วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สำรวจตัวเองกัน ว่าอยากเป็นนักเทคนิค หรือนักวิเคราะห์พื้นฐาน


เมื่อพูดถึงการวิเคราะห์เทคนิคและ การวิเคราะห์พื้นฐาน แต่ล่ะคนก็มีแนวคิดที่ต่างกัน ฉะนั้นการตัดสินใจที่จะเลือกเดินแนวทางไหน ในตลาดหุ้นจึงสำคัญเหมือนกัน ถ้าเราทำอะไรที่ขัดกับความเชื่อของเราแล้ว นั่นคงยากที่จะประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าเราอยากเป็นนักลงทุนระยะสั้น กลางหรือยาว เรามาดูกันว่านักเทคนิคมีความคิดเห็น ที่ไป ที่มาอย่างไร ส่วนเรื่องการวิเคราะห์พื้นฐานอันนี้ คงต้องลองหา web อื่นอย่างพวก thaivi แล้วมาพิจารณาดู

ด้วยส่วนตัวผมเลือกการวิเคราะห์เทคนิค แต่ไม่ว่าเราจะเดินทางสายไหน เราก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเทคนิค หรือพื้นฐาน จุดมุ่งหมายคือการทำกำไรได้สม่ำเสมอ บางคนอาจจะกำลังมองหาเส้นทางที่เหมาะกับตัวเองอยู่ ผมก็มา share สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ และประสบการณ์ที่ผ่านมา แล้วก็ถือว่าสรุปบทเรียนไปในตัวด้วย

เนื้อความนี้ ความรู้ส่วนใหญ่ก็มาจากลุงโฉลกที่เป็นคนเปิดมุมมองเรื่องการลงทุนให้เป็นระบบ www.chaloke.com ก็ต้องขอขอบคุณ คุณลุงจริงๆ ครับ

ปรัญชาของการวิเคราะห์เทคนิค
มีนักวิเคราะห์บางคนที่อ่านกราฟ และพยายามทำนายอนาคตจากกราฟ จากประสบการณ์ของผม นักวิเคราะห์ที่สามารถบอกได้ว่า หุ้นจะลงกี่เดือน จุดนี้คือจุดสูงสุด อีก 7 วันหุ้นจะลงถึงประมาณจุดนี้ อาจจะมีบางจังหวะถูกบ้าง แต่ส่วนมากที่ผมเจอคือผิด ตลาดหุ้นประกอบด้วยความคิดของคนเป็นแสนๆ ล้านๆ การคาดคะเนว่าเขาจะคิดเหมือนเราได้ตลอด ผมว่ามันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เหมือนที่ลุงโฉลกได้กล่าวไว้ว่าพวกนี้คือพวกทำนายอนาคต มันเหมือนหมอดูมากกว่านักวิเคราะห์ ทำนายไปเหอะเยอะๆ เดี๊ยวมันก็ถูกเอง ถ้าเราเชื่อนั่นหมายถึงหายนะใน port เราซึ่งผมก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นด้วย -.-"

นักวิเคราะห์ที่เก่ง หรือเซียนหุ้นที่ยิ่งใหญ่มากมายจะไม่ทำนาย แต่จะคำนวณ probability ความน่าจะเป็นของ possibility การขึ้น ลงโดยดูจากกราฟเทคนิค ผมว่าสิ่งที่ยากคือการคิดว่า probability ของการขึ้นหรือลง ในการเทรดในขณะนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ เราควรจะเสี่ยงลงทุนระดับไหน นั้นก็ขึ้นอยู่กับการศึกษากราฟในรายละเอียดลงไปอีกที ซึ่งจะกล่าวต่อไปอีกที

มาดูแนวคิดของนักเทคนิค อันนี้เอามาจากลุงโฉลกเลย เห็นว่าเข้าใจง่ายด้วย

1. Market Action Discounts everything (การเคลื่อนไหวของหุ้นจะถูกแสดงออกมาผ่านกราฟ โดยได้ประมวลทุกอย่างแล้ว เช่น การคาดการณ์กำไร ขาดทุน แนวโน้มของบริษัท PE มูลค่าหุ้น .... ความโลภ ความกลัว)
- กราฟที่แสดงออกมา จะแสดงทุกอย่างออกมาแล้วในรูปของ supply demand เช่น เมื่อบริษัทำท่าจะขาดทุนหนัก อย่างน้อยคนวงในที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารก็ออกมาขายหุ้น โดยที่เราอาจจะยังไม่รู้ตัว แต่ทุกอย่างจะถูกแสดงออกมาผ่านกราฟ pattern แต่ปัญหาคือเราอ่านมันออกหรือเปล่า? ซึ่งนักวิเคราห์เทคนิคจะเชื่อว่า การวิเคราะห์พื้นฐานจะช้าไป กว่าจะรอให้ผลประกอบการออกมา แล้วเอาตัวเลขมาคำนวณ นั้นอาจจะอยู่ในจุดที่มันลงมาเยอะแล้ว ส่วนนึงก็อาจจะมาจากการปกปิดข้อมูลของผู้บริหารอีกด้วย ยังมีอีกตัวอย่างนึงที่ลุงโฉลกยกตัวอย่าง แบงก์ BBC (อันนี้มั้ง) ตอนราเกซโกงเงินไป ตอนแบงก์ปิด ยังประกาศผลกำไรอยู่เลย นี้คือสิ่งที่ต้องคำนึงด้วย การโกหกของผู้บริหาร แต่สิ่งนี้ไม่สามารถโกหกผ่านกราฟออกมาได้ (เพราะถ้าผู้บริหาร คนวงในขายหุ้น แนวโน้มขาลงต้องแสดงชัดเจนผ่านกราฟ)

2. Prices Move in Trends หมายความว่า ขึ้นแล้วจะขึ้น แพงแล้วจะมีแพงกว่าอีก แต่ถ้าลงแล้วจะลงอีก ถูกแล้วจะมีถูกกว่าอีก
- ราคาหุ้นจะมีแนวโน้มเสมอ ขึ้นก็ขึ้นยาว ลงก็ลงยาว ในระหว่างขึ้นก็อาจจะมี correction ด้วยเช่นกัน แต่ยังไงระยะยาวจะมี Trend เสมอ ความเชื่อนี้ทำให้นักเล่นหุ้นเก่งๆ สร้างเป็นระบบการเทรดของตัวเองขึ้นมา เพราะถ้ายังไง ถ้าเรา Trade ถูกทางใน Trend ใหญ่เราก็จะได้กำไรกลับมา ในเรื่องรายระเอียดของดู Trend ผมจะเขียนเพิ่มอีกที

3. History Repeats itself
- เมื่อเราเห็น pattern ต่างๆ ซึ่งในอดีตมันเป็นยังไง เมื่อมันเกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน มันก็จะเป็๋นอย่างเดิมอีก นั้นหมายความว่าเมื่อเรามีระบบที่ดีแล้ว เราทำตามระบบไป มันก็ Repeat itself มันเคยเกิดยังไงก็จะเกิดอย่างนั้น แต่จากประสบการณ์ผมข้อนี้คนมักจะเอามาใช้ผิดกันเยอะ เพราะเราต้องไม่ลืมว่าเราเล่นกับ probability ความน่าจะเป็น เราไม่ควรมั่นใจจนเกินไป และอีกข้อเมื่อเราเห็นกราฟ pattern ลักษณะนึงเราก็รีบสรุปว่าเดี๊ยวมันจะต้องเกิดอย่างนี้ต่อนะ เพราะจริงๆ มันต้องดูหลายอย่างประกอบด้วยอย่างเช่น double bottom เราอาจจะต้องดู trend ใหญ่ประกอบด้วย แล้วลาก channel line ดูถึงความน่าจะเป็นของการเปลี่ยน trend ด้วย เพราะถ้าเรามองผิด double bottom ที่เราวิเคราะห์อาจจะเป็นได้แค่ 4 - 5 วันแล้วลากลงต่อยาวๆก็ได้

เมื่อเรายอมรับกฏ 3 ข้อนี้แล้ว เราก็จะมาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมกันต่อไป เพราะถ้าเราเชื่อว่าเทคนิคสามารถทำกำไรให้เราได้สม่ำเสมอแล้ว เราก็ศึกษาด้านเดียวก็พอ เพราะผมว่าเราไม่มีเวลามานักศึกษาทั้งหมด ทั้งเทคนิคและพื้นฐานมันเยอะเกินไป เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า

เราจะเอากฏ 3 ข้อนี้มาทำเป็นระบบโดย
1. Market action discount everything อยู่แล้ว เราจะเอาเฉพาะ price data มาใช้ โดยจะไม่พิจารณา fundametal เช่น ค่า P/E ตามที่ผมเข้าใจเพราะมันอาจจะทำให้สับสน ถ้า fundamental บอกว่ามันบอกว่ามันต่ำกว่าพื้นฐานเยอะแล้วให้ซื้อ แต่ระบบทางเทคนิคให้ขาย มันจะทำให้เราสับสนแล้วทำให้เราไม่สามารถเทรดโดยใช้ระบบอย่างเคร่งครัด และมีวินัยได้
2. Prices move in trends ไม่ช้อนซื้อ ถ้าระบบยังแสดงสัญญาณขายอยู่ เพราะเมื่อลง จะลงต่อ ถูกแล้วจะมีถูกอีก และไม่ Take profit เมื่อระบบยังแสดงสัญญาณซื้อ เพราะขึ้นแล้วจะขึ้นอีก
3. History repeat itself จะช่วยให้เราทำตามระบบ ได้อย่างมีระเบียบ วินัย

ต่อไปเมื่อเราตัดสินใจได้แล้วว่าเราสนใจ เทคนิค หรือ พื้นฐาน เราก็ต้องหาสไตล์การเทรดของตัวเองให้เจอ เพราะผมมองว่ามันสำคัญเช่นกัน อะไรที่ขัดกับความเชื่อเรา หรือสิ่งที่เราคิด นั้นจะทำให้เรามีคำถามต่อการเทรดทุกครั้ง และทำให้ไม่สามารถรักษาระเบียบ วินัยของการเทรดเป็นระบบได้ เรื่องของการสไตล์การเทรดผมก็ว่างจะเอามาลงใหม่ ความจริงผมว่ามันก็น่าสนใจเหมือนกัน

ก็ขอสรุปไว้เท่านี้ล่ะกันสำหรับแนวทางการคิด การเทรดของนักเทคนิค

Boyles


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น