วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัมภาษณ์ Ed Seykota สุดยอด System Trader 2 แสน % profit

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น : Ed Seykota สุดยอด System Trader

ขอแปะบทสัมภาษณ์ Ed Seykota เซียนหุ้นที่เล่นหุ้นเป็นระบบจนรวยมหาศาล และยังเป็นผู้บริหารกองทุนของเขาเองด้วยครับ น่าสนใจแค่ใหนนั้นลองคิดเอาเอง บทสัมภาษณ์นี้ผมนำมาจากนิตยสาร Stock and Commodities เมื่อปี 1992 โดยจากปี 1972 ที่เขาเริ่มบริหารกองทุนนั้นหากเรามีเงินอยู่ในกองทุนของเขา ในปี 1992 นี้คุณจะมีกำไรถึง 250,000% หรือ 2,500 เท่าทีเดียวครับ เรามาศึกษาแนวคิดของ Ed Seykota กันดีกว่าครับ

Q: คุณเริ่มรู้จักกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคได้อย่างไร ? และคุณเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ ?

A: เท่าที่ผมจำได้ ผมเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 5ขวบ และผมเริ่มสนใจการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคตั้งแต่ยังเด็กเช่นกัน โดยเมื่อตอนนั้นผมอายุประมาณ 9 ขวบผมมีเครื่องเล่นวิทยุอยู่เต็มห้องไปหมด ผมมีเครื่องทดสอบวิทยุ และ เครื่องวัดปริมาณไฟฟ้าoscilloscopes อยู่หลายเครื่องเช่นกัน ซึ่งมันทำให้ผมชอบเล่นมันให้มันสร้างภาพคลื่นกราฟขึ้นมา หลังจากนั้นเมื่อผมอายุ 13 ปี พ่อของผมเริ่มสอนให้ผมรู้จักกับวิธีการเล่นหุ้น โดยบอกผมว่า ผมควรที่จะเริ่มเข้าซื้อหุ้นเมื่อราคาของมันวิ่งออกจากกล่องและทะลุแนวต้านขึ้นไป และให้ขายเมื่อมันหลุดแนวรับลงมา นั่นคือจุดเริ่มต้นการเล่นหุ้นของผมครับ

Q: นี่คือสิ่งที่นำพาคุณมาสู้การเล่นหุ้นไช่ใหม และมันทำให้คุณเข้ามายุ่งเกี่ยวกับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยรึปล่าว ?

A: จริงแล้วก็ไม่นะครับ เมื่อผมเรียนมหาวิทยาลัยผมเข้าศึกษาที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) โดยที่ผมนั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Servo Theory ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของระบบการควบคุมตนเอง อย่างเช่นระบบสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการควบกลไกของร่างกาย โดยที่ศาสตราจารย์ Jay Forrester ได้แสดงให้ผมเห็นว่าเราสามารถนำ Servo Theory มาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลอง Model ทางเศรษฐศาสตร์ได้เช่นกัน โดยที่เราต้องใช้การสังเกตุ และความคิดคำนวนอย่างลึกซึ่งเพื่อให้รู้ว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไร

Q: ถ้าอย่างนั้นคุณเริ่มหันกลับมาสนใจในการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคอีกครั้งได้อย่างไรครับ ?

A: หลังจากที่ผมเรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของ Richard Donchian ซึ่งได้จุดประกายให้ผม โดยการที่เขาได้แสดงให้เห็นว่า การเล่นหุ้นโดยรู้จักกระจายความเสี่ยงควบคู่ไปกับการใช้ระบบ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วัน(25 days moving average) นั้นทำให้ได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ นั่นจึงทำให้ผมตัดสินใจซื้อเวลาใช้เครื่องคอมกับร้านคอมพิวเตอร์ โดยผมใช้เวลาในช่วงหัวค่ำนำข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Wallstreet Journal มาทดลองเลียนแบบระบบของ Richard Donchian อีกครั้งโดยที่ผมได้ลองเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆและพบว่ามันได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน ซึ่งผมยังได้พบว่า การเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ โดยใช้ Longer-Term Trend นั้นให้ผลตอบแทนที่ดีมากๆ โดยที่การเล่นหุ้นระยะสั้นเกินไปจะทำให้ค่าคอมมิสชั่นกินผลตอบแทนไปมาก

Q: แล้วหลังจากนั้นล่ะ คุณทำอย่างไรต่อ ?

A: หลังจากนั้นในช่วงต้นปี 1970 ผมได้เข้าทำงานกับบริษัทซึ่งเป็นสาขาย่อยของโบรคเกอร์แห่งหนึ่ง ช่วงนั้นผมได้ใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์ ใช้คอมพิวเตอร์ทดสอบแบบจำลองของผมอีกครั้ง โดยในคราวนี้ผมได้ลองทดสอบระบบถึง 4 ระบบโดยมีค่าตัวแปรต่างๆประมาณ 50 ตัวโดยทดสอบย้อนหลังไปเป็นเวลา สิบๆปีกับหุ้น 8 ตัว ซึ่งนั่นทำให้ผมใช้เวลาไปถึงปีครึ่งกว่าจะเสร็จ นี่คือสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าคอมพิวเตอร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปไวมาก โดยขณะนี้ผมอาจใช้เวลาแค่เพียงสองวันเท่านั้น (ถ้าเป็นตอนนี้ผมว่าชมเดียวก็เกินพอแล้วครับ หุหุ)

Q: แล้วคุณทำอย่างไรกับผลการทดลองนั้นต่อ ?

A: ครับ โดยในที่สุดบริษัทแม่ของผมก็นำผลการทดลองของผมไปเป็นส่วนหนึ่งของการขายบริการ ปัญหาก็คือ เจ้านายของผมไม่สามาถควบคุมตนเองให้ทำตามระบบนั้นได้ และเจ้านายของเจ้านายผมก็สนใจที่จะทำเงินกับมันจากการ ขายบริการข้อมูลเพื่อค่าคอมมิสชั่นมากกว่าที่จะใช้มันเล่นหุ้น ซึ่งผมได้บอกกับเขาว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการนำมันไปเล่นหุ้นเพื่อลูกค้าของพวกเขา ไม่ไช่การกินค่าคอมมิสชั่น แต่ยังไม่จบแค่นั้น เจ้านายของผมกลับเดินเข้ามาแสดงความยินดี แล้วบอกผมว่าผมจะได้เงิน 10% จากค่าคอมที่ระบบของผมสามารถทำเงินให้จากการขายบริการให้พวกเขาได้ ซึ่งมันทำให้ผมเซ็งมาก และตัดสินใจออกจากที่นั่น

เมื่อผมอายุ 23 ปี ผมหันมาเล่นหุ้นด้วยเงินของตนเองด้วยเงินเพียงเล็กน้อยประมาณ 10,000-25,000 เหรียญ หลายปีต่อมาผมได้กลับไปเยี่ยมบริษัทแห่งเดิมของผม และมันเต็มไปด้วยมาร์เก็ตติ้งหลายคนที่ทำเงินค่าคอมมิสชั่นได้จากการนำระบบของผมมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย อย่างไรก็ตามผมกลับมีเงินมากกว่าที่บริษัทผมมีเสียอีก ซึ่งนั่นมาจากการเล่นหุ้นของผมเอง ผมรู้สึกดีเป็นอย่างมากที่ผมได้ออกมาจากบริษัทที่หวังแต่จะกินค่าคอมมิสชั่นแห่งนั้น

Q: หลังจากนั้นล่ะ ?

A: ผมก็ยังทำการทดลองใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ ยังคงศึกษาตลาดอยู่เช่นเคย และยังคงเล่นหุ้นด้วยเงินของผมเอง

Q: อะไรคือความลับแห่งความสำเร็จของคุณ ? อะไรคือปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญสำหรับการเล่นหุ้น ?

A: ความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ มันไม่มีความลับอะไรทั้งนั้น หรือถ้ามันจริงผมก็คงยังไม่พบมันเช่นกัน ผมคิดว่าความคิดของการที่จะพยายามหาสูตรสำเร็จในการเล่นหุ้นนั้นเป็นความคิดที่ผิดทางไป มันเหมือนกับการเล่นกอล์ฟนั่นแหละ นักกอล์ฟบางคนเล่นเพื่อแค่ค่าเวลานอกบอก พวกเขาชวนเพื่อนๆไปเล่นกัน ไปสัมผัสธรรมชาติ ไปชมวิว ไปออกกำลังกาย และหวังว่าจะได้เบอร์ดี้ สักครั้งสองครั้ง และสำหรับอีกหลายๆคน มันคือการพยายามจะหาสูตรสำเร็จในการตีกอล์ฟไป ต่างคนก็ต่างเล่นไป

Q: ถ้าอย่างนี้ อะไรที่คุณคิดว่าจะทำให้นักเล่นหุ้นทั่วๆไปสามารถประสบความสำเร็จได้ ?

A: การเล่นหุ้นนั้นง่าย คุณแค่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาและสั่งซื้อขายไป แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเล่นหุ้นนั้นสิที่ยากกว่า มันเหมือนกับการจะเป็นนักกีฬา คุณต้องตั้งใจและทุ่มเทเพื่อเป้าหมายของคุณ เมื่อคุณทุ่มให้มันสิ่งต่างๆจะเข้ามาช่วยคุณเอง สิ่งต่างๆที่คุณเห็นและไม่สามารถเห็นได้จะช่วยผลักดันให้คุณไปถึงความฝัน

Q: นักเล่นหุ้นรายย่อยทั่วไปนั้น ควรที่จะทุ่มเทเวลาเพื่อการพัฒนาทักษะการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ หรือ ใช้เวลาพัฒนาการเล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณของพวกเขา ?

A: ผมคิดว่าวิธีการเล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณ นั้นมีส่วนสำพันธ์กับการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ นักเล่นหุ้นที่เล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณนั้นเล่นหุ้น ก็เล่นหุ้นด้วยกฎหรือระบบ และความคิดที่อยู่ภายในใจของเขา แต่ผมก็เห็นว่าการเล่นหุ้นด้วยระบบนั้นก็มีส่วนสัมพันธ์กับการเล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณด้วยเช่นกัน นักเล่นหุ้นด้วยระบบนั้น ต้องใช้สัญชาติญาณในการที่จะเลือกหนทางในการเดินไปข้างหน้า การลด-เพิ่มหน้าตัก หรือแม้กระทั่งการเลือกถือหรือขายหุ้นตัวใดออกไป

ที่ผมกำลังจะบอกก็คือ จริงๆแล้วมันไม่มีข้อแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่างนี้หรอก นักเล่นหุ้นที่มีเหตุผลคือคนที่เล่นหุ้นอย่างมีสติในการบริหารความเสี่ยง รู้จักใช้ Money Management พวกเขาจะสนใจระบบเศรษฐกิจทั้งมหาภาคและจุลภาคอยู่ในใจ พวกเขาคือคนที่รู้จักตัวของตัวเอง และรู้จักสร้างสภาพจิตใจที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวพวกเขา

Q: ถ้าหากคุณไม่ได้ใช้วิธีการเล่นหุ้นด้วยระบบ คุณจะมีกฏการเล่นหุ้นของคุณเองใหม และมันจะเป็นอย่างไร ?

A: ผมมีกฎของผม และกฏเบื้องบนไว้ใช้ในใจของผมอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เล่นหุ้นแนวโน้มใหญ่ ตัดขาดทุนให้เร็ว ปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไร และเสี่ยงเท่าที่คุณจะทนใหวแล้วรู้จักพอ !

Q: กฏเบื้องบน หมายความว่าอย่างไรครับ ?

A: สำหรับผม กฏเบื้องบน และกฏของผมมีส่วนช่วยในการเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก กฏเบื้องบนนั้นก็คือ ความทุ่มเทและความใส่ใจจะทำให้ประสบความสำเร็จ มันยังมีกฏเบื้องบนที่ทำให้ความโลภและความเห็นแก่ตัวไม่อาจต้านทานได้ ผมจะรู้สึกว่าผมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฏเบื้องบนเหล่านี้ได้เองเมื่อสิ่งต่างๆดำเนินไปอย่างเข้าที และเมื่อผมทำตามกฏเบื้องบนแล้ว กฏการเล่นหุ้นของผมมันกลายเป็นสิ่งที่แทบไม่มีความหมายเลย

Q: คุณคิดว่าราคาหุ้นวิ่งไปอย่างไม่อาจคาดเดาได้หรือไม่ ? มีอะไรเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของแนวโน้มต่างๆหรือไม่ ? อะไรทำให้ราคาเคลื่อนใหวออกไป ?

A: ผมคิดว่า เมื่อเราอุทานว่า AHAAA! นั่นแหละคือหัวใจของการเปลี่ยนแปลงของราคา ยกตัวอย่างเช่น คุณลองสังเกตุอักษรพวกนี้ หหสสหหปป อะไรคือตัวต่อไป ? (คุณผู้อ่านคงจะงง ไช่ใหมครับ ผมก็งงเช่นกันตอนอ่านครั้งแรก กว่าจะรู้ก็ อ๋อออ แล้วแต่ถ้าทีนี้ลองคิดว่ามันเป็นอักษรแรกของตัวเลขสิครับ หนึ่ง ,สอง, ห้า เริ่มอ๋อออ แล้วไช่ใหมครับ ) และเมื่อคุณเริ่ม Ahaaa หรือร้อง อ๋อ แล้วสิ่งต่างๆ ที่เป็นปริศนา และความงุนงงจะเริ่มหายไป
เมื่อเรารู้สึกว่า Ahaa หรือ อ๋ออ นี่แหละที่ผลักดันให้ราคาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อคุณอ่านหนังสือพิมพ์ระหว่างที่หุ้นเริ่มกลายเป็นขาขึ้น จะยังไม่มีใครเข้าใจว่าทำไม มันจะมีความสับสันเต็มไปหมด หลังจากนั้นเมื่อหุ้นเริ่มเคลื่อนที่ไป บางคนจะเริ่มเข้าใจถึงเหตุผล เมื่อถึงจุดจบ ทุกคนจะร้องอ๋อเข้าใจเหตุผลแล้ว และนั่นทำให้ความสงสัยต่างๆหายไปเป็นผลทำให้มาถึงจุดจบของหุ้นขาขึ้นนั่นเอง

Q: Ahaa เหรอ ผมจะลองเอากลับไปคิดดูครับ ทีนี้คุณลองบอกได้ใหมว่าคำกำหนดจุดตัดขาดทุนอย่างไร ?

A: ผมจะกำหนดมันก่อนซื้อหุ้น ผมจะตั้งไว้ในจุดที่กราฟเสียรูปไป

Q: หนังสือหุ้นเล่มใหนคือหนังสือหุ้นที่คุณชอบ และคิดว่านักเล่นหุ้นทุกคนควรอ่านมัน ?

A: จากประสบการณ์การเล่นหุ้นที่ผ่านมาหลายปี ผมได้สั่งสมความรู้ มุมมอง ทักษะ และแรงบันดาลใจต่างๆจากหนังสือหลายๆเล่ม สำหรับหนังสือหุ้นไม่กี่เล่มที่ผมชอบเป็นพิเศษนั่นก็คือ Extraordinary Popular Delusions ของ Charles McKay, หนังสือหุ้น Reminiscences of Stock Operator โดย Edwin LeFever และหนังสือหุ้น The Crowd ของ Gustare Le Bon ครับ

แหล่งที่มา www.mangmaoclub.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น