วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Richard Donchian บรรพบุรุษของเหล่า Trend follower

Richard D. Donchian คือใคร ?

Richard D. Donchian เป็นนักเล่นหุ้นที่ได้รับการยอมรับอย่างมากของ Wall Street เขาเริ่มต้นชีวิตในวงการตลาดหุ้นเมื่อปี 1930 และเริ่มมาประสบความสำเร็จอย่างจริงจังในการเป็นนักเล่นหุ้นเมื่อปี 1974 ครับนั่นหมายถึงความเพียรพยายามศึกษาอย่างยาวนานจริงๆ และสิ่งที่ Donchian ได้ค้นพบนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต่อวงการ การเก็งกำไร และ วงการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคอย่างมากมาย

Donchian คือคนที่ทำให้วงการตลาดหุ้นสั่นสะเทือนเพราะเขาคือ “บิดา” หรือผู้ที่ทำให้ เทคนิคการเล่นหุ้นแบบ Trend Following (การเล่นหุ้นตามแนวโน้ม) ได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และสำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจว่า Trend Following คืออะไร อธิบายง่ายๆก็คือ การเล่นหุ้นภายใต้สมมุติฐานที่ว่าราคาของหุ้นจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มหลักของมันจนกว่าแนวโน้มหลักของมันได้เปลี่ยนแปลงไป นั่นเองครับ ซึ่งก็เป็นหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่พวกเราต้องจำให้ขึ้นใจนั่นเองครับ และ Donchian นี่เองแหละครับที่เป็นคนริเริ่มพัฒนาเทคนิคการเล่นหุ้นที่เป็นที่นิยมอย่างมากของพวกเราในปัจจุบัน นั่นก็คือ การเล่นหุ้นด้วยระบบ การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือ Moving Average นั่นเองครับ (หรือใครจะเถียง ? หุหุ) และสุดท้ายนี้เองถ้าใครได้อ่านบทความเกี่ยวกับ กลุ่มเซียนเต่า The Turtle Trader แล้วผมก็จะขอบอกอีกว่านี่ก็คือ หนึ่งในอิทธิพลของ ปรมจารย์การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิครายนี้ครับ...... Richard D. Donchian.

และนี่ก็คือเพชรจากกรุสมบัติชิ้นแรกของปรมจารย์คนนี้ซึ่งผมก็ไปขุดกันมาให้ได้อ่านกันครับ ซึ่ง Donchian เขียนขึ้นในครั้งแรกเมื่อปี 1934 และเมื่อเขาได้กลับมาปรับปรุงใหม่อีกครั้ง เขาได้ให้ข้อสังเกตุว่า หลักการข้อที่ 1,2,3,4 และ 5 นั้นเป็นข้อที่สำคัญที่สุดครับ

แนวทางการเล่นหุ้นของ Donchian

1. จงระวังการตัดสินใจของคุณ จากข้อมูลข่าวสารที่เป็นที่กล่าวขานและเข้าถึงกันได้ทั่วไปจากมวลชน เพราะถึงแม้มันจะถูกต้อง มันจะทำให้การเคลื่อนตัวของราคาไปได้ไม่ไกล และช้าลง

2. ในช่วงเวลาที่ตลาดเงียบเหงานั้น จงคอยเตรียมพร้อมที่จะเกาะไปกับแนวโน้มที่มาพร้อมกับโวลุ่ม หรือปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

3. จำกัดการขาดทุน และ ปล่อยให้หุ้นวิ่งไปเพื่อทำกำไรก้อนโต ไม่ต้องไปคิดถึงสิ่งอื่นนอกจากนี้

4. เมื่อตลาดกำลังผันผวน อย่าเชื่อมั่นและทุ่มเทในสิ่งใดเกินไป แนวโน้มที่ชัดเจนนั้น จะเกิดขึ้นบ่อยพอที่จะทำให้ชีวิตเราได้ตื่นเต้น และจงทุ่มเทลงไปเมื่อมันได้เกิดขึ้น การกระทำอย่างนี้จะทำให้เรา สามารถลดการขาดทุนจาก Whipsaw หรือ Error ของตลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างมากมาย

5. ระวังในการเข้าซื้อขาย อย่าด่วนเข้าซื้อเมื่อแนวโน้มได้เกิดขึ้นมาเกิน 3 วันจงรอ การกลับตัวลงมา

6. การใช้ Stop loss หรือการคุมต้นทุนอย่างรอบคอบเป็นสิ่งที่มีผลต่อการเล่นหุ้นให้ได้กำไร และจุด Stop loss นั้นสามารถนำมาใช้เพื่อการปกป้องกำไรของคุณได้เช่นกัน
ต้องรู้จักการจำกัดการขาดทุนและเข้าซื้อ-ขายจากรูปแบบpattern ที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำต่างๆของราคาหุ้น เช่น รูปแบบ สามเหลี่ยม
Stop หรือจุดตัดขาดทุนจะมีค่า และเชื่อถือได้มากขึ้นหากใช้ร่วมกับ รูปแบบการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือ

7. ในเวลาที่การเคลื่อนใหวของตลาดหุ้นนั้น เคลื่อนขึ้น หรือลง ในระยะพอพอๆกัน เราควรทุ่มเงินลงในตลาดขาขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลทาง สัดส่วน Percent ของกำไร เช่น หุ้นลงจาก 50 ลงมาถึง 25 จะเท่ากับ 50% แต่หากหุ้นขึ้นจาก 25 ไป 50 จะเท่ากับ 100%

8. ในการเข้าซื้อ การตั้งราคารอ นั้นยอมรับได้ แต่เมื่อถึงเวลาขาย ต้องขายทันที ( โยนทิ้งไปเลยครับ )

9. ซื้อหุ้นที่แข็งแกร่ง ทั้ง ราคา, แนวโน้มของหุ้น และปัจจัยพื้นฐาน และ ต้องขายหุ้นเน่าๆอ่อนแอ ทิ้งไปซะ

10. การเคลื่อนของตลาดที่มีกลุ่ม Rails (ขนส่งทางรถไฟ) เป็นตัวดันนั้นน่าสนใจมากกว่าการเคลื่อนที่ที่กลุ่ม Rails นั้นไม่ดันขึ้นไปด้วย ( ประยุกต์หน่อยก็คือ ตลาดที่เคลื่อนไปด้วยแรงดันของหุ้น Big Cap ทั้งหลายจะน่าสนใจกว่า ดันตัวเล็กๆปั่นขึ้นมาเล่น นั่นเองครับ)

11. การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของหุ้นแต่ละตัว และความแข็งแกร่งของบริษัทนั้นๆเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค (พื้นฐานและกราฟ ควรไปด้วยกันนั่นเอง สังเกตุได้จากอดีตพวกตัวนำตลาดต่างๆไงครับ)

นี่เป็นกรุสมบัติชิ้นแรกของ Richard Donchian ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ ปี 1930 ก็จบแล้วนะครับถ้าคุณอ่านแล้วรู้สึกว่ามัน Basic เหลือเกินก็ขอให้นึกไว้นะครับว่านี่คือ กฏหรือ หลักการที่อยู่มานานจะ 100 ปีอยุ่รำไร ผ่านการทดลองมาแล้วหลายรุ่นถ้าไม่ดีจริงคงไม่หลุดมาถึงตรงนี้อย่างสมบูณณ์ เพียงแต่ว่าเราจะนำมาใช้ได้ดีแค่ใหนเท่านั้นเองนะผมว่า

cแหล่งที่มา www.mangmaoclub.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น