วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำไมต้องกระจายความเสี่ยงในรูปของทอง และควรจะเท่าไหร่ดี


ทำไมต้องกระจายความเสี่ยงในรูปของทอง และควรจะเท่าไหร่ดี

วันนี้ได้หยิบหนังสือเกี่ยวกับทองขึ้นมา ซื้อไว้นานล่ะ มานั่งอ่านเล่น มีหลายๆอย่างที่น่าสนใจและอยาก Share ครับ เป็นหนังสือแปล และพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2004 ล่ะ ผมขอเขียนไปเรื่อยๆ ล่ะกันครับ เอาเฉพาะข้อความที่ชอบนะครับ
ให้จำบัญญัติเก่าแก่ที่ว่า “การศึกษาเรียนรู้เป็นลำดับแรก การลงทุนเป็นลำดับสอง”  กี่ยุค ที่สมัยก็ไม่เคยเก่าครับ ใช้ได้เสมอ ^^
ผมเพิ่งดูทีวีไปไม่นาน ก็เห็นมีนักลงทุน ที่เขียนหนังสือขายดิบขายดี บอกว่าทองไม่น่าลงทุน เพราะไม่มีปันผล วัดเป็นมูลค่าไม่ได้ หรือนักลงทุนอีกท่านก็บอกทองเป็นเครื่องประดับ เดี๊ยวก็ฟองสบู่แตก ….. แต่ผมอยากให้ก่อนที่จะเชื่อนักวิเคราะห์ นักลงทุนคนอื่น เพราะเหตุผลว่าเขาเก่ง ผมอยากให้เพื่อนๆ ศึกษาด้วยตัวเอง และลองตัดสินใจเองอีกครั้งครับ นี้ก็เป็นบทความที่ผมตัดมา ที่ชอบนะครับ
ทองคำเป็นทรัพย์สินเพียงสิ่งเดียวที่ไม่มาพร้อมกับหนี้ นี่เป็นแนวคิดสำคัญที่ต้องยึดไว้ให้มั่น เมื่อคุณถือครองพันธบัตร หุ้นปันผล ซื้อขายเงินตรา โดยพื้นฐานแล้วคุณได้ให้บุคคลหรือ สถาบันยืมเงินเพื่อให้ได้เก็บเกี่ยวผลกำไรจากเงินนั้น คุณต้องพึ่งพาคนอื่นหรือสิ่งอื่นให้ทำงานให้ หากบางสิ่งผิดพลาด คุณเสี่ยงที่จะสูญเสียมันไปทั้งหมด หรือบางส่วน
กล่าวอีกนัย ทองคำไม่ได้ให้ทองเบี้ย หรือปันผล มันไม่ได้พึงบุคคลอื่นหรือสถาบันอื่น ด้วยเหตุผลนี้มันจึงมีมูลค่าของมันเอง หากมันไม่เป็นอย่างนี้แล้ว ผู้ครอบครองมันมันคงจะเสี่ยงกับปัญหาทางการเงินแล้ว
การกระจายความเสี่ยงผู้เขียนได้แนะนำให้ กระจายความเสี่ยงประมาณ 10-30% ของทรัพย์สินของคุณ โดยไม่นับรวมที่อยู่อาศัยของคุณเอง เหตุผลหลักๆ ก็คือเรื่องวิกฤตค่าเงิน และการล่มสลายทางการเงินนั่นเอง
ความคิดของผม 10-30%  เขาหมายความถึงระดับ ของการกระจายความเสี่ยงขึ้นอยู่กับการอ่านสถานการณ์เศรษฐกิจ ว่าคุณจะมองได้ทะลุขนาดไหน โดยส่วนตัว ผมอยากให้ลงทุนเป็น ทองแท่ง (ถึงแม้คนเขียนจะแนะนำให้เก็บเป็นเหรียญทองคำ) มากกว่าจะลงทุนใน Gold Future ซึ่งเป็นสัญญากระดาษนะครับ โดยส่วนตัวผมก็เก็บเป็นทองแท่ง จะก็ยังไม่ได้เยอะนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า มันเป็นเงินจริงๆ
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ Gold นะครับ ถ้าเพื่อนสนใจ USAGOLD.com , Goldeagle.com , Kitco.com
ความคิดของผม คิดว่าไม่ว่าจะอีกนานหรือสั้นขนาดไหน เรามีโอกาสเสี่ยงกับภาวะวิกฤตค่าเงิน ซึ่งมันจะเลวร้ายกว่า hamberger crisis มากนัก แต่มันอาจจะเกิดหรือ ไม่เกิดไม่รู้ ดังนั้นทำไมเราถึงต้องเรียนรู้การกระจายความเสี่ยง ความมั่นคั่งที่แท้จริงคืออะไร ทองเป็นอย่างหนึ่งที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ศึกษา รวมถึงสินค้าการเกษตร อย่างบ้านเราที่คิดว่าอนาคตจะดีแน่นอน ถ้าดูจาก อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และพื้นที่ในการเพาะปลูก เกษตรกรรมในโลกนี้ ก็ลดลงเรื่อยๆครับ สิ่งเหล่านี้ ผมว่าสำคัญกว่าสถาบันการเงิน อย่างเช่นถึงประชากร 70-80 ทั่วโลกไม่มีหุ้นคอม หุ้น IBM หุ้นแบงก์กรุงเทพ เขาก็อยู่ได้ แต่ถ้าเขาไม่มีข้าว ไม่มีของกิน แล้วเราจะอยู่อย่างไร ผมว่าประเทศเรามีข้อได้เปรียบ นานาประเทศอีกเยอะเลยครับ
พันธบัตรรัฐบาล มั่นคงจริงหรือ???
ถ้าย้อนไป ประเทศอาร์เจนติน่า การไม่ชำระหนี้ ส่งผลอย่างมหาศาล เช่น ชายวัย 68 ปีเก็บเงินของเขาทั้งชีวิต ไปกับพันธบัตร และเงินของเขาก็ได้หายไปกับลม ….. นี้คือตัวอย่างของ ความผิดพลาด ที่เป็นข้อเตือนใจของเราว่าไม่ควรประมาทในโลกของการเงินอย่างยิ่ง
1. ตอนนี้เราก็มาดูฝ่ายที่สนับสนุนนโยบายลดค่าเงิน เมื่อถึงที่สุด อเมริกาจะละเลยหนี้ (มีความเป็นไปได้ ดูจากระดับหนี้ของเมกา) โลกทางการเงินจะเกิดโกลาหล ทองคำจะเป็นสินทรัพย์สุดท้ายที่พึ่งได้ เมื่อถึงตอนนั้น ทองคำน่าจะขึ้นไปหลายพันดอลล่าเลยทีเดียว
2. อีกฝ่ายค้านการลดค่าเงิน นั่นคือ ให้ธนาคารกลาง พิมพ์แบงก์ไม่เรื่อยๆ เพื่อเป็นการผลักภาระไปที่สินค้าอุปโภค บริโภค ภาวะเงินเฟ้อก็จะประสานตัวของมันเอง สถานการณ์จะแย่ไปอีก เงินเฟ้อที่จะเหนือการควบคุม และทองก็จะขึ้นไปแบบติดจรวด
ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไหน ทองก็มีแนวโน้มจะขึ้นอยู่ดี อย่าลืมนะครับ ผู้เขียน เขียนมาตั้งแต่ปี 2004 ตั้งแต่ทองอยู่ที่ 400 ดังนั้นผมไม่ได้บอกว่าจะเกิดเหตุการณ์เลวร้ายอันใกล้ แต่เป็นมุมมองให้เรากระจายความเสี่ยงในโลกของการเงิน ที่ซับซ้อน และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตครับ ดังนั้นทองคำจึงเป็นทรัพย์สินที่ ถูกแนะนำให้ถือเพื่อกระจายความเสี่ยง
ในหนังสือเล่มนี้ มีข้อความที่ดีมากเลยครับ เขาบอกว่า การวางแผนพอร์ตของคุณให้เหมาะสมนั้น ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจทองคำ  แต่บางทีพวกเขาก็สับสนมากกว่าที่จะให้ความช่วยเหลือ บ่อยครั้งที่เขาแนะนำนั้นมันเป็นสิ่งที่ต้องทำ เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพวกเขามากกว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ^^ เวลาไปฟังสัมมนา ต้องระวังให้มากๆนะครับ เรื่องพวกนี้ ในหลายๆที่ คำนึงผลประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก และเราก็มีโอกาสเป็นเหยี่อจากความไม่รู้ ก็ให้เพื่อนๆระวังกันด้วยนะครับ
เพื่อที่จะเริ่มต้น ให้พิจารณาถ้อยคำที่จารึกไว้เหนือประตูทางเข้าวิหารของเทพยากรณ์เดลฟี่ จงรู้จักตนเอง (know thyself) คุณต้องรู้ก่อนว่าทำไมคุณต้องครอบครองทองคำ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเก็งกำไร หรือป้องกันความหายนะของโลกการเงิน จงศึกษา ค้นคว้า และคุณจะมีความมั่นใจมากกว่า มีความสุขมากกว่าที่ได้เป็นนักลงทุนในทองตำไปอย่างยาวนาน
การลงทุนหุ้นเหมืองทอง และการลงทุนในทอง สิ่งที่แตกต่าง เขาได้ยกตัวอย่างการลงทุนในหุ้น คือการให้ความสำคัญกับหุ้นมากกว่า อย่างในตัวอย่าง 1929, 1935, 187 หุ้นเหมืองทองก็หกคะเมน ตีลังกา ไม่เป็นท่า ถึงขึ้นล้มละลายด้วย ดังนั้นบริษัทพวกนี้ ไม่ได้มีส่วนได้ ส่วนเสียกับทองที่ขึ้นมาอย่างมหาศาลเลยครับ
นี้เป็นรายละเอียดเบื้องต้นที่จะนำไปเพื่อการศึกษาต่อนะครับ ถ้าใครสนใจก็ลองหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม ผมคิดว่าไม่น่าเสียเวลาหรอกครับ
หวังว่าคงมีประโยชน์นะครับ
boyles
Ref: The ABCs of gold investing ใครสนใจก็ไปหามาอ่านนะครับ มีทั้งไทย และอังกฤษครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น