วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

Trailing Stop จุดขายสำคัญ ไฉนจะปล่อยให้กำไรเราหายทำไม

ถ้าเล่นหุ้นแล้ว ไม่ศึกษาเรื่อง Stop loss หรือ Stop profit นั้นเราคงยากจะประสบความสำเร็จครับ ผมไปหาข้อมูลมา ก็เห็นว่ามีอยู่เว็บเดียวที่เป็นของไทย แล้ว อธิบายได้ดีมาก คือ เว็บของคุณมดครับ เดี๊ยวเรามาเรียนรู้กันครับ มาดู VDO การ Stop อย่างง่ายครับ


ต่อไปเราจะมาเข้าสู่ advance ขึ้นครับ

Trendline_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้นว่าด้วยเรื่องของการตัดขาดทุนและรักษากำไรด้วย Trailing Stop

คนที่เข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นส่วนใหญ่นั้น เมื่อได้นำวิชาการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค(Technical Analysis) มาใช้นั้นมักจะเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับพยายามหาวิธีการซื้อหุ้น(Buy Signal)ที่มีความแม่นยำที่มากที่สุด หรือไม่ก็ให้กำไรสูงสุด แต่เราอาจไม่เคยรู้หรือเคยได้ยินว่า เมื่อเรามองถึงการเก็งกำไรในระยะยาวแล้ว การขายหุ้นนั้น จริงๆแล้วมักมีความสำคัญกว่าการเข้าซื้อเสียอีกครับ

โดยเมื่อเราพูดถึงเรื่องของการตัดขาดทุนกันนั้น ผมพบว่าคนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งจุดตัดขาดทุนของตนเองอยู่พอสมควร จะว่าไปแล้ว ปัญหานี้อาจไม่เกิดขึ้นโดยเหตุผลเพราะว่าเราไม่รู้ถึงวิธีหยุดการขาดทุนกัน แต่ผมมองว่า บางทีแล้ว การใช้ระบบการตัดขาดทุนที่ใช้อยู่นั้น อาจไม่เหมาะสมหรือเข้ากันกับสภาพจิตใจ และความเชื่อของแต่ละคนก็เป็นได้ครับ ปัญหาที่ตามมาจึงกลายเป็นการขาดวินัยในการลงทุนหรือเก็งกำไรที่เกิดขึ้นเสมอๆนั่นเอง

รูปแบบหรือระบบการตัดขาดทุนที่วันนี้ผมจะเขียนแนะนำนั้น ผมจะขอยกมาเฉพาะแต่จุดตัดขาดทุนที่จะเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Trailing Stop) นะครับ เพราะช่วยให้เราสามารถใช้จุดตัดขาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งในการตัดขาดทุน(Stop Loss) และปกป้องกำไร(Protect Profit)ครับ ทั้งนี้นั้น ขอให้นึกเสมอว่าไม่มี Sure Thing ในตลาดหุ้น อยากให้มองเป็นความน่าจะเป็นหรือ Probability เสียมากกว่า เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ได้แน่ๆว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต และต่อให้รู้ ก็ใช่ว่าจะรู้ว่าเหตุการณ์นั้นๆจะส่งผลกระทบต่อตลาดหรือราคาหุ้นได้อย่างถูกต้องทุกครั้งครับ ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ มองว่ามันคือการนำมาใช้เพื่อจำกัดการขาดทุนของเราให้น้อยกว่ากำไรที่เราหามาได้น่าจะดีกว่า เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกเสียดายของหรือไม่กล้าตัดขายออกไป ซึ่งจะเป็นผลลบต่อพอร์ทในระยะยาวแน่ๆครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

รูปแบบแรก Ruler Trailing Stop หรือใช้การวัดด้วยไม้บรรทัด

รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ Ruler Trailing Stop นี้ จะว่าไปแล้วก็น่าจะเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดยุคพระเจ้าเหาเลยก็ได้ครับ วิธีการนี้ผมค่อนข้างเชื่อว่ายุคนี้คงไม่มีใครนำมาใช้อีกแล้ว เพราะไม่สะดวกเอาอย่างมาก แต่ขอนำมาเล่าให้ฟังครับ

วิธีการก็คือ นำราคากราฟมา print ออกมา แล้วหาจุดสูงสุด-ต่ำสุดหรือ Trading Range ในช่วงคาบเวลาที่เราต้องการจะเก็งกำไรครับ เช่นหา High-Low ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แล้วหาระยะห่างขอมันออกมา ผลที่ได้คือระยะที่เป็นเซนติเมตรหรือเป็นนิ้วครับ แล้วนำระยะความกว้างตรงนี้มาวัดจากจุดสูงสุดภายใน 3 เดือน(คาบเวลาที่เราเลือกเทรด) ไล่ขึ้นไปตามราคาของหุ้นเรื่อยๆครับ

ข้อดี:

ระยะที่เราได้มาจะมีความผันแปรไปตามความผันผวน(Volatile) ของหุ้นแต่ละตัวครับ เช่นหากหุ้นเหวี่ยงไปมามากๆเราก็จะได้ระยะที่ค่อนขว้างกว้างกว่าหุ้นที่ผันผวนน้อยๆนั่นเอง

ข้อเสีย:

มันขาดความสะดวกในการนำมาใช้อย่างแรงแน่นอนครับ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ระยะที่วัดได้มานี้จะตายตัว ไม่อิงตามสภาพที่เปลี่ยนไปของตลาด หรือตามราคาของหุ้น เช่น หากว่าเราได้ระยะเท่ากับ 1 นิ้ว โดยระยะหนึ่งนิ้วนี้ ในวันที่เราวัด มันมีค่าเท่ากับ 1 บาท โดยราคาหุ้นขณะนั้นอยู่ที่ 10 บาท นั่นเท่ากับว่าเราตัดขาดทุนที่ 10% เมื่อเริ่มต้น แต่เมื่อราคาหุ้นขยับสูงขึ้นมากเรื่อย ระยะที่เราใช้อยู่จะทำให้เราตัดขาดทุนเร็วขึ้น เช่น เมื่อมันวิ่งไปที่ 20 บาท ระยะ 1 นิ้วที่เท่ากับ 1 บาท จะทำให้เราตัดขาดทุนที่ 5% แทนนั่นเองครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

การตัดขาดทุนแบบ Dollar Stop หรือตามช่วงราคาที่เรากำหนดเอาไว้

Dollar_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

การตัดขาดทุนแบบ Dollar Stop นี้ ค่อนข้างจะมีความคล้ายคลึงกับ Ruler Stop เป็นอย่างมากครับ ต่างกันตรงที่ เราไม่ได้วัดค่าเริ่มต้นจากไม้บรรทัดนั่นเอง โดยที่เราจะกำหนดไว้ที่ช่วงราคากว้างแค่ไหนนั้น ส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างจะเป็นความเชื่อและความสบายใจส่วนตัวของแต่ละคน เช่นบางคนบอก 5 ช่องขาย บางคนบอก 10 ช่อง หรือบางคนบอกลงมา 10 บาทก็ขายครับ โดยวิธีใช้ก็คือ เมื่อเข้าซื้อแล้วก็กำหนดจุดตัดขาดทุนเริ่มต้นเอาไว้ เช่น หุ้นราคา 200 บาท เราก็ตั้งไว้ที่ 5 บาท หากวิ่งลงมามากกว่านี้ก็ขาย แต่หากหุ้นวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆก็ยกขึ้นไปตามจุดสูงสุดของมันครับ

ข้อดี:

วิธีนี้มีข้อดีตรงความง่ายในการใช้ โดยไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมากครับ เหมาะกับการนำไปใช้กับคนที่เล่นหุ้นอยู่แค่ตัวเดียวและชินกับสภาพการเคลื่อนไหวของมัน โดยเท่าที่เห็นมักจะใช้ในการเล่นสั้นๆแบบ Day Trade หรือ Swing ครับ

ข้อเสีย:

เช่นเดียวกับ Ruler Stop ครับ มันค่อนข้างตายตัวกับระดับราคา เพราะเมื่อระดับราคาของหุ้นเปลี่ยนไปสูง หรือต่ำลงเรื่อยๆ มันจะไม่อิงกับตลาด

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

การตัดขาดทุนแบบ Percentage Trailing Stop หรือตามร้อยละของราคา

Percentage_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

วิธีการตัดขาดทุนในรูปแบบนี้นั้นมีคนนิยมใช้กันพอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่ทำการลงทุนแบบผสมผสานระหว่าง Technical Analysis และ Fundamental Analysis แต่ทั้งนี้ เราก็สามารถนำมันมาประยุกต์ใช้กับการเล่นระยะสั้นและกลางได้เช่นเดียวกัน เพราะมีความง่ายรวดเร็วครับ ผมเห็นว่านักลงทุนและนักเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่ก็มีใช้วิธีนี้กันเยอะเช่นกันครับ ทั้งนี้สามารถประยุกต์ใช้กับ Money Management ได้ง่ายๆเช่นกันตามสูตรนี้ เพื่อหา Position Sizing ที่เราควรซื้อ

Position Size(%) = (% of Position Risk/% of Trailing Stop)*100

โดย % of Position Risk คือ อัตราส่วนการขาดทุนที่เราจะยอมเสียของเงินทั้งพอร์ท และ % of Trailing Stop คือ ร้อยละที่เราต้องการจะตัดขาดทุน เช่น เราต้องการควบคุมความเสี่ยงต่อ Position หรือการลงทุนแต่ละครั้งที่ 2% โดยกำหนดจุดตัดขาดทุนที่ 10% ของราคาหุ้น เราจะได้สัดส่วนหุ้นที่ควรซื้อทั้งหมด = (2/5)*100 = 40% ของเงินทุนทั้งหมดนั่นเอง

ข้อดี:

ง่ายต่อการใช้ และง่ายต่อการควบคุมความเสี่ยงที่เราต้องการเช่นกัน ใช้ร่วมกับการลงทุนแบบผสมผสานได้เป็นอย่างดี

ข้อเสีย:

ไม่มีความยืดหยุ่นเท่าที่ควรในการเก็งกำไร เนื่องจากหุ้นแต่ละตัวย่อมมีความผันผวนต่างกัน หากเรากำหนดระดับความเสี่ยงน้อยเกินไป หุ้นจะหลุดมือเอาได้ง่ายๆ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

การตัดขาดทุนแบบ High-Low หรือจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด(Support-Resistant)

Peak&Through_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

วิธีการตัดขาดทุนแบบนี้นั้น น่าจะมีพื้นฐานมาจากทฤษฏีดาวน์ หรือ Down Theory ที่ทุกคนรู้จักกันดี นั่นก็คือ การให้ความหมายของคำว่า ขาขึ้นนั้น คือการที่ราคาหุ้นสามารถทำจุดสูงสุดขึ้นไปเรื่อยๆ และขาลงนั้น คือการที่ราคาหุ้นจะไหลลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิมเรื่อยๆนั่นเอง ส่วนภาวะ Side way ก็คือการที่มันอยู่ในกรอบของจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดนั่นเองครับ

ข้อดี:

วิธีการนี้นั้น จะทำให้เรามีหุ้นอยู่เมื่อตลาดเป็นขาขึ้นและเคลื่อนไหวออกข้าง และพอร์ทจะว่างอยู่เมื่อตลาดกลายเป็นขาลงเท่านั้น และเมื่อตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆเราจะไม่ต้องซื้อๆขายๆบ่อยเกินไปนั่นเอง วิธีการนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมเพราะมัน Dynamic ไปตามการเคลื่อนไหวของตลาด มักใช้กับพวก Trend Following ในระยะกลางๆถึงยาวครับ

ข้อเสีย:

เนื่องจากใจของคนเรามันไม่เท่ากัน ดังนั้น เมื่อเราให้ความหมายหรือ Define ว่าจุดสูงสุดหรือต่ำสุดคือจุดไหนนั้น เรามักจะเห็นไม่ตรงกันครับ บางคนหุ้นทำ High เล็กๆ ก็นับเป็นจุดสูงสุดแล้ว ในขณะที่อีกคนไม่เห็นเป็นอย่างนั้น มันจึงไม่ค่อยมีความแน่นนอน หรือมีค่ากลางที่เอาไว้คุยกันได้ วิธีการแก้ไขบางอย่างคือ การใช้ ZigZag Indicator เข้ามาช่วยดู โดยระบุว่าเราจะ Define มันว่าเป็นจุดสูงสุดหรือต่ำสุดเมื่อราคาวกกลับมากี่ % นั่นเอง ซึ่งช่วยให้สามารถคุยกันรู้เรื่องและทำ System Test ได้ด้วย

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ Channel Trailing Stop หรือทางเดินของราคา

Price_Channel_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

วิธีการตัดขาดทุนแบบนี้ เท่าที่ทราบมีต้นกำเนิดมาจากการคิดค้นของ Richard Donchianครับ โดยเขาได้จับแนวคิดนี้มาทำเป็น Donchian Channel System นั่นก็คือ การหาทางเดิน หรือกรอบของราคาอิงกับจุดต่ำสุดและสูงสุดภายในช่วงเวลาที่ต้องการ โดยระบบดั้งเดิมของ Donchian นั้น คือการหาจุดต่ำสุดและสูงสุด จากจำนวนวันที่ 20 วัน หรือ 4 อาทิตย์นั่นเอง โดย จะเข้าซื้อเมื่อ หุ้น Breakout จากกรอบบน และขายเมื่อหุ้น Breakdown จากกรอบล่าง ระบบการตัดขาดทุนแบบนี้สามารถใช้ได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นที่นิยมกับเหล่า Trend Following ยุคเก่าเป็นอย่างมาก และนี่ก็เป็นระบบที่เป็นต้นแบบของเหล่าTurtle Trader ที่เป็นตำนนานและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากครับ

ข้อดี:

ทำให้หุ้นไม่หลุดมือเมื่อตลาดพักตัววิ่งอยู่ในกรอบ Sideway โดยมีความชัดเจนจากการการใช้ Parameter ของจำนวนวันที่กำหนด เราจึงไม่ผิดพลาดจาก Bias ของเราในการวัด High-Low ที่เรามองเห็นด้วยตา และมันยังยืดหยุ่นสอดคล้องไปตามสภาวะตลาดอีกด้วย

ข้อเสีย:

เรามักจะเจอกับ False Signal บ่อยพอสมควรจากการใช้ Channel ครับ จากประสบการณ์ หากมัน Break แล้วย้อนทางกลับ ราคาหุ้นมักจะดีดกลับอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งทำให้มีผู้คิดคุ้นวิธีการเล่นแบบสวนทางที่เรียกว่า Turtle Soup ขึ้นมาอีกด้วย ข้อเสียอีกอย่างก็คือ เมื่อราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็วนั้น กรอบล่างของมันมักจะตามราคาช้า และอาจไม่ทันเท่าที่ควร ทำให้สูญเสียกำไรไปส่วนหนึ่ง แต่ก็แลกมากับการที่มันช่วยให้เราถือหุ้น Let Profits Run ได้ยาวๆ และทำให้อัตราต่อรองหรือ Pay off ของเรามากขึ้นครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ Trend line หรือเส้นแนวโน้ม

Trendline_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ Trend line นี้เป็นรูปแบบที่นิยมและรู้จักกันมากอีกรูปแบบหนึ่งครับ มันถูกใช้อย่างแพร่หลายแต่มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ อ้างอิงจากหนังสือ The New Science of Technical analysis ของ Tom Demark ซึ่งเป็นนักค้นคว้าและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคชื่อดังของอเมริกานั้น เขาได้ให้คำแนะนำว่า “เส้น Trend line นั้น ควรจะลากจากจุดต่ำสุดหรือสูงสุด ณ ช่วงเวลาล่าสุดย้อนกลับไปในอดีต” เนื่องจากมันจะช่วยทำให้เราได้สิ่งที่เป็นสภาวะที่เป็นปัจจุบันได้มากกว่าการลากจากอดีต และจุดที่เรากำหนดจะลากนั้น ควรที่เป็นจุด TD Point หรือเป็นจุดที่ต่ำกว่าวันก่อนหน้า(Previous day) และวันถัดมา(Post day) ในกรณีขาขึ้น และในขาลงนั้นก็ทำกลับกันนั่นเอง

ข้อดี:

มันทำให้เรามีหุ้นอยู่ในมือเมื่ออยู่ในขาขึ้น หรือขาลงเท่านั้น และง่ายต่อการใช้โดยการลากเอาด้วยตาของเรา และจะเปลี่ยนแปลงตามความเร็วของตลาดไปเรื่อยๆ

ข้อเสีย:

เนื่องจากมันคือเส้นวัดแนวโน้ม หรือ Trend line มันจึงไม่อนุญาตให้เรามีหุ้นเมื่อหุ้นพักตัวในตลาด Side way เพราะมันจะหลุดเส้นแนวโน้มลงมา เราจึงอาจหุ้นหลดมือได้บ่อยกว่านั่นเองครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

ในตอนนี้นั้น เราจะเริ่มเข้าสู่การใช้ Traling Stop ที่เป็น Mathematical Base หรือคำนวณมาด้วยตัวเลขตามหลักคณิตศาสตร์กันบ้าง โดยเริ่มจากระบบที่เก่าแก่ที่สุดกันครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

รูปแบบการตัดขาดทุนโดย Moving Average(MA) หรือเส้นค่าเฉลี่ย

Moving_Average_Tradilng_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

เส้นค่าเฉลี่ย MA นี้ เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและยาวนานกันทีเดียว เนื่องจากมันเป็น Indicator รูปแบบแรกๆที่มีลักษณะเป็น Stop and Reverse(SAR) ในตัวของมันเอง แนวคิดอธิบายง่ายๆนั้นก็คือ การหาต้นทุนโดยเฉลี่ยภายในช่วงเวลาที่เราต้องการออกมา แล้วอนุมานว่า หากราคา ณ ปัจจุบันนั้นสูงกว่าต้นทุนเฉลี่ยอยู่นั้น แสดงถึงภาวะทางจิตวิทยาที่ดีอยู่ เนื่องจากคนยอมจ่ายแพงกว่าต้นทุนเฉลี่ยของวันที่ผ่านมาเรื่อยๆ ทั้งนี้ บางคนอาจใช้ MA ในรูปแบบที่ต่างกันไป บางคนอาจใช้ 2 เส้น หรือ 10 เส้นเป็นก๋วยเตี๋ยว 1 ชามเลยก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้นั้น ต้องคำนึงถึงว่า หากเราใช้เส้น MA มากขึ้นเท่าไหร่ มันจะยิ่งช้ากว่าตลาด หรือมีการ Lag มากยิ่งขึ้น และเป็นการอิงกับการเกิดสภาวะหนึ่งๆที่มากเกินไป จนอาจทำให้ระบบรวนและไม่สามารถอยู่ในระยะยาวได้ดีเท่าที่ควร

เส้นค่าเฉลี่ย(ต้นทุน) หรือ Moving Average นั้น มีกันอยู่หลายรูปแบบพอสมควรเช่น Simple, Exponential, Weighted, Time Series, Triangular, Variable หรือแม้กระทั่ง Adaptive Moving Average (AMA) ซึ่งออกแบบมาให้ปรับสภาวะไปตามตลาด โดย Perry Kaufmanได้คิดค้นและเขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Trading System and Method นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาทำการทดสอบนั้น ยังไม่เห็นผลความแตกต่างระหว่างเส้น MA ธรรมดา กับ AMA เท่าที่ควร ดังนั้น เลือกใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของเราดีกว่า เช่นคนที่เล่นยาวๆหน่อยอาจใช้ SMA ธรรมดาๆ แต่หากใครเล่นสั้นลงมาหน่อยอาจพิจารณาการใช้ EMA เนื่องจากได้ถ่วงน้ำหนักให้มีความอ่อนไหวต่อปัจจุบันมากกว่าครับ

ข้อดี:

ง่ายต่อการใช้ เหมาะกับการเล่นในหลายๆสไตล์ สามารถประยุกต์ใช้เป็นระบบต่างๆได้หลากหลายเช่น เมื่อใช้หลายๆเส้น ก็ทยอยซื้อขายเมื่อเส้นที่ Parameter น้อยกว่าตัดขึ้นมาเรื่อยๆ และทยอยขายเมื่อมันค่อยๆพากันตัดลง

ข้อเสีย:

เนื่องจากมันเป็นค่าเฉลี่ย มันจึงช้ากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆในตลาด ณ ปัจจุบัน เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อมันให้สัญญาณซื้อ-ขายนั้น ราคามักจะขึ้นหรือลงไปพอสมควรแล้ว ทำให้ต้องเผื่อระยะและเผื่อใจในการที่หุ้นจะวิ่งสวนทางกับเราพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคงทน Robust สูงรูปแบบหนึ่งครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ Parabolic SAR หรือแบบพาราโบลา

Parabolic_SAR_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

การตัดขาดทุนแบบ Parabolic Stop and Reverse นี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาจาก William J. Welles Wilder ครับ โดยมีการเคลื่อนไหวของจุดตัดขาดทุนที่วิ่งไปตามแนวโน้มเรื่อยๆ ในรูปแบบของกราฟ Parabola หรือ French Curve นั่นเอง โดยอิงจากข้อสังเกตที่ว่า แนวโน้มของการเคลื่อนไหวของราคาที่แข็งแรงนั้น มักจะเกิดขึ้นเป็นรูปแบบของกราฟราคาแบบ Parabola นั่นเอง มันจึงค่อนข้างที่จะตามติดราคาอย่างไม่ห่างนัก โดยเมื่อสัญญาณเกิดการ Stop หรือ Reverse ในทางใดนั้น SAR จะเริ่มต้นค่าของมันที่ Significant Point (จุดต่ำสุดหรือสูงสุด) ของราคาล่าสุด แล้วเคลื่อนที่เป็น increment ไปในแต่ละวัน โดยมีวิธีการคำนวณสูตรดังเดิมดังนี้ :

SARtomorrow=SARtoday+AF(EPtrade-SARtoday)

โดยที่ AF คือ Acceleration Factor หรือตัวคูณความเร่งที่จะเพิ่มขึ้นบวกทบคราวละ 0.02 เมื่อราคาได้ทำจุดสูงสุดใหม่ในแต่ละวัน จนไปหยุดที่ 2.0 และ EP คือ Extreme Point (จุดต่ำสุดหรือสูงสุด) โดยหากขาขึ้นสัญญาณ long เราจะใช้จุดสูงสุด และทำกลับกันเมื่อเป็นขาลง หากใครสนใจรายละเอียดวิธีการคิดคำนวณเพิ่มเติม หาอ่านได้จาก New concept in Technical Analysis ที่เขียนโดย Wilder ได้ครับ หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือตำนานเล่มหนึ่งของชาวเทคนิคทีเดียว เพราะเป็นงานที่ original ในยุคนั้นมากๆ โดยก่อนที่ wilder จะเขียนหนังสือเล่มนี้ ระบบเทรดที่เป็น Machanical มีใช้กันอยู่มีเพียงไม่กี่ชนิด เช่น Channel Trading Systemและ Moving Average Trading Sytem เพียงเท่านั้น

ข้อดี:

เนื่องจาก Parabolic SAR จะวิ่งติดตามราคาขึ้นไปเป็น Parabolic curve มันจึงวิ่งตามไปกับราคาและแนวโน้มได้เป็นอย่างดี มันช่วยให้เราเก็บกำไรที่เรามีอยู่ได้ดีกว่ารูปแบบการตัดขาดทุนที่ผ่านๆมา

ข้อเสีย:

เนื่องจากมันวิ่งตามขึ้นไปติดๆกับกราฟราคา มันจึงมักจะทำให้เสียของบ่อยๆ ในกรณีที่แนวโน้มเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้หวือหวา และในทางกลับกันนั้น มันจึงทำให้เกิดสัญญาณซื้อหรือขายที่เร็วเกินไปบ่อยๆ โดยวิธีแก้ปัญหานี้ อาจเป็นการใช้ร่วมกับระบบ Directional Movement โดยซื้อเมื่อ DI+ อยู่เหนือ DI- เท่านั้นครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ Average True Range Trailing Stop หรือ Chandelier Stop

Wilder's_Average_True_Range_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

Chandelier_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

ผู้คิดค้นระบบนี้เป็นนาย Wilder เช่นเดิม รายละเอียดนั้นได้เขียนไว้หนังสือที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยในยุคนั้น การกำเนิดขึ้นของแนวคิดการหาค่าความผันผวนแบบ Average True Range ถือเป็นความล้ำสมัยอย่างมาก โดยมีการอ้างอิงนำไปใช้กับระบบ Turtle Trading ในการหาจุดตัดขาดทุนและจุดซื้อเพิ่มของพวกเขาอีกด้วย โดยค่า True Range หรือความผันผวนนี้ จะหาจากการนำเอาค่าที่มากที่สุดที่เกิดขึ้นจา

1.ระยะจาก High ถึง Low ของวัน

2.ระยะจาก High ของวันถึง Close ของวันก่อนหน้า

3.ระยะจาก Low ของวันถึง Close ของวันก่อนหน้า

เมื่อหาออกมาได้แล้ว เวลานำมาใช้นั้นต้องเอามาหาค่าเฉลี่ยออกมา เนื่องจากความผันผวนในแต่ละวันมักไม่คงที่และมีระยะไม่แน่นอนนั่นเอง ค่าที่ได้ออกมาจะกลายเป็น Average True Range (ATR) โดยค่าที่ใช้กันในตอนเริ่มต้นโดย Wilder นั้น จะอยู่ที่ 7 วันครับ แต่ก่อนที่เราจะนำเอามาใช้ได้นั้นต้องทำอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การคูณด้วยค่าคงที่ หรือค่า Constant ออกมา โดย Wilder ได้พบว่าการคูณด้วยค่าระหว่าง 2.8-3.1 จะใช้ได้ดีที่สุดในระยะยาว และมักใช้ค่ากลางที่ 3.0 ครับ (Cynthia Case นักเล่นหุ้นชั้นแนวหน้าคนหนึ่งเคยให้เหตุผลไว้ว่า เนื่องจากราคาของหุ้นจะเคลื่อนอยู่ในกรอบของค่าเบี่ยงเบนของมัน โดย 1 Constant นั้นจะเทียบเท่ากับ 1 Standard Deviation จากค่า Mean ของราคา ดังนั้น 3 Constant หรือ 3 Standard Deviation จะคลอบคลุมการเคลื่อนไหวของราคาแบบสุ่มเกือบทั้งหมด) ขั้นตอนสุดท้ายนั้น คือการเอาช่วงระยะของค่า ATR*Constant (เรียกว่า Average Range times Constant หรือ ARC) มาหักออกหรือบวกเข้าจากจุดต่ำสุดหรือสูงสุดของหุ้นในเวลาที่ผ่านมา เช่น หากหุ้นอยู่ในขาขึ้น เราจะทำการนำ Highest High ภายในช่วงเวลาที่เราต้องการเช่น 7 วันมาลบออกด้วย ARC เราก็จะได้ ATR Trailing Stop ออกมาครับ และสัญญาณจะเกิดการเปลี่ยนทาง หรือ Reverse เมื่อราคาได้ปิดหรือแตะลงไปต่ำกว่า(ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เราวางไว้) Trailing Stop ของเรานั่นเองครับ

ส่วนที่มันถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chandelier Trailing Stop ก็เนื่องมาจากว่า มันถูกนำมาปรับปรุงโดย Chuck LeBeau นั่นเอง โดย LeBeau ได้ทำการปรับปรุงไม่ให้ค่าของ Trailing Stop มีการวิ่งย้อนกลับลงไปต่ำหรือสูงกว่าค่าเดิม ในกรณีที่ราคาหุ้นยังอยู่ในแนวโน้มนั้นๆ โดยเขาได้พบว่าค่า ARC นั้นมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพอย่างมาก โดยสามารถใช้ตัวคูณ Constant ได้ตั้งแต่ 2.5 ถึง 4.0 เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการให้มันแคบหรือกว้างตามความเหมาะสมกับสไตล์ของเรา โดยหากว่าแคบนั้นจะให้ Payoff ที่สูงขึ้นแต่จะมี Profitable Trade ที่น้อยลงเนื่องจากถูก Stop out บ่อยกว่า แต่หากเรากำหนดไว้กว้างจะเพิ่ม Profitable Trade ได้มากขึ้น แต่จะให้ Pay off ที่ต่ำกว่านั่นเอง

ข้อดี:

Trailing Stop ชนิดนี้จะมีความยืดหยุ่นและปรับสภาพไปตามหุ้นแต่ละตัวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมันอิงกับค่าความผันผวนของหุ้นแต่ละตัว มันช่วยให้เราสามารถ Let profits Run รวมถึงปกป้องกำไรได้ดีพอสมควรและ Minimize Risk ได้ทั้งยังมีความ Robust ที่สูง ถึงขนาดที่ในปี 2004 นั้น Van K. Tharp ได้ทำการทดลองใช้มันร่วมกับการเข้าซื้อแบบ Random หรือสุ่ม โดยผลที่ได้ก็คือ Trailing Stop แบบนี้สามารถที่จะทำกำไรได้ในระยะยาวเป็นอย่างดี

ข้อเสีย:

จุดอ่อนของมันบางทีอาจอยู่ที่การหาค่า Constant ที่เหมาะสม และเนื่องจากมันจะวิ่งตามจุดสูงสุดไปเรื่อยๆ โดยค่า ARC หนึ่งนั้น ทำให้บางครั้งการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรงในวันหนึ่งอาจทำให้เกิดสัญญาณขายที่ผิดพลาดได้ ทั้งที่หุ้นยังไม่ได้เป็นขาลงขึ้นมาจริงๆ อีกข้อสังเกตหนึ่งก็คือ เมื่อหุ้นเริ่มเข้าสู่ระยะ Sideway มันจะค่อยๆงวดขึ้นมาโดยไม่ได้อิงจากแนวรับและแนวต้านที่เหมาะสมครับ

วิธีการเล่นหุ้น วิธีการตัดขาดทุนด้วย Trailing Stop รูปแบบต่างๆ

การตัดขาดทุนโดยการใช้แนวคิด Envelope และแนวคิดทางสถิติ

Bollinger_Band_Trailing_Stop_by_แมงเม่าคลับ_หุ้น

การตัดขาดทุนรูปแบบสุดท้ายนี้ จะเริ่มมีการนำแนวคิดของการใช้หลักการทางสถิติมาใช้แทนค่าทางกลศาสตร์แล้วครับ โดยเมื่อพูดถึงหลักการแนวคิดแบบนี้นั้น ต้องอธิบายก่อนว่า ในเชิงของแนวคิดนี้นั้น เราต้องเข้าใจการให้ความหมายของสิ่งที่เป็น Random Movement ออกจากสิ่งที่เป็น Trend ให้ได้ก่อน พูดย่อๆก็คือ สิ่งที่เป็น Random Movement นั้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบของค่า 2 Standard Deviation ดังนั้นการเคลื่อนไหวที่เป็นแนวโน้มที่ชัดเจนคือการเคลื่อนไหวที่หลุดออกจากกรอบ 2 Standard Deviation ของค่ากลางของมันนั่นเอง

จุดเริ่มต้นของของแนวคิดนี้มาจากการสร้าง Envelope ให้กลายเป็น Trading Band ของ J.M. Hurst ที่เขาได้เขียนไว้ในหนังสือ The Profit Magic of Stock Transaction Timingครับ โดยต่อมามันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยการนำเอาค่าเฉลี่ยของราคาหุ้นในช่วงเวลาหนึ่งออกมา ซึ่งจะถือว่าค่านี้คือค่า Mean ของราคาหุ้นในช่วงขณะนั้น แล้วทำการสร้างกรอบบนและกรอบล่างจากค่า Mean นี้ โดยมักนิยมใช้ค่าความกว้างเป็น 5% จากค่า Mean ของมันเอง โดยจะเป็นสัญญาณซื้อเมื่อราคาเบี่ยงเบนออกจากกรอบบน และสัญญาณขายเมื่อสัญญาณเบี่ยงเบนออกจากกรอบล่างของมันนั่นเอง

อีกเครื่องมือหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากเหลือเกินนั่นก็คือ การนำเอาค่า Mean มาสร้างเป็นBollinger Band ออกมา โดยปกติเท่าที่เคยเห็นกันส่วนใหญ่นั้น นักเล่นหุ้นมักรู้จักวิธีการใช้มันอยู่ไม่กี่แบบ เช่น Squeeze Play นั่นคือเล่นเมื่อกรอบบีบเข้ามาแล้วระเบิดออก แต่มักไม่ค่อยรู้ว่ามันสามารถใช้เป็น Trailing Stop ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมันถูกสร้างมาจากค่า Standard Deviation จากค่า Mean นั่นเอง และกลยุทธ์นี้เรียกว่า Walking The Band ครับ โดยระบบจะทำการ Stop and Reverse เมื่อราคาหุ้นวิ่งเบี่ยงเบนออกไปจาก 2 Standard Deviation ของมันนั่นเอง เราจึงได้สัญญาณการขายเมื่อมันหลุดกรอบล่างออกมานั่นเองครับ

ข้อดี:

ช่วยในการกรองภาวะของ Random และ Trending ออกจากกัน ช่วยให้เราเข้าถึงพฤติกรรมและสภาวะของตลาดได้ลึกยิ่งขึ้นในเชิงวิทยาศาสตร์และสถิติ ส่งผลให้มีความแม่นยำมากขึ้น

ข้อเสีย:

วิธีการตัดขาดทุนในลักษณะนี้หลายๆรูปแบบ มีความซับซ้อนขึ้นในรายละเอียดของการสร้างและการแปลผลนำมาใช้ จึงควรทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อ


ที่มา http://mangmaoclub.com/trailing-stop/


หวังว่าคงมีประโยชน์นะครับ

Boyles

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 สิงหาคม 2559 เวลา 18:57

    I resulted in these present circumstances website and it helped me to add couple of new indicates my written work profession. Really, composing is my obsession and I am attempting to learn new thing wherever I find. Amazing composed online journal and profitable data shared here.

    ---------------
    PM prepaid card

    ตอบลบ