รูปผนังห้องทำงานของ Paul Tudor Jones รูปนี้ได้บอกบางอย่างกับเราเอาไว้แล้ว นั่นก็คือ“คนแพ้ชอบถัวเฉลี่ยขาดทุน หรือ Losers Average Losers” นั่นเอง!
วิธีการเล่นหุ้น วิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค Money Management การบริหารเงินลงทุน จิตวิทยาการลงทุน
วิธีการเล่นหุ้น วิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค Money Management การบริหารเงินลงทุน จิตวิทยาการลงทุน
น่าเสียดายที่ James K. Glassman นักเขียนของหนังสือพิมพ์ในคอลัมน์ Washington Post investing ได้หลงลืมที่จะคิดถึงมันไป จากการที่เขาเคยได้เขียนบทความเอาไว้ว่า
“หากคุณมีหุ้น Enron อยู่ในพอรท์ของคุณ แต่พลาดที่จะขายมันไปที่ราคา 90 ดอลลาร์หรือที่ราคา 10 ดอลลาร์แล้วล่ะก็อย่าได้รู้สึกผิดหรือลำบากใจเลย”
เช่นเดียวกับ Alfred Harrison ผู้จัดการกองทุนของ Alliance Capital Management Holding LP, ซึ่งได้ถือหุ้นของ Enron เอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า
“โดยเบื้องต้นแล้ว มันเป็นหุ้นที่มีการเติบโตเป็นอย่างดี เราจึงซื้อถัวเฉลี่ยมันเรื่อยมา”
วิธีการเล่นหุ้น วิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค Money Management การบริหารเงินลงทุน จิตวิทยาการลงทุน
ทั้ง Glassman และ Harrison นั้นทำผิดอย่างมหันต์เลยทีเดียว คุณมักจะพบว่าไม่ใช่แค่คุณจะรู้สึกแย่เพียงเท่านั้น แต่เงินของคุณจะค่อยๆลดลงไปเมื่อคุณทำการถัวเฉลี่ยขาดทุน ตัวของ Harrison นั้นได้ฝ่าฝืนกฎเหล็กของนักเก็งกำไรสไตล์ Trend Following อย่างรุนแรง และที่แย่ไปกว่านั้น ทั้งที่เขาเป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งบริหารเงินทุนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนหลายๆคนนั้น เขากลับยอมรับมันมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการลงทุนอีกด้วย จงจำเอาไว้ว่า หากแนวโน้มกำลังอยู่ในขาลงนั้น มันไม่ใช่โอกาสในการซื้อ! แต่มันคือโอกาสในการขายหรือขาย Short ต่างหาก
โดยภูมิปัญญาที่เฉียบแหลมในการเก็งกำไรนั้น ได้ถูกอธิบายอย่างง่ายๆไว้ในกระดาษที่แปะไว้บนผนังทำงานของ Paul Tudor Jones สุดยอดนักเก็งกำไรคนหนึ่งของโลกเอาไว้แล้ว นั่นก็คือ….
ประวัติโดยย่อของ Paul Tudor Jones
เขาเกิดในวันที่ 28 พฤษจิกายน ค.ศ. 1954 ที่มลรัฐ Memphis,Tennessee เขาคือผู้ก่อตั้งกองทุน Tudor Investment Corporation และเขาคือผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันที่ยิ่งใหญ่ซึ่งบริหารเงินทุนกว่าหลายพันล้านดอลลาร์ เขามีทรัพย์สินส่วนตัวโดยประมาณอยู่ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์ และได้ถูกจัดอันดับให้เป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกอันดับที่ 369 ในปี 2007 โดยนิตยสาร Forbes โดยจากรายงานล่าสุดนั้น ในปี 2006 เขาทำเงินได้ถึง 750 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
วิธีการเล่นหุ้น วิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค Money Management การบริหารเงินลงทุน จิตวิทยาการลงทุน
สไตล์การเก็งกำไรและความเชื่อของเขา
จากหนังสือ Market Wizards แนวคิดและความเชื่อของ Paul Tudor Jones ได้ถูกวิเคราะห์เอาไว้ดังนี้
-เขากล้าที่จะสวนกระแสซื้อหรือขายที่จุดวกกลับของตลาด เขาจะพยายามเทรดตามความเชื่อที่เขาคิดจนกว่าเขาจะเริ่มเปลี่ยนใจ โดยเมื่อขาดทุนเขาจะเริ่มลดขนาดการลงทุนของเขาลงเรื่อยๆ และจะน้อยที่สุดเมื่อการเก็งกำไรของเขาประสบผลแย่ที่สุด
-เขาเชื่อว่าเขาเป็นผู้ที่มักจะเห็นโอกาสในตลาดได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อเขาเริ่มมีไอเดียเกี่ยวกับการลงทุน เขาจะค่อยๆเริ่มลงทุนด้วยความเสี่ยงทีละน้อย จนกว่าที่เขาจะผิดพลาดติดๆกันหรือจนกว่าเขาจะเปลี่ยนแผนหรือความคิดของเขา
-เขาเป็นนักเก็งกำไรสไตล์ Swing Trader หรือเล่นรอบ เขาเชื่อว่ากำไรสูงสุดมาจากการซื้อได้ที่จุดวกกลับของแนวโน้ม และเขามักจะขายหมูบ่อยมาก แต่เขาก็สามารถซื้อหรือขายแถวๆจุดต่ำสุดและสูงสุดได้เช่นกัน
-เขาใช้เวลาในแต่ละวันส่วนใหญ่ในการทำให้เขามีความสุขและผ่อนคลาย เขาจะขาย Position ที่เขาถืออยู่ทิ้งหากว่าเขารู้สึกไม่สบายใจ และไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเริ่มต้นใหม่ กุญแจสำคัญของการเก็งกำไรคือการเล่นเกมรับ ไม่ใช่เล่นเกมรุก
-ห้ามถัวเฉลี่ยขาดทุน และต้องลดขนาดการลงทุนลงเมื่อผลออกมาแย่ และเพิ่มขนาดการลงทุนขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีกำไร
-เขามักตัดขาดทุนตามสัญชาติญาณของเขา โดยหากว่าราคาวิ่งมาถึงระดับนั้น เขาจะขายทิ้งไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เขาไม่เพียงแต่ตัดขาดทุนจากระดับราคาที่กำหนดไว้ แต่จากระยะเวลาที่ถือไว้หากไม่ได้กำไรอีกด้วย
-เขาจะตรวจสอบถึงความเสี่ยงโดยรวมในพอร์ทของเขาอยู่ตลอดเวลา
-เขาเชื่อว่าราคาเคลื่อนไหวนำหน้าปัจจัยพื้นฐาน
-เขาไม่เคยสนใจกับความผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะพึ่งผ่านมาไม่ถึง 3 วินาที แต่เขาจะสนใจว่าเขาจะทำอะไรต่อไปนับจากวินาทีนี้เป็นต้นไป
-อย่าพยายามเป็นฮีโร่ อย่ามีอีโก้หรือทระนงตนเอง ต้องพยายามหมั่นตั้งคำถามกับตัวเอง และความสามารถของตนเองอยู่เสมอ อย่าได้เหลิงคิดไปว่าเราคือสุดยอด และเมื่อไหร่ที่เผลอคิดไป นั่นจะเป็นหนทางสู่ความตายของเรา
และมีการแชร์มุมมองที่น่าสนใจเช่นกันด้วย
ผมขอแชร์มุมมองนะครับ
ผมว่าหลายคนชอบสนใจเรื่องต้นทุนของหุ้นมากเกินไป
เช่นถ้าซื้อหุ้นที่ 3 บาทแล้วมันขึ้นไป 4 บาทก็จะไม่อยากถัวเฉลี่ยเพิ่ม
ตรง 4 บาทเพราะถ้าไปรวมกับทุนเดิมเดี่ยวมันจะกลายเป็น 3.5
ในทางกลับกันถ้าซื้อที่ 3 บาทแล้วลงไป 2.5 แล้วภาพลวงตาจะทำให้
เรารู้สึกว่าถ้าเราถัวไปที่ 2.5 ทุนเราจะกลายเป็น 2.75 ทำให้เราอยากถัว
จริงๆแล้วประสบการณ์ผมค่อนข้างน้อยนะที่ถ้าเราซื้อที่ 3 บาทแล้วมันไปเหลือ
2.5แล้วมันจะกลับมาได้ ถึงกลับมาได้ส่วนใหญ่ก็จะต้อง sideway ยาวพอควรก่อน
ประมาณ 3-5 เดือนเป็นอย่างน้อย
จริงๆแล้วการที่เราเล่นผมคิดว่าถ้าเราเราควรมองที่มูลค่าพอร์ตไม่ใช่มองที่ทุนของหุ้นบางตัวในพอร์ต
william oneil บอกว่าถ้าคุณเปิดร้านขายเสื้อแล้วขายสองสีเช่น ดำกับขาว
ถ้าซื้อมาอย่างละ 100 ตัวถ้าเสื้อขาวขายได้หมด แต่เสื้อดำขายได้ 10 ตัว
คำถามคือคุณจะไปซื้อเสื้อตัวไหนมาขาย ก็ต้องเป็นตัวที่ความต้องการเยอะ
ตัวที่ทำเงินให้เราได้ เราคงจะไม่ไปซื้อเสี้อดำมาเพิ่มอีกหรอกทั้งๆที่ชุดแรกก็ขายแทบไม่ออก
เราควรจะขายเสื้อดำแบบลดราคาให้ได้เงินมาหมุนได้ซ้ำ
ผมเพิ่งจัดงานมีทติ้งที่บล็อกโดยให้สมาชิกที่ไป 15 คนแชร์ว่าตัวไหนที่เคยเล่นแล้วขาดทุนเยอะสุด และตัวไหนที่เคยเล่นและกำไรเยอะสุด
ปรากฏว่ากรณีที่ขาดทุนเยอะสุดมักเกิดจากการคาดหวังสูง การรักหุ้นมากไป การหวังลมๆแล้งๆกับตลาด ซื้อแล้วไม่เป็นอย่างที่คิดแต่ยังซื้อเพิ่มมีคนนึงเห็นว่าซื้อ snc ตอน 14-15 บาทแล้วประกาศเพิ่มทุนแถว 12 บาทก็ไปซื้อเพิ่มทุนอีกพอตลาด crash ลงไปถึง 3 บาททีเดียว
ส่วน case ที่กำไรกันเยอะๆอย่างเช่น sat kye เป็นต้น sat ตอน 3 บาทยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวจากยอดรถยนต์แต่มามีตอนหุ้นประมาณ 5-6 บาทซึ่งตอนนั้นกำไรรายไตรมาสยังแย่อยู่มาก หรืออย่าง cpf เบรกไฮปี 2005 ที่ 6.5 และกำไรไตรมาสสองก็มากกว่าทั่งปีของปีก่อนและราคาเนื้อสัตว์ยังขึ้นต่อหลายคนซื้อตอน 6 บาทแล้วตอน 7-8 บาทก็อัดเพิ่มเข้าไปอีกเพราะซื้อแล้วได้ข้อมูลบางอย่างว่าบริษัทมีอนาคตที่ดีและชัดเจนมากขึ้น
แชร์มุมมองครับ
boyles