วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มุมมอง หุ้น ทอง น้ำมันและภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2016

จากที่เราสำเรวจภาพรวมในปี 2016 เราคิดว่าตลาดอาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่มากมายนัก

เศรษฐกิจ การเงินในทางพื้นฐาน: ดีขึ้นเล็กน้อย




ในทางพื้นฐาน เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างช้าๆ  เทรนของเงินฝืดทั่วโลกจะเริ่มลดลง การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2015 จะเริ่มส่งผลในประเทศต่างๆในปี 2016



การเติบโตของบริษัทต่างๆจะเริ่มดีขึ้น และเงินฝืดจะเริ่มลดลงจะทำให้ บริษัทต่างๆจะทำกำไรประมาณ 3-5% ในอเมริกา และจะมากกว่านี้ใน Japan และ Europe เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนมาก

สำหรับอัตราดอกเบี้ย เราคาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยเกิน 1% จนถึงปลายปี 2016 และน่าจะขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยในระยะยาว ซึ่งจากประวัติศาสตร์แล้วตัวเลขนี้ไม่น่าจะส่งผลให้เกิดภาวะ recession

หุ้นในอเมริกาค่อนข้างราคาสูงในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับระดับที่เหมาะสมอย่างในจีน ยุโรปและญี่ปุ่น

เราเชื่อว่า โอกาสที่ดีในการซื้อหุ้นอเมริกาน่าจะเกิดจากการปรับฐาน หรือการเติบโตของบริษัทต่างๆกลับมามากกว่า 5%  ความจริงตัวเลขนี้ก็ไม่ได้มากมายนัก เมื่อเทียบกับ Dollar ที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับสกุลเงินอื่น

ในปี 2016  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือค่าเงิน Dollar และ ราคาตลาดหุ้นอเมริกาเมื่อเทียบกับปัจจุบัน  โอกาสซื้อที่สำคัญคือการปรับตัวลงของ Dollar index และการปรับฐานของหุ้นอเมริกา (ดอลล์อ่อน กำไรบริษัทดีขึ้น แะหุ้นที่ปรับฐานราคาดีจะเป็นโอกาส)


ในส่วนของยุโรปและเอเชีย


การอ่อนค่าของค่าเงินในประเทศเหล่านี้ จะทำให้การส่งออกดีขึ้น แต่การเติบโตยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ โอกาสในการซื้อหุ้นยังคงต้องเลือกด้วยความระมัดระวัง ปัจจุบันมูลค่า ราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม บริษัที่พื้นฐานดีดูน่าสนใจในการลงทุน

แต่ถ้า Dollar เริ่มปรับตัวลง กำไรในบริษัทต่างๆในอเมริกาจะเพิ่มขึ้น และในยุโรปและเอเชียจะเริ่มลดลง

เมื่อตลาด Commodities สร้างจุดต่ำสุด เราคาดว่าน่าจะประมาณครึ่งปีหลังของปี 2016 ประเทศที่ส่งออก Commodities อย่างพวก Canada และ Australia จะเริ่มน่าดึงดูดในการลงทุน

น้ำมัน ทอง และ Commodities

ความสัมพันธ์ที่ตรงข้ามกับ US Dollar เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ที่ Dollar หยุดขึ้น Commodities จะวิ่งขึ้น  สองสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อราคา Commodities ในปี 2016 คือ Dollar และ เงินเฟ้อ

เราไม่คิดว่าจะมีความต้องการ(demand) เพิ่มขึ้นมากในปี 2016 ดังนั้นทองและน้ำมันจะน่าสนใจจากเงินเฟ้อที่เกิดในประเทศที่พัฒนาแล้ว  เราเชื่อว่าเงินเฟ้อจะขึ้นอย่างช้าๆ รวมถึงดอกเบี้ยด้วย
สรุป  ถ้า Dollar ยังขึ้นต่อไป หรือยังไม่กลับตัว เราคิดว่าทองและน้ำมันจะ sideway หรือน่าดึงดูดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น






ดังนั้นจนกว่า Dollar จะกลับตัว หรือ Commdities price จะเจอ bottom จริงๆ ยังอยากให้เล่นทองด้วยความระมัดระวัง หลังจากเล่นขึ้นรอบนี้แล้ว เรายังมีโอกาสที่อาจจะยังเห็น Low ในทองอีก ในช่วงปี 2016

ที่มา: Guild investment
Boyles Bigmove Club

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

6 ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ทองขึ้นลง

สำหรับทอง เป็นสินค้าที่มีความซํบซ้อนมากที่สุด สินค้าส่วนใหญ่จะเคลื่อนตัวตามข้อมูลพื้นฐาน นั่นทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เลือกที่จะวิเคราะห์ทองโดยใช้เทคนิคล้วน หรือข้อมูลพื้นฐานที่ไม่เยอะนัก

เราเคยเข้าใจว่าทองจะขึ้นตาม หนี้อเมริกาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ย แต่ในปี 2013-2014 ความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดมากๆ เพราะในขณะที่อเมริกายังก่อหนี้ ทองกลับลงแรงมากเช่นกัน
ในอีกฝั่งก็มองว่า ทองไม่สามารถให้รายได้ หรือปันผลเหมือนหุ้น แถมยังมีต้นทุนในการถืออีก แต่เราก็ยังคิดว่าความคิดนี้ ก็ไม่ค่อยฉลาดนัก เพราะในช่วงเงินเฟ้อ หรือช่วงเศรษฐกิจถดถอย ทองให้ผลตอบแทน (capital gain) มากกว่าหุ้นหลายเท่านัก
ราคาทองมีความสัมพันธ์ กับเศรษฐกิจโลกที่ไม่รวม US  vs การเติบโตของ GDP US และการคาดหวังของดอกเบี้ยในเมกา  นั่นคือถ้าเศรษฐฏิจเมกาหรือค่าเงิน US มีความอ่อนแอมากเท่าไหร่ ทองและ silver จะยิ่งถีบตัวสูงมากขึ้นเท่านั้น
เราจึงสรุป 6 เหตุผลพื้นฐานที่เราให้ทองขึ้นหรือลงออกมาดังนี้
1. ทองและ silver วิ่งตามกันกับสินค้า commodities ตัวอื่น และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ไม่นับรวมอเมริกา (non-US)ด้วยเหตุผลสองประการ
1.1 ต้นทุนในการทำทองสูง (Gold dredging, gold ore mining)
1.2 ปัจจัยจากความต้องการในตลาดจีน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน และทองแดง มีความสัมพันธ์กันตามภาพ


g5jUd015d9nd3njsiq2p_rvmm6f.png?type=w52

ในช่วงปี 2013-2014  ราคาทองแดง และราคาน้ำมันถูกกดดันจาก การเติบโตที่ช้าลงจากภาพอสังหาที่จีน  อัตราดอกเบี้ยที่แพง และการไม่อนุญาตให้ซื้อบ้านหลังที่สอง ช่วยทำให้ลดความร้อนแรงของภาคอสังหาไป รวมถึงราคาน้ำมันที่ลงจาก ภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากอเมริกา  และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ  นั่นทำให้ทองได้รับผลกระทบตามมาเช่นกัน

ราคาสินค้า Commodity และราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลในทางลบกับทอง
2. ราคาทอง และ Silver มีความสัมพันะ์กับ Global money suplly และเงินเฟ้อ
ผลตอบแทนทองดีมาก จนกระทั่งปี 2011 ช่วงที่มีการเพิ่มเงินเข้าในตลาดโลก รวมถึงภาวะเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ Emerging market

499Ud0153om6y4b5ej8h_2pfdy3.png?type=w52

bahUd01534hmkumqr9ru_sy1xsc.png?type=w52

อัตราเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ สินค้าราคาอาหารและน้ำมันสูงขึ้น นั่นทำให้เงินเฟ้อในประเทศเกิดใหม่จะมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงปี 1998-2012  และเช่นกัน 2008-2009 ในช่วง crisis เงินเฟ้อลดลดก็ทำให้ทองและเงิน ราคาลงเช่นกัน

ต่อไปมาดูความสัมพัพธ์ของเงินเฟ่้อในอเมริกาและทอง

302Ud015fb0n38zy2aoj_nbar6q.png?type=w52

เงินเฟ้อในอเมริกาก็ยังเป็นปัจจัยหลักต่อราคาทองเช่นกัน

ในช่วงปี 2013-2014 จีนมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น นโยบายการเงินที่เข้มงวดไม่ว่าจะเกิดที่จีน หรืออเมริกา ล้วนแล้วแต่เป็นผลลบต่อทอง

เราเชื่อว่า เงินเฟ้อในอเมริกาจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป จนกว่า ค่าจ้างในอเมริกาจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐฏิจอเมริกา และผลตอบแทนในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น เช่น การกู้ซื้อบ้าน  เราเห็นด้วยที่ Fed member กล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อในอเมริกาจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% (fed fund target) ยาวนานกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อีก
3. ราคาทองและ silver จะน่าดึงดูด เมื่อเศรษฐกิจ Non-Us ดูดีกว่าเมื่อเทียบกับ US

ทองมักจะขึ้นควบคู่ไปกับ การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่ และยุโรป และทองมักจะวิ่งคู่ไปกับค่าเงินยูโรเช่นกัน  ปัจจุัยข้อที่สามเป็นปัจจัยที่สำคัญ


ในช่วงปี 2008 ที่เกิดวิกฤต Fed พิมพ์เงินเพื่อแก้ปัญหา ในช่วงปี 2009-2011 emerging market ยังคงเติบโต ในขณะที่อเมริกามีปัญหาจากราคาน้ำมันที่แพง และตลาดบ้านที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอเมริกา  เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดในปลายยุค 1970 ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในอเมริกาใต้ และยุโรป ดีอย่างชัดเจน

เศรษฐกิจโลกเติบโต ทำให้น้ำมันแพงขึ้น และอเมริกาขาดดุลการค้า  สิ่งเหล่านี้ส่งผลดีต่อทอง


ในขณะเดียวกัน ในช่วงปี 2011  การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในจีน ทำให้จีนยากต่อการการแข่งขัน เงินส่วนเกินจากดุลการค้าเริ่มอ่อนแอ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในจีนนำไปสู่การ Peak ของทองในปี 2011 และในช่วงปี 2012 เศรษฐกิจอเมริกาก็เริ่มกลับมาแข็งแกร่งกว่า  นั่นส่งผลด้านลบต่อราคาทอง


ed8Ud01515e1vj1bhm1xf_48wns5.png?type=w5



การลงทุน และภาคอสังหาที่แข็งแกร่งในอเมริกา มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบต่อทอง เพราะความคาดหวังในเรื่องดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น  และนี้คือเหตุผลที่ราคาทองต่ำมากในช่วงปี 1999-2000  ดังนั้นนี้คือเหตุผลที่ว่า การเพิ่มของหนี้ในอเมริกา เบื้องต้นเลยส่งผลแย่ต่อราคาทอง เพราะสิ่งเหล่านี้ ทำให้ GDP US เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความคาดหวังดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น

ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ หนี้อเมริกาไม่ได้มีความสัมพันธ์กับราคาทองเลย เหมือนในช่วงปี 1982-2000 US public debt หนี้สาธารณอเมริกา
เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ทองกับไม่ได้ขึ้นเลย

4ecUd015q84sgi2tbar6_kxztjg.png?type=w52

4. ราคาทองมีความสัมพันธ์กับธนาคารกลาง
หลาย 10 ปีหลัง ธนาคารกลางในยุโรป และ Emerging market เชื่อในการซื้อ US tresasuries หรือทองมากขึ้น

เหตุผลคือ ประเทศเหล่านี้ มีแนวโน้มที่ค่าจ้างจะสูงขึ้น เมื่อเทียบกับอเมริกา  ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ค่าเงิน Europe or EM มีความเสี่ยงจะอ่อนค่า ดังนั้น การถือ US tresuries หรือทอง ทำให้ได้ประโยชน์สองต่อ  ในขณะที่เงินเฟ้อ ธนาคารยังได้ประโยชน์จากการถือครอง US tresuries หรือทอง าจ้างที่เพิ่มขึ้นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ค่าเงิน Europe or EM มีความเสี่ยงจะลดมูลค่า

c02Ud0151b6r4agbba70l_b4imi7.png?type=w5




หลังจากที่อเมริกาประกาศลอยตัวค่าเงิน us กับทอง ราคาทองก็เริ่มตกในช่วงทศวรรษที่ 1990 ตามภาพธนาคารทั่วโลกเริ่มขายทองมากขึ้น จากนโนบายของ IMF ที่ให้ธนาคารขายทอง และประเทศอย่าง UK และ Switzerland ก็ทำตาม

ในช่วงปี 2010-2012 ธนาคารกลางของประเทศ Emerging market ได้เพิ่มการถือครองทอง โดยจีนถือครอง 1.7% ของเงินสำรอง ตามมาด้วย india 10% บราซิล 0.5% ในขณะที่ ประเทศทางตะวันตกยังทำตามนโยบาย IMF คือไม่ซื้อทองอีกต่อไป


ในปี 2014 ธนาคารกลางในประเทศที่พัฒนาแล้วมีนโยบายในการลดค่าเงินตัวเอง ทั้ง ECB, SNB, BOJ, BOE เหมือนจะมีแค่ FED ที่พยายามจะขึ้นดอกเบี้ย สิ่งเหล่านี้ทำให้ค่าเงิน US แข็งค่า และทำให้ทองอ่อนค่าลง
5. ทองและ silver สูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยของอเมริกาตกลง


ในปัจจุบัน เงินทุนของอเมริกา ยังเป็นส่วนสำคัญต่อการขึ้นลงในตลาดโลก ดังนั้นเมื่อพันธบัตรอเมริกาให้ผลตอบแทนที่ดี ราคาทองก็จะตก

613Ud0153ezeys5kv83h_nr1pd3.png?type=w52

แต่ก็จะมีบางสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในอเมริกาสูงขึ้น ทองก็สามารถวิ่งขึ้นได้เช่นกันคือ

i5bUd015e0homafgu7nf_486ztw.png?type=w52

5.1 โดยปัจจัยการเติบโตของเศรษฐฏิจโลก และราคาสินค้า Commodities สูงขึ้น อย่างเช่นในปี 2005-2007
5.2 และปัจจัยอย่างในปี 1977-1980 ที่เงินเฟ้อปรับตัวเร็วมากกว่าอัตราดอกเบี้ยมากๆ


ทองจะราคาลงเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี เพราะนั่นคือโอกาสของ Fed Funds target ที่จะปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นมามากแล้วก็ตาม  ดังนั้นเมื่ออัตราการจ้างงานของอเมริกาเพิ่มขึ้น ทองและโลหะเงินก็มักจะปรับตัวลง


88dUd0151naduau0jofcs_2d3pdf.png?type=w5

ค่าจ้าง(Wage) คือปัจจัยที่สำคัญต่ออัตราดอกเบี้ย และราคาทอง


ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เงินเฟ้อสูงขึ้นมหาศาล ทำให้ ค่าข้างเพิ่มสูงขึ้น และน้ำมันก็ถีบตัวสูงขึ้น  ทองวิ่งขึ้นพร้อมกับค่าจ้างและราคาน้ำมัน


ทำให้ Fed ในขณะนั้น Volcker ตัดสินใจที่จะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อที่จะหยุดค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น และหยุดราคาน้ำมันและรายได้ของประเทศเกิดใหม่ให้ลดลง (ดอกเบี้ยแพงส่งผลต่อการลงทุนในต่างประเทศ) เศรษฐกิจโลกเริ่มสะดุด และท้ายที่สุด Fed สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้อีกครั้ง และตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้น  ดังนั้นเราสามารถบอกได้ว่า FED ทำลายราคาทอง


ดังนั้น เมื่อค่าจ้างสูง ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ทองมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น และในทางกลับกันค่าจ้างต่ำ เงินเฟ้อลดลง กำไรบริษัทอเมริกาสูงขึ้น เศรษฐกิจอเมริกาดีขึ้น ทองมีโอกาสปรับตัวลง


6. ทองและ โลหะเงินขึ้นตาม demand supply



เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในจีนและอินเดีย ทำให้เกิดความต้องการซื้อทองและโลหะเงิน อินเดียวมีอัตราการเก็บเงินอยู่ที่ 20% และทองก็เป็นส่วนนึงของเงินออม  แต่โลหะเงินจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมมากกว่า ดังนั้นความต้องซื้อโหละเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะมีมากกว่าทอง  ราคาโลหะเงินจะสะท้อน demand supply จริงๆมากกว่าทอง


จากประวัติศาสตร์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 ยุคตื่นทองในแคริฟอเนีย ทำให้ทองในยุค 19 ราคาต่ำลง เมื่อเทียบกับโลหะทองที่ใช่ในอุตสาหรกรรมด้วย ที่มีราคาสูงขึ้น ดังนั้น ธนาคารกลางหลายประเทศเปลี่ยนจากการสำรองทองและโลหะเงิน เป็นสำรองทองอย่างเดียว จนเป็นที่มาของ Gold standard


สินค้า Commodities หลายตัวโดยเฉพาน้ำมัน ราคาจะสะท้อนอย่างมากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแหล่งผลิตน้ำมัน แต่สำหรับทองแล้ว เหมืองต่างๆ ไม่ได้ส่งผลต่อราคาทองมากมายเหมือน Commodities ตัวอื่นๆ

ที่มา http://snbchf.com/gold/gold-and-silver-prices/
Boyles Bigmove Club เรียบเรียง

ดดหasdf



a