.1 ประเทศทั่วโลก พยายามลดค่าเงินตัวเอง เพื่อการส่งออก
4.2 จีน รัสเซีย สะสมทอง เพื่อจุดประสงค์สำหรับเป็นสกุลที่ใช้จ่ายระหว่างกัน
4.3 นโยบายของยุโรปที่จะดึงทองกลับประเทศตัวเอง having their gold repatriated จากประเทศ US และ UK , เยอรมันและฮอลแลน เริ่มทำ และหลายประเทศเริ่มพิจารณาทั้งฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม

boyles Bigmove Club



วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กฏของนักเก็งกำไรก่อนที่ประสบความสำเร็จ

กฏของนักเก็งกำไรก่อนที่ประสบความสำเร็จ
5 กุมภาพันธ์ 2558

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ เหมือนจะมีกฎเดียวกันคือ ความล้มเหลวในช่วงแรก หรือการขาดทุน หมดตัว

Boyles: สำหรับคนที่ขาดทุน หรือหมดตัว อย่าเพิ่งท้อแท้ ส่วนใหญ่แล้วความล้มเหลวในช่วงแทบจะเกิดขึ้นกับทุกคน ขอให้มีกำลังในการสู้ต่อไปนะครับ สำหรับผมเคยขาดทุนจนต้องเข้าวัดไปพักใหญ่เหมือนกันครับ ในช่วงแรกของการเทรด ว่าไปมันก็เหมือนเป็นกฏจริงๆ

สิ่งที่น่าจะเจ็บปวดที่สุดนอกเหนือจากการขาดทุน คือการทำกำไรเร็วเกินไป  การรักษาความได้เปรียบในการเทรดเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคุณทำไม่ได้ คุณก็จะไม่มีเงินมาจ่ายเมื่อคุณขาดทุน

Boyles: การรักษาความได้เปรียบ เป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อคุณอยู่ในเทรน ผมเคยเปลี่ยนจากเงินไม่กี่แสนเป็นเงินล้านได้ในช่วงไม่กี่เดือน ในการเล่น TFEX เมื่อผมไปขาดทุนในตลาด Comex มันเป็นเพียงแค่กำไรส่วนนึง เพราะผมมีทุนมาจ่ายในช่วงที่ขาดทุน

มาร์คัสได้เล่าต่อ ถึงอันตรายจากการเทรดเกินตัว เขาเสียเงินทั้งหมดภายในการเทรดครั้งเดียว

Boyles: เราน่าจะได้ Idea แล้วว่าไม่ว่านักเทรดจะเก่งขนาดไหนแต่ถ้าเทรดเกินตัว ยังไงผลลัพธ์ก็คือการหมดตัว  Share ประสบการณ์ผม ในช่วงแรกของการเทรด ผมก็เคยเทรดเกินตัว นำเอากำไรจากการเทรดและเงินที่เก็บไว้ทั้งหมดเกือบ 2 ล้าน โดยคิดจะกำไรประมาณ 8 ล้านให้ได้ใน 6 เดือน แต่ผลลัพธ์คือผมเหลือเงินออกมาจากตลาดไม่กี่แสน นั่นเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายของผมช่วงนึงเหมือนกัน

นักเทรดระดับโลกยังพูดถึงเรื่องการกำหนดจุดออก หรือจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง และให้หยุดเทรดเมื่อขาดทุนและสับสน

Boyles: นักเทรดทุกคนรวมถึงผม ถ้าเคยอ่านที่ผมเขียน ผมสอนเสมอ คุณต้องรู้จุดตัดขาดทุนทุกครั้งที่คุณคิดจะเก็งกำไร และเมื่อคุณสับสน หรือขาดทุนให้หยุดเทรด แต่ประสบการณ์ของผม คำแนะนำให้หยุดเทรด หรืออยู่เฉยเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร ที่ใครจะอยากทำตาม ทุกคนมักจะหยุดเทรดด้วย condition ที่ใกล้เคียงกันคือ ไม่มีเงินให้เทรดแล้ว

เรื่องสุดท้าย คุณต้องมีวิถีทางตัวเองในฐานะเทรดเดอร์ การทำตามคำแนะนำถึงแม้จะเป็นเทรดเดอร์ที่ดีก็ตามมักจะตามมาด้วยปัญหา

Boyles: เรื่องนี้ผมว่าจริง ผมได้ให้คำแนะนำการเทรดให้หลายท่าน แต่สิ่งที่จะนำมาซึ่งปัญหาคือ อุปนิสัยการเทรด และบุคลิกการเทรดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การเทรดสั้น เทรดยาว นั่นทำให้ผมต้องดูลักษณะของแต่ล่ะคน เพื่อแนะนำแนวทางที่เหมาะสมมากที่สุดให้แต่ล่ะคน หรือผมเรียกว่าสไตล์ แต่ล่ะคนมีสไตล์ที่แตกต่างกัน เหมือนการเลือกเสื้อผ้า ซึ่งที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับตัวเอง คือสิ่งที่สำคัญในเรื่องการเทรดเช่นกัน

จากหนังสือ Market wizard
Boyles bigmove Club

มาสรุปวิเคราะห์ เศรษฐกิจโลก Macro Economy 4 กุมภา 2558

มาสรุปวิเคราะห์ เศรษฐกิจโลก Macro Economy กัน Boyles Bigmove Club

1. ธนาคารทั่วโลก ต่อสู้กับภาวะเงินฝืด การลดดอกเบี้ยในอินเดีย แคนาดา สิงคโปร์ และเปรูในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการอัด QE ยูโรป เพื่อเศรษฐกิจสามารถโตต่อไปได้ และความเสี่ยงในเรื่องของรัสเซียก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตาต่อไป ตามประวัติศาสตร์การอัด QE จะทำให้หุ้นขึ้นต่อไปได้ แต่ในระยะยาวไม่น่าจะแก้ปัญหาได้ คงต้องจับตาดูนโยบายอื่นที่จะเข้ามาช่วยอีกครั้ง

2. เทคโนโลยีในอนาคต ที่เราเชื่อคือ Augmented Reality Device (ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือน) จาก Microsoft's new HoloLens เป็น project ที่ยังไม่เปิดเผย พัฒนาโดย Magic Leap
โดยการช่วงเหลือทางด้านการเงินจาก Google
https://www.youtube.com/watch?v=y6meC-GHD0w
This is Augmented Reality

3. Bitcoin ยังไม่ตาย (เป็นข้อมูล ยังไม่น่าลงทุน)มีโอกาสที่จะเราอาจเห็น Bitcoin เป็นที่ยอมรับมากขึ้น แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องแก้ไขก่อนที่ cryptocurrencies จะใช้กันอย่างแพร่หลาย

4. ภาพรวม Dollar index แข็งค่าเร็วกว่าที่เราคิดไว้มาก ดังนั้นเรายังคิดว่าตลาดหุ้นอเมริกายัง bullish และน่าจะขึ้นประมาณ 5-8 percent Dollar น่าจะยังแข็งต่อ ดังนั้นโอกาสน่าจะเป็นการ Short Euro และประเทศที่ส่งออกสินค้า Commodities ตามประวัติศาสตร์ QE จะทำให้ตลาดหุ้นวิ่งสูงขึ้น QE ยุโรปก็เช่นกัน จีนและอินเดียก็เช่นกัน ถึงแม้จีนจะอยู่ในช่วงปรับฐานแต่ก็ดูน่าสนใจที่จะหาจังหวะเข้า

เหมืองทองในแคนาดา ออสเตรเลีย แอฟริกัน และละติน จะได้ประโยชน์จากการที่ค่าเงินตัวเองอ่อนตัว

5. จีนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคส่งออก และญี่ปุ่น เป็นประเทศส่งออกที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญ จีนต้องการให้ค่าเงินตัวเองอ่อน เราเชื่อว่าจีนขายเงิน Yuan และซื้อเงิน Yen นั่นจะเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้ นกสองตัว ทั้งค่าเงินอ่อน และไปทำให้่ค่าเงิน Yen แข็งค่า

ประเทศส่งออกเล็กๆ จะไม่ได้มีอัตราการเติบโตเร็วมากนัก จนกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะเริ่มฟื้นตัว

ดูจากพื้นฐาน หุ้นไทยแล้วน่าจะไปต่อ แต่จะไปแล้วช้าๆ มากกว่ากระทิงแรงๆ ก็น่าจะเข้าจังหวะที่เราเล่นรอบกัน ปีนี้คงต้องเน้นเล่นรอบมากกว่าเดิมในตลาดหุ้น

Boyles Bigmove Club

4 กุมภา 2558

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หลักการเทรดที่ดี จะสามารถปรับตัวได้ทุกสภาวะตลาด

หลักการเทรดที่ดี จะสามารถปรับตัวได้ทุกสภาวะตลาด 4 Feb 2015

นักเก็งกำไรชั้นนำได้บอกเอาไว้ว่า เมื่อคุณเทรดตลาดนึงได้ คุณจะเทรดมันได้ทุกตลาด หลักการมันเหมือนกันหมด การเทรดเป็นเรื่องของอารมณ์ จิตวิทยา ความกลัว

Boyles ตรงนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วย ประสบการณ์ผมเคยได้กำไรมหาศาลเลย จากการเทรด TFEX และผมก็ได้เอาวฺิธีการเทรดใน TFEX ไปเทรดในตลาด Comex เลยหลังจากที่คิดว่าตัวเองแกร่งกล้าวิชามากๆแล้ว และผลสุดท้ายคือเจ๊งไม่เป็นท่าเลยครับ ทำให้ผมสงสัยในวิธีการเทรดของตัวเองมาก

จนในที่สุดผมได้เรียนรู้ การเทรดในสภาวะต่างๆ ที่ทำให้ผมสามารถปรับใช้ได้กับทุกตลาด และสิ่งที่น่าสนใจคือ หลักการมันเหมือนกัน ตามหนังสือเขาอาจจะหมายถึงอารมณ์ในตลาด แต่ผมคิดว่า สำหรับผมหลักการจริงในการเทรดในแต่ล่ะตลาดตล้ายกันมาก และนอกเหนือจากอารมณ์แล้ว องค์ประกอบในการวิเคราะห์การเกิดเทรนน่าจะเป็นอีกหลักการที่สำคัญ ในการเก็งกำไร หรือทำกำไรตลาดในระยะยาว ตามประสบการณ์ของผม

นั่นทำให้ผมสามารถใช้หลักการเดียวกันในการเก็งกำไรในตลาด อย่าง TFEX SET50 Future, Gold, S&P or Corn เป็นต้น  หรือเมื่อคุณเข้าใจหลักการในการเก็งกำไรแล้ว เทคนิคจะเพียงแค่ส่วนเสี้ยวเดียวขององค์ประกอบที่ใช้ในการเทรด

Boyles Bigmove Club


วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มาดูตลาดอื่นที่เราเก็งกำไรบ้าง 0.2 เปลี่ยนเป็นกำไรเกือบ $3,000 เหรียญ

มาดูตลาดอื่นที่เราเก็งกำไรบ้าง 0.2 เปลี่ยนเป็นกำไรเกือบ $3,000 เหรียญ

As we play now 3 products. Heating now Turn almost $3,000 with a 0.2 Lot Size

Why We choose Heating oil rather than Crude oil. becasuse Heating Show Relative Strength in the recently last 3 weeks stronger than Crude oil. When it got a buyer, Heating oil should rapidly move up.

GOLD turn to more risk since become Sideway, but we still have more choice to find a Trend in other prodcuts that could turn a good Risk/Reward.

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

การเทรดที่ดี ที่สุดคือการเทรดที่มีองค์ประกอบครบทั้ง สามอย่าง คือ พื้นฐาน เทคนิค และจังหวะ


ช่วงบ่ายเกร็ดเล็กน้อย เรื่องเทรด 27 มกรา 2558
Credit: Market Wizard ฉบับภาษาไทย 

อ่านถึงตรงนี้ผมคิดว่า ตรงมากๆ และนี้คือเหตุผลที่ช่วงหลังผมมีความแม่นยำที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนมากๆ ในการวิเคราะห์ และทำนายสถาการณ์ต่างๆ

ผมไม่เห็นด้วยเลย ที่บางคนบอกว่า เทคนิคบอกทุกอย่าง เทคนิคไม่เคยหลอกใคร

ลองอ่านในหน้าที่ผม capture มาให้นะครับ แล้วลองคิดตามว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอะไรบ้างนะครับ เดี๊ยวผมมา share ความคิดเห็นต่อความคิดเห็นของนักเก็งกำไรคนนี้

ที่อย่างชี้ให้ดูประเด็นแรกคือ

การเทรดที่ดี ที่สุดคือการเทรดที่มีองค์ประกอบครบทั้ง สามอย่าง คือ พื้นฐาน เทคนิค และจังหวะ

บางคนมัวแต่ไป Focus เทคนิคอย่างเดียว ซึ่งท้ายที่สุด มันก็เทรดไม่ได้เงินอยู่ดี

บางคนไป Focus พื้นฐานอย่างเดียว จังหวะเวลาที่ดีในการเทรดไม่ได้ ก็ต้องมานั่ง Suffer กับ DrawDown ที่เยอะจากบางสถาการณ์เช่นกัน

ถ้าใครตามผมมาตลอด จะสังเกตุความแม่นยำของผมในช่วงหลังมาจาก 3 ข้อนี้เลย

ผมอ่านข้อมูลพื้นฐานเยอะมากๆ ในช่วงหลังเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ผ่านข้อมูลทาง Fundamental พื้นฐานทั่วโลก ส่วนที่สองเทคนิคจะเป็นตัวยืนยันทิศทาง หรือบอกให้เรารอจังหวะในบางช่วง จะเป็นตัวช่วยปกป้องเรา และช่วยทำกำไรได้ดีที่สุด โดยมีปัจจัยพื้นฐานเป็นตัว Drive ตลาดจากอุปสงค์ อุปทาน และปัจจัยข้อสุดท้ายคือจังหวะ ช่วงหลังผมเอา Cycle การคำนวณทางด้านเวลา Timing เพื่อวิเคราะห์ช่วงเวลาการเกิดเทรน การ Sideway ทำให้เรามีโอกาสเก็งกำไรในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังมีโอกาสเพิ่ม Risk/Reward ที่ดีได้

ผมคิดว่า 3 องค์ประกอบนี่เป็นปัจจัยที่สำคัญเลยในการทำให้เราเทรดได้ดี

ถ้าดีที่ผมขีดเส้นก่อนหน้านั้น ก่อนที่เขาจะสรุป 3 ข้อนี้ เขาบอกเทคนิคเขาเคยใช้ได้ดี แต่คิดว่าคงใช้ไม่ได้ต่อไปในอนาคต แสดงว่าเทคนิคไม่ใช่คำตอบของการทำกำไรในตลาด แต่สิ่งที่จะเงินจริง คือปัจจัยเทรด 3 ข้อนี้ ตรงนี้ประสบการณ์ส่วนตัวผมว่า เราควรพิจารณาดู

สำหรับผม หรือถ้าใครเทรดเทคนิคแล้วยังไม่ได้กำไร ก็ไม่น่าแปลกอะไร สำหรับผมเทคนิคไม่ใช่คำตอบของการทำกำไร แต่เทคนิคจะช่วยจับจังหวะในการเก็งกำไร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ อุปทานในระยะยาวจากเรื่องราวทางพื้นฐานในตลาดต่างๆ

และอีกเคล็ดลับอย่างนึง คือการลดจำนวนการเทรดของคุณลง ผมว่าการเทรดที่ดีไม่ใช้การเข้า ออกตลอดเวลา การเทรดที่ดี คือการจับจังหวะที่ดี แค่เพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้การเทรดที่เยอะ มันก็สามารถให้กำไรเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างเช่นทองที่เพิ่งขึ้นจาก 1130 --> 1300 ใครจับจังหวะเทรด 1150 มาขาย 1300 ก็น่าจะเห็นกำไรไม่น้อย จากจังหวะเพียงไม่กี่ครั้ง

หรือ SET50 การขึ้นแรงมา 100 จุดในช่วงก่อนหน้านี้ จังหวะที่สำคัญเพียงครั้งเดียว มีค่ามากกว่าการเก็งกำไรเข้าๆ ออกๆหลายครั้งโดยไม่มีจุดหมาย

อย่างนึงคือ เราไม่สามารถจับจังหวะการรันเทรนระดับใหญ่ได้ โดยไม่วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลพื้นฐานจะเป็นตัวบอกใบ้ถึงทิศทางหลักในการทำกำไรระยะยาว หรือเป็นตัว Drive ตลาดในภาพใหญ่

เทคนิค Candle สามารถจับจังหวะที่ดีของ demand supply ได้ แต่ปัจจัยที่ Drive demand ในระยะยาวคือปัจจัยพื้นฐาน นี่คือส่วนที่เราใช้ในการเก็งกำไรเช่นกัน

ผมก็ Share เรื่องราวการเทรด วันล่ะนิด วันล่ะหน่อยให้นะครับ เป็น IDEA และแง่คิดในการเก็งกำไรในตลาด เราสามารถเพิ่มเงินใน port ได้หลาย 100% ผ่าน Future แต่ต้องมั่นใจในวิธีการคิด แนวทางการเก็งกำไรของเราให้ถูกต้องด้วย

เมื่อคุณเจอกับการขาดทุนติดต่อกัน คุณจัดการกับมันอย่างไร


เมื่อคุณเจอกับการขาดทุนติดต่อกัน คุณจัดการกับมันอย่างไร

คนส่วนใหญ่เคยผ่านประสบการณ์แบบนี้กันมาแล้วทั้งสิ้น เมื่อเราขาดทุน เรามักจะเทรดหนักขึ้น และไม่ว่ากี่ยุค กี่สมัย การเทรดทั้งในอดีต และปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน คือล้มเหลว และหมดตัว

เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ เมื่อเขาประสบปัญหาการขาดทุนติดต่อกัน สิ่งแรกที่เขาทำคือ ลดการเทรดลง หรืออาจจะต้องหยุดเทรดไปก่อนเลย และนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมทำเหมือนกันถ้าผมประสบปัญหาแบบนี้

จำไว้นะครับ เมื่อคุณขาดทุน ประสบการณ์ผม(boyles bigmove)ก็เช่นกัน 1. ให้ลดการสูญเสียโดยการเทรดให้น้อยลง 2.หยุดเทรด (หยุดการสูญเสียถ้าจำเป็น) จงหยุดคิดเรื่องการเอาเงินคืนก่อน สิ่งแรกที่เราต้องการเมื่อขาดทุน คือลดการสูญเสีย ไม่ใช่เอาเงินคืน

คนส่วนใหญ่ มักจะคิดเรื่องเงินทุนตัวเอง การต้องการเอาคืนไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่มันเป็นขั้นตอนหลังจากนั้น

มีบางครั้งหรือไม่ คุณต่อสู่เพื่อเอาคืนจนเอาชนะกลับมาได้ ไมเคิลตอบว่า บางครั้ง

นั่นแสดงว่า แม้เทรดเดอร์ที่เก่งมากๆ ก็ทำได้แค่บางครั้งเท่านั้น ในการเอาทุนตัวเองคืนมา แต่สิ่งที่เขาแนะนำ และเป็นสิ่งสำคัญคือ ให้หยุดเล่นซะ แม้มันจะยากที่จะบังคับตัวเองให้หยุดเล่นก็ตาม

Boyles: มีคนหลายคน มาขอคำแนะนำผมเกี่ยวกับ การเทรดที่ต้องเอาทุนตัวเองคืน คำแนะนำผมส่วนใหญ่จะจบตรง คุณต้องหยุดเทรด ต้องหยุดการสูญเสียก่อน แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเชื่อ และท้ายที่สุด มักจะสูญเสียเงินทั้งหมดอยู่ดีแม้จะเติมเงินเข้าไปเท่าไหร่ก็แล้วแต่ คุณต้องลดการเทรด จนกว่าคุณจะเริ่มกลับมาเทรดถูกทางอีกครั้ง

ให้ผมเปรียบ ในบางครั้งคุณไม่สามารถเดินผ่านพายุหนักๆได้หรอก ถึงคุณจะมีจิตใจที่สู้มากขนาดไหน แต่เมื่อสภาพแวดล้อมไม่อำนวย มันก็ยากที่จะผ่านไปได้ เพียงบางครั้งคุณแค่หยุดเดิน รอให้พายุสงบ และเดินค่อยออกเดินไปอย่างช้า คุณอาจจะพบว่ามันง่ายกว่า ที่จะเดินผ่านเส้นทาง เส้นเดียวไปได้ และมันก็เหมือนการเทรดเช่นกัน

และด้านบนของหนังสือ ก็เหมือนที่ผมเคยเล่าในประวัติผมไป

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จทุกคน พวกเขาจะมีชีวิตที่สมดุล พวกเขาจะมีความสนุกอื่นนอกเหนือจากการเทรด

Boyles: ผมได้ค้นพบความจริงข้อนึง คือ เมื่อคนมีชีวิตที่สมดุล มีคุณภาพชีวิตที่ดี การเทรดของคุณจะดีตามไปด้วย การหมกมุ่นการเทรดมากเกินไป จะทำให้คุณเทรดเกินตัว หรือหมกมุ่นกับความผิดพลาดตลอดเวลา ดังนั้นในกลุ่ม เป้าหมายผมไม่ได้ Focus ให้คนเป็นเทรดเดอร์มาก การเทรดทั้งหมดจึงใช้ TF ใหญ่เป็นหลัก คุณต้องสามารถเก็งกำไรไปพร้อมกับกิจกรรมอื่น หรือทำงานอื่นไปด้วยได้ และนั่นจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และผลลัพธ์ที่ดีได้จากการเทรด

คุณไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการเฝ้าหน้าจอ ดูตัวเลขการเคลื่อนไหวตลอดทั้งวันได้หรอก (เฝ้าหน้าจอเกิน 13 ชม./วัน)

--- พอล่ะ วันล่ะนิด วันล่ะหน่อยพอ เรื่องข้อคิดเกี่ยวกับการเทรด ---

Market Wizard แปลไทย: 18 Jan 2015 (ซื้ออ่านฉบับจริงกันนะครับ ดีมากเลย)