วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

สู่ความเป็นอัจฉริยะ ด้วยการพัฒนาสมอง

สรุปคร่าวๆ เกี่ยวกับ เรื่องการเรียนรู้ น่าสนใจมากครับ และผมว่าเราก็สามารถเอามาใช้ในการศึกษาได้ทุกเรื่องรวมถึงเรื่องหุ้นด้วย

1. เรื่องหลักการแห่งจินตนาการ อันนี้รวมถึงเรื่องการตั้งเป้าหมายที่ดูจะเกินความเป็นจริง แล้วคิดในแบบที่ปฏิบัติได้
บางสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักตรรกวิทยาจะกลายเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักตรรกวิทยาได้ด้วยความช่วยเหลือของจินตนาการแบบสร้างสรรค์ อย่างในหนังสือ
อย่างเช่น เขาสมมุติถึงเรื่อง แต่ก่อนไม่มีใครคิดว่าเราจะสร้างยานอวกาศบินไปนอกโลกได้ ถ้าหากไม่เกิดจินตนาการ มันก็คงไม่มีการเรียนรู้ ทดลอง
และพัฒนาขึ้น เพราะมันเริ่มจากการสร้างเครื่องร่อน ไปสู่การสร้างเครื่องบิน จนไปถึงการสร้างยานอวกาศ
หรืออย่างเช่น เราตั้งเป้าว่าเราจะมีเงิน 1 ล้าน การทำเงินแสนจึงเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มก่อน แต่ถ้าเราตั้งเป้า 10 ล้าน เราจะหาทางทำเงินล้านขึ้นมาก่อน
ดังนั้น ความคิดเราจึงเปลี่ยน และความคิดเราจะใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นหนทางไปสู่การปฎิบัติของเรา

ถ้าคุณจินตนาการสภาพความเป็นจริงที่แตกต่างออกไปได้ ไม่ต้องสนใจความรู้สึกเกี่ยวกับตรรกวิทยาและโอกาสก็มีทางที่จะทำให้สภาพความเป็นจริงเช่นนั้นเกิดขึ้นได้ เพราะอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

2. ภูมิปัญญาเพื่อความอยู่รอด
เพื่อที่จะพัฒนาภูมิปัญญา และพบความสำเร็จ คุณไม่ควรรู้สึกพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่และความสะดวกสบายที่มี และความมั่นคงทางการเงิน
เขายกตังอย่าง ถึงหนูเร่ร่อนกับ หนูที่เลี้ยงไว้ในบ้าน เมื่อเอาหนูที่ตายมาผ่าตัดสมอง จะพบหนูเร่ร่อนจะมีสมองที่หนากว่าหนูบ้าน

3. หลักการแห่งความเข้าใจสูงสุด อันนี้ผม ชอบมาก เอาไว้เรียนรู้เรื่องหุ้น เมื่อได้เรียนรู้อาไรใหม่ๆมา อย่าเพิ่งเชื่อเลย ให้ตั้งคำถามเสมอ และทดลอง
หาคำตอบ แล้วถึงจะเชื่อ แล้วนำไปใช้

เพื่อที่จะเรียนรู้ตลอดกาล จงตั้งคำถาม และอย่าเชื่ออะไรโดยไม่คิด เพราะยิ่งคิดมาก ยิ่งพัฒนาสมอง

และเขายังกล่าวไว้ว่า คุณเรียนรู้ และพัฒนาความคิดของคุณที่อายุเท่าไหร่ก็ได้

และไม่ควรยอมรับสิ่งใดโดยไม่รู้จักคิด การเรียนรู้ไม่ใช่การท่องจำเรื่องราวในอดีต แต่เป็นการเชิญชวนอย่างจริงจังให้ถกเถียงเรื่องราวในอนาคตที่แตกต่างไปจากเดิม

เรายอมรับ หลายสิ่ง หลายอย่างด้วยความศรัทธาโดยไม่พิจารณาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และการทำเช่นนั้นทำให้เราลงเอยด้วยการมีชีวิตอยู่กับความเข้าใจที่ผิด

มีนิทานอันนึงที่ผมชอบมาก เขาบอกว่า มีลูกคนนึงถามพ่อด้วยความถามมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทำไมท้องฟ้าจึงสีฟ้า เส้นผ่าศูนย์กลางโลกยาวเท่าไหร่ ทำไมช้างถึงงวงยาว
แต่ล่ะคำถามพ่อก็บอกว่าไม่รู้ จนถึงถามว่า พ่อรำคาญหนูไหม พ่อตอบว่า ไม่หรอก ถ้าลูกไม่ถาม แล้วลูกจะรู้ไหม

ก่อนที่คุณจะเข้าไปสู่สถานการณ์ใหม่ๆ ขอให้ตั้งคำถาม ค้นคว้า และเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เผชิญอยู่ขณะนั้น แล้วคุณจะเปลี่ยนสถานการณ์ตึกงเครียดซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งที่คุณไม่รู้ ให้เป็นสิ่งที่คุ้นเคยซึ่งคุณรู้สึกว่าควบคุมได้ดีขึ้น

4. หลักการแห่งการยกระดับ

จงเป็นนักเลียนแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ต้องคิดค้นเริ่มใหม่ แต่ควรใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วในทางที่สอดคล้องกับความต้องการ

ความคิดที่เปิดกว้างช่วยประหยัดเวลา เงินและกำลัง

5. หลักการแห่งแรงบันดาลใจ หาใครสักคนที่เลียนแบบ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ควรเป็นคนที่มีคุณค่า

กลยุทธ์การจัดการอย่างมีประสิทธิผล การบริหาร งานบุคคล กลยุทธ์การตลาด และอื่นๆ แต่ประสบการณ์เป็นครูที่ดีที่สุด ไม่มีใคร ฉลาดเท่าคนที่เรียนรู้จากประสบการณ์ได้เอง
แต่พูดถึงเรื่องประสบการณ์ มันก็ดึงเวลาไปจากเราเช่นกัน เมื่อเราผิดพลาด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องเลือกคนที่เหมาะสมที่เราจะเรียนรู้จากเขา

6. จงจำไว้เสมอ อย่าลืม พึ่งพา และไว้ใจความทรงจำ

มีหลายๆข้อที่น่าสนใจครับ เอาไว้เรียนรู้เรื่องหุ้น รวมไปถึงทุกเรื่องในชีวิตประจำวันด้วย ก็ฝากเอาไว้ครับ เผื่อมีประโยชน์นะครับ

ช่วงหลังของหนังสือก็จะเป็นเรื่องพวกเทคนิคการพัฒนาความจำครับ ใครสนใจก็ไปหาซื้อกันนะครับ

boyles

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

Fibo Style Joe dinapolli ครับ

เรื่องที่คิดว่าจะ Up ต่อไปน่าจะเป็นเรื่องการหาแนวรับ และราคาเป้าหมายแบบ Joe ครับ นั่นคือเรื่อง fibo retracement แบบหา agreement แนวรับร่วมครับ ในตอนท้ายก็อาจจะหาแนวรับร่วมกับ fibo extension ด้วยเช่นกัน สรุปก็แบ่งเป็น

1. fibo retracement
2. fibo extension
3. fibo retracement และ extension ในรูปแบบ agreement ครับ
4. fibo retracement รวมกับ extension

ตัวอย่างน่าจะเยอะนะครับ ยังไงจะพยายาม up ไปทีล่ะนิดล่ะกันนะครับ ขอติดเรื่องนี้ไว้ก่อน เพราะน่าสนใจจริงๆ เป็นเทคนิคการทำเงินลำดับต้นๆของผมเลย โดยผมไม่ใช้การตีเส้น trend line เลยช่วงหลังๆ (แต่ก็ควรจะตีประกอบด้วยนะครับ ความเป็นจริง แต่บางทีมันทำให้สับสน) แล้วเดี๊ยวเรามาดูความน่าสนใจของมันเลยดีกว่า ติดไว้ก่อนนะครับ ไปเที่ยวสงกรานต์ก่อนครับ

boyles

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

คุณสมบัติเซียน

วันนี้ อาจจะไม่ได้พูดเรื่องเทคนิค แต่หัวข้อน่าสนใจครับ ไม่ได้เฉพาะพื้นฐานนะครับ หลักการประสบความสำเร็จทางด้านเทคนิคก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน จากที่ผมอ่านเซียนหุ้นในหลายๆคนจากต่างประเทศก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน ลองมาดูกันนะครับ

การที่จะเป็นนักลงทุนที่ยอดเยี่ยมได้นั้น เราควรจะต้องศึกษาดูว่านักลงทุนระดับโลกหรือนักลงทุนใน “ตำนาน” ส่วนใหญ่เขามีคุณสมบัติ

ข้อแรกที่เป็นพื้นฐานจริงๆ ก็คือ ทุกคนวิเคราะห์หรือมองตัวธุรกิจเป็นหลัก ไม่ได้ “วิเคราะห์หลักทรัพย์หรือหุ้น” ความแตกต่างของสองเรื่องนี้ ก็คือ เซียนนั้น จะวิเคราะห์ว่าธุรกิจมีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แข่งขันกันอย่างไร ทำกำไรอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร ความเสี่ยงของธุรกิจอยู่ที่ไหน ในขณะที่การวิเคราะห์หุ้นหรือหลักทรัพย์นั้น อาจจะเน้นไปที่เรื่องของความเป็นไปได้ของเหตุการณ์บางอย่าง โอกาส ผลประกอบการระยะสั้น ถ้าจะพูดถึงความเสี่ยงก็อาจจะเน้นไปที่เรื่องของความผันผวนของกิจการหรือตัวหุ้นมากกว่า หรือแนวความคิดอย่างไรต่อการลงทุน เพื่อที่ว่าเราจะได้เอาอย่างเขาบ้าง และต่อไปนี้ คือ คุณสมบัติหรือมุมมอง “ร่วม” ที่นักลงทุนเอกของโลกมี

ข้อสอง เซียนนั้นมักมีวิธีการหรือแนวทางการลงทุนของตนเองที่มั่นคงแน่นอน เรียกว่ามี “สไตล์” เป็นของตนเอง พวกเขาไม่เปลี่ยนไปมา กลยุทธ์หรือแนวทางการลงทุนของพวกเขานั้นมักจะเหมือนเดิมยาวนานเป็นทศวรรษหรือบางคนก็ตลอดชีวิต ในบางช่วงบางตอนกลยุทธ์หรือแนวทางการลงทุนของเขาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จนักอาจจะเนื่องด้วยภาวะของตลาดหุ้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อกลยุทธ์นั้น แต่พวกเขาก็มักไม่เปลี่ยนวิธีการเพื่อที่จะให้ “สอดคล้อง” กับสถานการณ์ พวกเขายึดมั่นกับสิ่งที่เขารู้และเข้าใจดีที่สุด เพราะเขาคิดว่า ในระยะยาวแล้ว นั่นคือวิธีการที่ให้ผลดีที่สุดกับการลงทุนของเขา ตัวอย่างก็เช่นในยุคที่หุ้นดอทคอมและหุ้นไฮเทครุ่งเรืองมากนั้น แนวทางและผลการลงทุนของบัฟเฟตต์ดูด้อยลงไปเมื่อเทียบกับเซียนที่เน้นแนวการลงทุนที่หวือหวา อย่างไรก็ตาม หลังจาก “ฟองสบู่” หุ้นไฮเทคแตก แนวทางของบัฟเฟตต์ก็กลับมาได้รับการยอมรับเช่นเดิม

ข้อสาม เซียนนั้นมักมีหลักการลงทุนที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย พวกเขาไม่มีสูตรหรือสมการหรือชื่อเรียกที่ต้องใช้แทนด้วยอักษรภาษากรีก ว่าที่จริงหลายคนอาจจะไม่ทำประมาณการกำไรหรือคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทในอนาคตด้วยซ้ำ ความซับซ้อนของตัวเลขถ้าจะมีก็คงเป็นแค่การบวก ลบ คูณ หาร ถ้าจะสรุป ก็คือ หลักการลงทุนของเหล่าเซียนนั้น มักจะสามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ และการทำงานก็อาจจะใช้แค่เครื่องคิดเลขธรรมดาหรือไม่ก็ “คิดในใจ” ได้

ข้อสี่ การควบคุมอารมณ์ การมีวินัยในการลงทุน และความกล้าหาญหรือความกลัวในเวลาที่ถูกต้อง เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่เซียนหุ้นทุกคนมี เซียนหุ้นมักไม่ตื่นเต้นหรือกลัวเกินกว่าเหตุเวลาประสบกับสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นหรือหุ้นบางตัวหรือบางกลุ่มร้อนแรงมาก หรือประสบกับภาวะวิกฤติที่ผู้คนต่างพยายาม “หนีตาย” จากเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงอย่างที่ถูก “สื่อ” ออกมาในโลกของการสื่อสารเช่นในปัจจุบัน พูดง่ายๆ เซียนนั้นมีจิตใจที่สงบและมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง ความอดทนและอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากที่ทำให้เซียนไม่ออกนอกแนว หรือกรอบความเชี่ยวชาญของตน

ข้อห้า เซียนนั้น มักเป็น Loner หรือเป็นคนที่ชอบอยู่สันโดษคนเดียวในแง่ของการลงทุน นี่ไม่ได้หมายความว่าเซียนจะไม่คุยกับนักลงทุนคนอื่นหรือไม่ปรึกษาว่าหุ้นตัวไหนน่าลงทุน แต่เซียนมักเป็นคนที่มีความเป็นอิสระสูงในการคิดและตัดสินใจลงทุน พวกเขามีเหตุผลและความเชื่อของตนเองที่มักจะไม่ถูกชี้นำหรือชักจูงโดยคนอื่น ว่าที่จริงเซียนบางคนอย่าง จอห์น เนฟฟ์ นั้นชอบ “ทะเลาะ” ว่ากันว่า ในตอนที่เป็นเด็กนั้น เขาแทบจะ “ทะเลาะกับเสาไฟฟ้า” พอโตขึ้นก็ “ทะเลาะกับตลาดหุ้น” แต่สาเหตุที่ทำให้พวกเขาสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเองนั้น เป็นเพราะพวกเขาได้ศึกษาและผ่านประสบการณ์มามาก

ข้อหก เซียนนั้นเรียนรู้ความผิดพลาดของตนเองอยู่เสมอ เช่นเดียวกัน พวกเขาเรียนรู้ความผิดพลาดจากคนอื่นด้วย ซึ่งทำให้เขา “เจ็บตัว” น้อยลง การเรียนรู้ความผิดพลาดจากคนอื่นนั้น แน่นอน ต้องศึกษาจากประวัติศาสตร์ ดังนั้น พวกเขาจึงมักเป็นนักอ่านตัวยง โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์หลายๆ แขนง เช่น ประวัติศาสตร์บุคคล เศรษฐกิจ ตลาดหุ้นและอื่นๆ

ข้อเจ็ด เซียนบางคนนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นคนที่กล้าอย่างบ้าบิ่น หรืออย่างน้อยก็ต้องกล้ากว่าปกติในการรับความเสี่ยง แต่ข้อเท็จจริง ก็คือ เซียนตัวจริงทั้งหลายนั้นมักจะกล้าเสี่ยงอย่างมีเหตุผลและไม่ว่าในกรณีใด จะไม่เสี่ยงเกินไปแม้ว่าโอกาสในการที่จะชนะจะสูงกว่ามาก พวกเขารู้ว่า ความผิดพลาดและโชคร้ายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น การเอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์ คือ สิ่งที่จะรับประกันว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ คำว่ากล้าเสี่ยงอย่างมีเหตุผลนั้น ถ้ามองในภาพกว้าง ก็คือ เขาจะเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ เช่น ต้องมีการกระจายการถือหุ้นในระดับหนึ่งไม่ใช่ลงทุนหุ้นเพียงตัวหรือสองตัวหรือตัวเดียวเกินกว่า 50% ของพอร์ต แต่พวกเขาก็จะไม่กระจายความเสี่ยงมากเกินไป เพราะการทำแบบนั้นถึงแม้จะดูว่าความเสี่ยงลดลงแต่ผลการลงทุนก็จะแย่ไปด้วย

ข้อแปด เซียนนั้น “ทำงานหนัก” เซียนทุกคนต่างก็ทำงานมากโดยเฉพาะในการอ่านและคิด และสิ่งที่อ่านและคิดของพวกเขานั้น สุดท้ายก็อาจจะเชื่อมโยงไปสู่การลงทุน เซียนที่เป็นนักบริหารกองทุนรวมนั้น แน่นอน พวกเขายุ่งมากกับงานการลงทุน เวลาว่างของพวกเขาน้อยมากและคนทั่วไปก็จะเห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นเซียนที่ทำงานหนักมาก อย่างไรก็ตาม เซียนที่บริหารเงินของตนเองอย่างบัฟเฟตต์นั้น หลายคนก็จะมองว่าเขาไม่ได้ทำงานหนักอะไรนักหนา เลิกงานห้าหกโมงเย็นก็กลับบ้านแล้ว ไม่มีการขนงานกลับไปทำที่บ้าน เวลาของเขานั้นมีเหลือเฟือตั้งแต่ยังหนุ่ม แต่นั่นคือ สิ่งที่ปรากฏจากการมองภายนอก ข้อเท็จจริง ก็คือ เขาใช้เวลาอ่านมากมาย และคนที่อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนได้เท่าเขานั้นผมคิดว่ามีน้อยมาก ว่าที่จริง แม้แต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรง เช่น เรื่องของสังคมและการใช้ชีวิต เขาก็มีความรอบรู้ไม่น้อยทีเดียว เพียงแต่ว่าเขาอาจจะไม่ได้แสดงออกมามากนัก

ทั้งหมดนั้น ก็เป็นเพียงบางส่วนของคุณสมบัติที่เซียนส่วนใหญ่หรือเกือบทุกคนมี และผมเชื่อว่าคนที่อยากจะเป็นเซียนหรืออยากจะประสบความสำเร็จในการลงทุนจำเป็นต้องมี ดีกรีหรือระดับความเข้มข้นของแต่ละคุณสมบัติของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างรวมถึงจิตวิทยาหรือนิสัยส่วนตัวและสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ายิ่งเราปรับตัวเข้าหานิสัยเซียนได้มากขึ้น เราก็น่าจะลงทุนได้ดีขึ้น


ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20110329/384119/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.html


boyles

บทสัมภาษณ์เซ๊ยนหุ้น money management บางส่วน

พอดีก็อ่านเรื่อง money management ไปพอสมควรล่ะ ก็ยังไม่มีเวลามา Share เพราะมันเยอะมากจริงๆ + ขี้เกียจพิมพ์ด้วย ก็เลย up วันล่ะนิด จากบทความในหนังสือ market wizard

จากบทสัมภาษณ์เซียนหุ้นต่างๆ มีส่วนนึงที่คล้ายๆกัน ที่เซียนเหล่านี้ให้ความสำคัญในเรื่องของ money management มากพอสมควร

"การจัดการความเสี่ยง คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรจะทำความเข้าใจ จงพยายามลงทุนทีละน้อย ทีละน้อย และทีละน้อย คือคำแนะนำอย่างที่สองของผม ไม่ว่าคุณคิดว่าคุณควรจะลงทุนมากเท่าไหร่ คุณควรลดมันเหลือครึ่งนึงเท่านั้น" bruce kovner

"อย่าเสี่ยงเกิน 1 % ของ portfolio ภายในการเก็งกำไรในแต่ล่ะครั้ง การที่ผมยอมเสี่ยงครั้งล่ะไม่เกิน 1 % ของ portfolio นั้นทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างการเก็งกำไรในแต่ล่ะครั้งเลย และการรักษาระดับความเสี่ยงให้น้อยลงและคงที่นั้นคือ สิ่งที่สำคัญที่สุด" Larry hite

"คุณต้องรู้จักจำกัดการขาดทุนและรักษาเงินต้นของคุณไว้ เพื่อที่จะทำกำไรอย่างมหาศาลและรวดเร็วจากการเก็งกำไรที่ถูกต้องเพียงบางครั้งเท่านั้น ซึ่งสิ่งที่คุณไม่สามารถรับมือกับมันได้คือ การเสียเงินต้นทั้งหมดของคุณไปจากความผิดพลาดในการเก็งกำไรบางครั้ง" richard dennis

ก็เป็นบทสัมภาษณ์นะครับ แล้วเดี๊ยวจะลงในส่วนที่ไปสัมมนาวันเสาที่ผ่านมา เป็น director ของทางสิงคโปร์เขาสอนถึงเรื่องระบบที่เขาใช้ day trade จิตวิทยา management ในสไตล์เขา ก็พรุ่งนี้จะมา up ให้นะครับ แต่มันเยอะมาก คง up ได้บางส่วนเท่านั้นถึง idea ที่เขามาสอน แล้วก็ share นะครับ

good luck ครับ
boyles

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

link โปรแกรมและ web ดูกราฟทั่วโลก

เพื่อนๆใน group แนะนำมาครับ ต้องขอบคุณจริงๆครับ สำหรับการแบ่งปันครับ ผมเลยขอเอามาลงเก็บไว้ดูครับ


ก็เผื่อเอาไว้ดู dollar index usdthb Gold ได้หมดนะครับลองไปลองเลือกใช้ดูนะครับ

boyles

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

หลักการเทรด commodity ของ larry williams เบื้องต้น

larry update:
Public too long in Cocoa, Crude, Aussie $, Brit Pound, Canadian $, Swiss Franc, Gold, Hogs, Copper, OJ, RB Gasoline, Silver, Oats, Rice, and Wheat มีโอกาสปรับตัวลงรวมทั้ง gold ด้วยนะครับ

Bullish Set ups are: Nat Gas, nikkei, Bonds and Notes along with the entire
Soybean complex (ie beans, oil, and meal).

Seasonally speaking, the 11th and 12th trading day of March have been very
bullish for the SP500.

It's Coming... A Commodity Collapse

I counted them up this weekend, finding 15 commodity markets where the small speculators are at historically high net positions. Similar readings in the past have occurred in the areas of major sell offs.

larry

โดยหลักการของ larry เขาจะใช้ fundamental ในการดูตลาด set up for a rally ในขาขึ้น หรือใกล้จะลงแล้ว และใช้ technical ในการจับสัญญาณการ open long or short

fundamental ของเขาจะยึด commercial ที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่สุดในตลาดเป็นหลักในการ follow โดยเขาจะทำ commercial index ของเขาขึ้นมาเพื่อดูว่าตลาด set up for a bullish or ใกล้จุดสูงสุดแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ถ้า comercial bullish มาก และ small speculators(รายย่อย) bearish จัดๆ แสดงว่า ตลาดใกล้จุดต่ำสุดและมีโอกาส rally ในอนาคตอันใกล้

หลังจากนั้น เขาจะใช้เทคนิคในการจับสัญญาณเข้า และออก โดยเทคนิคเขามีหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การใช้ moving average การทำเป็น channel high low การใช้หลัก turtle trading

ทำไมเขาจึงใช้เทคนิคเขามาดูสัญญาณการซื้อขาย?

บางครั้ง fundamental ของเขาจะ setup rally แล้วบางครั้งมันก็ยังไม่ขึ้นเลย ยังมี small speculator ที่ยังขายอยู่เยอะในตลาด บางครั้งตลาดจะยังลงต่ออีกเป็นเดือนๆ แต่หลังจากนั้นเริ่มมีแรง buy จนมีสัญญาณเข้าซื้อทางเทคนิค ก็จะเป็นการเข้าซื้อจริง โดยยึดหลักเล่นตาม commercial ผู้ซึ่งเป็น big guy ในตลาด

เราก็กลับมาดูหัวข้อ ซึ่งที่เขาต้องการสื่อสารคือ fundamental ที่ดูเหมือนจะใกล้จุดสูงสุดแล้ว ตลาดน่าจะใกล้ set up bearish (ซึ่งเขาดูกราฟ weekly บางครั้งอาจกินเวลาเป็นเดือนๆจากที่เขาบอกถึงจะลง)

เราจะยังไม่เริ่มการ start short จนกว่าจะเกิดสัญญาณ short ทางเทคนิคจากระบบ (เรื่องนี้ เรื่องระบบที่เขาใช้เขียนยาวครับ ว่างๆจะมาเขียนอีกทีครับ) ด้วยเหตุผลที่ว่า หุ้นอาจจะวิ่งต่อได้จาก public rally ซึ่งนั้นไม่ใช่สัญญาณที่ดีหนัก เราจึงยังไม่อาจ short ได้เลย ถ้ามีสัญญาณทาง fundamental อย่างเดียว

เขาได้อธิบายไว้ว่า อย่างน้อยเราต้องรู้ก่อนว่า ตอนนี้เราเล่นอยู่เป็น commercial rally หรือ public rally ซึ่งการขึ้น ความแรง ความ bullish จะต่างกันเช่นกัน

ในทางกลับกัน ถ้า fundamental ไม่แสดงสัญญาณการ bull หรือ bear สัญญาณทางเทคนิคในทาง buy ของเขาจะ ignore หรือไม่เข้าซื้อ นี่เป็นวิธีกำจัด noise ของเขาเพื่อไม่ให้กิน whipsaw เมื่อ commodity ไม่ได้เป็นขาขึ้นจริงๆ

สรุป เขาบอกว่า commodity ใกล้ลงจาก fundamental เขาก่อน และจึงเริ่มทำการ short ถ้ามีสัญญาณทางเทคนิค นี่คือหลัก และวิธีการเล่นของเขาคร่าวๆครับ

หวังว่าคงพอเข้าใจบ้างนะครับ งงไหมครับ ^^

boyles

money management ตอน 1 การปกป้องเงินต้น ทำอย่างไร

เผอิญนอนไม่ค่อยหลับครับ เนื่องจากไม่ค่อยสบาย เลยแอบนอนตอนเย็นไปหน่อยนึง เอาล่ะ เลยเขียนบทแรกวันนี้เลยดีกว่าครับ ครายสนใจก้อไปซื้อได้ที่ www.mangmaoclub.com นะครับของคุณมดครับ แต่บทหลังอาจจะสรุปๆเอา มันเยอะเหลือเกิน อ่านต้นฉบับดีกว่า ที่แมงเม่าคลับ แปลดีด้วยครับ ของดร.แวน เค ทาร์ฟ

Money Management บทที่ 1 (ถ้าสรุปจบก้อจะสรุปอีกทีและเอาแนวคิดของลุงโฉลกมาผสมด้วย)

นักลงทุนหลายๆคนขาดทุนในตลาด หรือแม้กระทั่งบางคนกำไรมหาศาลแต่แล้วก็กลับมาขาดทุนได้เมื่อเวลาผ่านไป เรามาดูเหตุผลสำคัญกันครับ

Ralph vince ผู้เชี่ยวชาญ money management ได้ทำการทดลองเอาเด็กจบปริญญาเอกทางด้านสถิติมา 40 คน และมีประสบการณ์ในการลงทุนมาแล้วเช่นกัน และให้เล่นเกมจำลอง โดยให้เงินเริ่มต้น 10000 เหรียญ โดยโอกาสในการชนะของเกมนี้ เขาตั้งเอาไว้ที่ 60 % เกินครึ่งอีกนะครับ โดยทำการซื้อขาย 100 ครั้ง การเดิมพันจะได้ และเสียเท่ากันจำนวนที่ลงไป เช่น ลง1000 ถ้าถูกจะได้ 1000 และผิดจะเสีย 1000 เช่นกัน เมื่อเกิดซื้อขายจบลง 100 ครั้ง ปรากฎว่า มีคนชนะเกมส์นี้แค่ 2 คนใน 40 คน มีกำไรแค่ 2 คน

เพราะอะไร ??????

บางคนวางเดิมพัน 1 พันเหรียญ เมื่อเขาเจอภาวะขาดทุนติดต่อกัน 3 ครั้ง เขาจะขาดทุน 3000 เหรียญและเหลือเงินอยู่ 7000 เหรียญ การ breakeven ของเขา เขาจะต้องลง 3000 เหรียญเพื่อให้ได้เงินคืนมาทั้งหมด ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เพราะโอกาสถูกย่อมมากขึ้น จากการผิด 3 ครั้งติด แต่เกมส์นี้โอกาสถูกคือ 60 % เมื่อคุณขาดทุนอีกครั้งนั้นหมายความว่าเงินจะเหลือแค่ 4000 เหรียญ ซึ่งต้องทำกำไร 150 % เพื่อคืนทุนซึ่งหนักกว่าเดิมอีก ซึ่งเป็นสามารถให้หมดตัวได้ในการเดิมพันที่เยอะขึ้นเรื่อยๆ

หรือบางคนลง 2500 และเสียติดต่อกัน 3 ครั้งนั่นจะทำให้เงินเหลือแค่ 2500 ต้องทำ 300% ถึงจะเท่าทุน อืม เหนื่อยๆๆๆๆ

****** สรุปเลยครับ คนพวกนี้ขาดทุนเนื่องจากพวกเขายอมเสี่ยง และวางเดิมพันจนมากเกินไปนั่นเอง ********

สิ่งที่มีปัญหากับนักลงทุนทั่วไปคือ ขนาดของ portfolio ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยเงินที่น้อยเกินไปอย่างเช่น 300,000 บาท เมื่อคำนวณความเสี่ยง 2 % ในการเสี่ยงแต่ล่ะครั้งคุณจะยอมขาดทุนได้เพิ่งแค่ 6000 บาท ซึ่งคุณจะสามารถซื้อหุ้นได้จำนวนน้อยมาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้อาจไม่คุ้มถ้าเทียบเป็นจำนวนเงิน แต่ถ้าคุณลงเงินเดิมพันทั้งหมด 3 แสนบาท นั่นจะทำให้คุณเข้าสู่ภาวะเดิมพันที่เยอะเกินไป ซึ่งในระยะยาวโอกาสขาดทุนจะมากขึ้นทันที ดังนั้น portfilo ที่ใหญ่จะได้เปรียบกว่า และบริหาร money management ได้ดีกว่านั้นเองโดยไม่ต้องวางเดิมพันที่สูงมากเกินไปนั้นเอง

สิ่งต่อไปเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้ เมื่อเราขาดทุน drawdowns(%การขาดทุน) และเราต้องลงเท่าไหร่เผื่อที่จะ cover กลับมาเพื่อเท่าทุน(breakeven)

Drawdowns(% การขาดทุน) Gain to recovery (% ที่ต้องทำกำไรกลับมาเพื่อเท่าทุน)
5% 5.3 % gain
10% 11.1 % gain
15% 17.6 % gain
20% 25 % gain
25% 33 % gain
30% 42.9 % gain
40% 66.7 % gain
50% 100 % gain
60% 150 % gain
75% 300 % gain
90% 900 % gain

การขาดทุนที่มากเกินไปในแต่ล่ะครั้ง นั้นหมายความว่าจะทำให้ต้องทำกำไรขึ้นมามหาศาลเพื่อกลับมาเท่าทุน อย่างเช่น เราขาดทุน 50 % เราต้องทำ 100 % การขาดทุนเกิน 50 % นั้นจะทำให้เรามีโอกาสวางเดิมพันมากขึ้นเพื่อให้กลับมาเท่าทุน เสี่ยงนั้นจะทำให้เราเพิ่มโอกาสที่จะเป็นผู้แพ้ในตลาดมากขึ้นเช่นกัน

สรุปบทเรียนบทแรกคือ การวางเดิมพันที่มากเกินไปในแต่ล่ะครั้ง จะทำให้เราเสี่ยงที่เข้าสู่ภาวะที่จะต้องเดิมพันมากขึ้นเพื่อเอาทุนขึ้น และเมื่อคุณแพ้ คุณก็แทบจะหมดโอกาสที่จะกลับมาเท่าทุนได้อีกครั้ง

ก้อจบล่ะนะครับ บทแรก หวังว่าคงยังไม่เบื่อกันก่อนนะครับ แล้วจะมา up ใหม่คร๊าบ โชคดีทุกท่านคร๊าบ

ต้องขอบคุณคุณมดแห่งแมงเม่าคลับอีกทีนะครับ ที่ทำผลงานดีๆออกมา ^^

boyles

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนะนำการเริ่มต้นครับ มา share กันครับ

จะเขียน money management ก้อยังไม่ได้เขียนสะที เพิ่งได้หนังสือจากคุณมดมาก็ยังอ่านไม่จบ จะได้เอามา share กันเพิ่มเติ่มด้วย เดี๊ยวอ่านจบจะสรุปรวมไปเลยครับ ยังไงก็ต้องขอบคุณมดด้วย ครายสนใจเพิ่มเติมก็แอบ promote web ให้คุณมดด้วยครับ www.mangmaoclub.com ครับดีมากครับ ^^

ก้อมีเพื่อนๆเข้า group มามากขึ้นนะครับ ก้อว่างๆ จะได้ share idea กันสำหรับมือใหม่ๆนะครับ

สิ่งแรกที่เราต้องรู้ผมคิดว่า เราต้องค้นหาตัวเองให้เจอก่อน ค้นหาตัวเองในเรื่องอาไรบ้าง เดี๊ยวลองมาดูกันครับ สิ่งที่ผมพอนึกออกก็คงแบ่งได้ดีังนี้

1. เราจะเป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ พื้นฐาน เพราะวิธีการคำนวณทางพื้นฐานและเทคนิคก็มีวิธีต่างกัน หรือเราจะคัดหุ้นโดยวิธีทางพื้นฐานแล้วใช้เทคนิคในการจับสัญญาณในการเข้า ออกก็มีคนใช้เยอะเช่นกันครับ

ความเชื่อเป็นสิ่งที่สำคัญครับ ไม่ว่าจะเทรดโดยวิธีใดก็ตามผลลัพธ์ที่เราต้องการคือกำไร ดังนั้นถ้าเราเทรดกับสิ่งที่ขัดกับความรู้สึกเรา นั่นจะทำให้เราไม่สามารถเทรดได้ตามที่เราคาดไว้

สรุปนะครับ เราอาจจะหา web ที่ให้ความรู้ทางพื้นฐาน ซึ่งก้อมีหลาย web เหมือนกันศึกษาเรื่องนี้ ส่วนตัวผมเองเป็นนักเทคนิคล้วนครับ ไม่ดูข่าว ไม่สนใจพื้นฐาน นั่นก็มาจากความเชื่อครับ ถ้าสนใจเทคนิคก้อยินดี share ครับและก็ยังมีอีกหลาย web ที่ให้ความรู้ทางด้านเทคนิค แต่ข้อควรวระวังคือ มีการให้นิยามในเรื่องเทคนิคหรือการใช้ indicator บางอย่างผิด ซึ่งจะทำให้เป็นที่มาของการขายหมูหรือตกรถ (ขอไม่ยกตัวอย่างนะครับ เดี๊ยวมันจะ advance ไป) และไม่สามารถทำกำไรได้

หลังจากเราศึกษาและตัดสินใจเลือกแนวทางของตัวเองแล้ว สิ่งต่อไปผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของระยะเวลาการลงทุน

2. เราอาจจะต้องลองเทรดดูก่อนครับ ว่าเราอยากเป็นนักเทรดระยะยาว กลางหรือสั้น อย่างเช่นบางคนชอบตัดสินใจเร็วๆ ก็อาจจะชอบการเทรดระยะสั้น ซึ่งการใช้เครื่องมือ การอ่านค่า indicator ต่างๆก็ย่อมต่างกับการเทรดระยะยาว อย่างของผมก็จะชอบเทรดระยะกลาง และถือยาวหน่อย เพราะผมเป็นคนตัดสินใจช้า ต้องดูโน้น ดูนี่เยอะ ดังนั้นการเทรดสั้นๆ จะขัดกับตัวผมเองมาก การเลือกและการใช้เครื่องมือต่างๆจะไม่เหมือนกับนักเทรดระยะสั้นมากๆ ตรงนี้เราอาจจะต้องลองเทรดสักพักก่อน แล้วดูว่าเราชอบแบบไหนครับ

ส่วนตัวก้อพอแนะนำการเริ่มศึกษาเทคนิคได้บ้างครับ
ก็ขอแนะนำคร่าวๆดังนี้ครับ
แนวคิดของนกเทคนิค คือ การคำนวณ probability ความน่าจะเป็นของ possibility การขึ้น ลงโดยดูจากกราฟเทคนิค เมือเราศึกษาหา pattern ที่ % มันถูกมากกว่าผิดเราย่อมมีโอกาสชนะมากขึ้น ตลาดที่มีการ random input ตลอดเวลา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะถูกทุกครั้ง ดังนั้นทำไมเราจึงต้องมี stoploss แต่เมื่อเรารู้โอกาสในการชนะเรามากกว่าผิด เราย่อมมีโอกาสชนะในตลาดในระยะยาว

มาดูแนวคิดของนักเทคนิค อันนี้เอามาจากลุงโฉลกเลย
1. Market Action Discounts everything (การเคลื่อนไหวของหุ้นจะถูกแสดงออกมาผ่านกราฟ โดยได้ประมวลทุกอย่างแล้ว เช่น การคาดการณ์กำไร ขาดทุน แนวโน้มของบริษัท PE มูลค่าหุ้น .... ความโลภ ความกลัว)
2. Prices Move in Trends หมายความว่า ขึ้นแล้วจะขึ้น แพงแล้วจะมีแพงกว่าอีก แต่ถ้าลงแล้วจะลงอีก ถูกแล้วจะมีถูกกว่าอีก
3. History Repeats itself เมื่อเราเห็น pattern ต่างๆ ซึ่งในอดีตมันเป็นยังไง เมื่อมันเกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน มันก็จะเป็๋นอย่างเดิมอีก

การเทรดลงในกระดาษ เราตอ้งทำอาไรบ้างลองดูนะครับ
http://set-financial-academy.blogspot.com/2010/01/trading-system.html
1. Setting up Exercise
1.1 เลือกตลาด
1.2 เลือกหุ้นหรืออนุพันธ์ที่มีสภาพคล่อง และระวังการเล่น margin ด้วย

นี่คือแนวทางที่คุณจะฝึกด้วยเงินจริงๆ แต่ผู้สอนอยากจะให้ทดลองเล่นในกระดาษก่อน

มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งบอกว่ามีคนมากมายเข้ามาในตลาดหุ้น แต่มีเพียงคนเดียวที่เป็นเศรษฐีได้ โดยการแค่ Trade หุ้น IBM ตัวเดียว

2. เลือกแนวทางที่เราจะซื้อ-ขาย
2.1 อาจจะเป็นการวิเคราะห์พื้นฐาน หรือเทคนิคก็ได้ หรืออาจจะเป็นสถิติ ความน่าจะเป็นขึ้น ให้เข้ากับตัวคุณเอง
2.2 คุณต้องคำนึงว่ามันไม่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบ ความคิดเห็นของคุณจากการวิเคราะห์เทคนิค หรือกำไร ขาดทุนที่เกิดขึ้น มันขึ้นอยู่แค่คุณจะสามารถทำตามระบบได้หรือไม่ โดยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม

3. Trading System Requirement
3.1 Trade Entry ต้องรู้จุดเข้าที่แน่นอน
3.2 รู้จุดขายขาดทุน Stop loss
3.3 Time Frame เช่น intraday 30 นาที หรือ 60 นาที หรือ day เข้าด้วยTime frame ไหนออกด้วย Time frame นั้น
3.4 จุดที่คุณจะขายทำกำไร
3.5 ต้องลองซื้อ-ขายหลายๆครั้ง และวัดผลได้โดยไม่น้อยกว่า 20 ครั้งของการเทรด Trading in Sample sizes
3.6 มีการจัดการความเสี่ยงไปด้วย Accepting the risk

สุดท้ายสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เราทำกำไรและอยู่รอดในตลาดหุ้นคือ trend นะครับ
http://set-financial-academy.blogspot.com/2009/12/whipsaw-song-by-ed-seykota.html
เมื่อเราอยู่ใน trend จะให้กำไรเราคืนทั้งหมด กับความผันผวนทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

ก้อมีสิ่งที่จะแนะนำเท่านี้แหล่ะครับ ถ้าเพื่อนคนไหนจะมา share idea ก็ดีนะครับ จะได้ช่วยๆกันแนะนำ สร้างสังคมแบ่งปันครับ ^^

boyles

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

money management เบื้องต้นเราต้องรู้อาไรบ้าง สำคัญขนาดไหน

วันนี้ได้ ดู vdo ของ web mangmao เรื่อง money management น่าสนใจมากครับ แต่ก่อนจะดู vdo นี้ ผมอยากเอาแนวคิดเบื้องต้นมาให้ดูกันก่อน ของที่ทางลุงโฉลกสอนไว้ ก็มีหลาย idea ที่น่าสนใจ แต่หลักการโดยรวมก็คล้ายๆกัน เดี๊ยวเรามาดูกันว่า ทำไมมันถึงมีความสำคัญมากดังที่ นักเซียนหุ้นหลายๆคนได้บอกไว้ว่า money management create wealth นะครับ สิ่งที่เราต้องรู้เบื้องต้นมีอะไรบ้าง เดี๊ยวมาเขียนต่อนะครับ

boyles

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Remember the Kid's Game "Pick up Sticks"

I
loved to play "Pick up Sticks" as a kid. Most games got boring like Monopoly or even Chinese Checkers, but toss those sticks out, and I was in seventh heaven.
Not that I was good at it when I began playing (trading?). But from the get go I enjoyed the game, despite the drubbings Bob, my older brother, gave me and ever other kid we knew. He was unbeatable at this game. Getting thrashed was a great motivator to figure out what I was doing wrong, and what Bob was doing right.
Every time I played, my eyes were glued on how Bob approached the game. It took me awhile to see he had a strategy that was different than mine. My approach had been to take away the stick that would allow me to get the most sticks after that. His approach was to take the easiest "shots" or "picks", letting others go for the hard ones as they almost always blew it... which left the field wide open for him. Bob went for the low hanging fruit before I even knew what that meant.
Bob's other big advantage was when it came his turn to pick a stick out of a log-jam he did not rush right into it. He took his time and looked at the problem from all angles. Then, and only then, did he proceed; after he had his plan of action.
Another thing he did differently was to play the game by himself. That looked boring to me; after all who are you going to beat? I asked him about that one day how it could be any fun to win against yourself. I will always remember what he said, "I'm not playing now to beat myself, I'm playing now to beat you."
Slowly, ever so slowly, my brother would then begin to make his move and with great focus. The rest of us would talk and joke as we picked up the sticks. Not Bob. No siree, he was all business, totally focused on the task at hand.
Eventually I got so I could beat the other kids, even my sister Pam, but never Bob. I sure learned from him, and that simple little game, what it takes to trade.
Good Luck & Good Trading,
Larry

boyles ว่างๆ จะแปลให้นะครับ

Wait for the Door to Open

Look before you leap is one of the first adages we are taught as children. It should be should the first one we are taught as traders.

I
am certain I have lost more money trading, had more losing trades because I got in too soon, rather than because I got in too late. I should have looked before I leapt.
This is a real problem I have had. So I am certain you will have it as well, if you have not already experienced it. The attraction to making money, for people like us, is greater than the potential risk. We are driven more by greed than we are by fear.
We have learned to essentially see what markets are going to do. We learn to predict things, and we have learned to look forward. Thus, we are afraid more of losing the money we "could have made" than losing money we have in our pockets. That's the emotional Achilles heel of traders. Overcome it, and you will succeed.
So how do we get around this, what we do to resolve the situation?
To me, the most helpful thing I have done is to have a checklist to make certain that at least three or four elements of a winning trade are in play. Not on my checklist? Then I simply can't take the trade. I need my checklist to make certain I am not just playing Kamikaze Cowboy. This forces me to a delay my emotions and use my strategies.
It's a little bit like hunting. Once you get your game in site there are three steps to go through; the first is to breathe, secondly to aim and finally, squeeze the trigger. You can't rush into this... it's the same with trading.
I have learned to wait, to be deliberate, to realize almost every trade I entered in my entire life has gone against me, which means 98% of the time there has always been a better place to get in. And for certain, the more emotional I have been about getting into a trade, the worse my entry was. The path of correct action is not an easy one to follow.
It really is the fear of losing money that drives us to act too quickly, to leap before we look. So keep in mind there is plenty of money to be made trading, and there'll always be plenty of trades just around the corner. It's not the good trades that kill you. It is the bad trades we jumped into too quickly. For big pay, learn to delay.
Good Luck & Good Trading,
Larry

boyles ว่างจะมาแปลนะครับ

Life is Like the Markets

W
ant to become a good trader? It may be as easy as studying life itself. I will never know if I have learned more about trading, from life itself, or more about life from trading. Both offer many of the same lessons.
As just one example; you only get out of life what you put into it. After survival, that is the second law of life. So it is with trading.
Put in "hobby" hours and you will get "hobby" results from your trading. That is not bad; some people don't have more time, or strong passions. Just don't expect professional results from part time efforts.
Invest a lot of time with your kids or spouse, and you get great kids and a great relationship with your wife or husband. Not paying attention to them is the same as not using stops in trading.
From trading I have learned that after a string of great trades, comes some real stinkers. What a life lesson that one has been...after good times I have then been besieged with junk and junk people. I have leaned that life's most beautiful moments are often followed by bad things I would never have imagined.
That is not the lesson though. The lesson is that all this cycles. Don't get drawn down into the negative crap or up too high for the wins... find an emotional balance. When I let all my bad trades get to me I locked up; froze, and could not trade. In life I learned not to be short term concerned about the negatives... they would pass... my duty is to endure.
Who hasn't taken a course or class in communicating or been told that you really need to listen to what the other person is saying? I'm still not a great listener to people, but a darn site better one now than ever before.
Life lessons, market lessons; they can make us better traders and better people. All of us, right? But, how many really put that into practice? Trading taught me to pay attention to what the market was saying; to get into communication with the market. This is done by:
  • Dropping my preconceived notions of what the market 'should' do. Just as in a conversation, Listen, don't assume you know what the person will say.

  • Sitting back... 4 to 5 feet from my monitor to see what the charts/indicators are really telling me. It is there, all the stuff I am looking for but had not seen. I just have to "look".
I'm still not a great listener of people, but a darn site better one now than ever before. Life lessons, market lessons; they can make us better traders and better people.
Good Luck & Good Trading,
Larry

boyles ว่างจะมาแปลนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Trading & Collecting Honey

W
hen I was a kid to make ends meet, my dad raised bees part time and sold their honey to the local stores in Lewistown, Montana. We had all the protective stuff you have seen that bee keepers use, but you probably have never seen the filters to trap propolis, pollen filters and separators. It was quite an operation.
There were jars for mom to clean and for us to fill up. Our honey was never heated like that store-bought stuff you probably have in your cupboard. If you heat honey it will stay in solution and not turn solid when cold. However, as pretty as that looks, the heat kills all the good stuff in honey, almost making it inert glucose with a nice flavor.
Anyway, I was always afraid of the bees.
It was for good reason. I had been stung several times; none of which felt good. Dad also got stung a few times, but that did not seem to bother him as much.
One day I asked him about bee bites as we were extracting the sweet honey from the combs. He said, "Son, I do all I can to not get bitten. I wear the right clothes and nets. Smoke my cigar as well... but still... every now and then I get bit just like you. If you are going to get honey, as you see, it takes a lot of work and sometimes you will get bit, that's just the way it is."
"And I'll tell you this; I know those bites hurt you a lot more than they hurt me. That's because you have not been bitten much before, so there is a shock effect to that, but you will get used to it. Part of growing up is learning to endure pain."
"There's another thing as well, when I get bit, I think of the money I can pick up from selling our honey, kinda' takes the entire sting out of it."
Honey gathering and trading have so much in common.
Good Luck & Good Trading,
Larry

ผมชอบบทความนี้มากเหมือนกันครับ เดี๊ยวผมจะแปลให้นะครับ จะได้อ่านเข้าใจง่ายๆ ถ้าแปลผิดเพี้ยนก็ขออภัยนะครับ ของ larry williams นะครับ

เขาเล่าว่า เมื่อตอนเด็กๆ ครอบครัวของเขาก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร พ่อของเขาทำน้ำผึ้งขายเป็นงานเสริม พวกเขามีเครื่องมือพร้อมในการ สกัด การทำ การป้องกันในขบวนการทำน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งของเขาไม่ได้ผ่านขบวนการให้ความร้อนเหมือนที่วางขายในร้านทั่วไป น้ำผึ้งที่วางขายตามร้านพวกนี้เมื่อโดนความเย็นจะไม่แข็ง แต่การผ่านขบวนการให้ความร้อนมันก็สกัดเอาสิ่งที่มีประโยชน์ต่างๆออกไปเช่นกัน

เขาเล่าต่อว่า เขากลัวผึ้งมาก และก็โดนมันต่อยบ้าง และเขาก็ไม่เคยรู้สึกดีเลย ตรงข้ามกับพ่อเขาซึ้งก็โดนต่อยเหมือนกันแต่พ่อของเขาก็ไม่รู้สึกถูกรบกวนมาก

วันนึงเขาถามพ่อเกี่ยวกับเรื่องโดนผึ้งต่อยในระหว่างทำน้ำผึ้ง พ่อเขาพูดว่า เขาทำทุกทางเพื่อที่จะไม่ให้โดนผึ้งต่อย แต่ท้ายที่สุดเขาก็ยังโดนต่อยอยู่ดี อย่างที่ลูกเห็นการเก็บน้ำผึ้ง พวกเราก็ต้องทำงานเยอะแยะเลย และในบางครั้งมันก็ต้องโดนต่อยบ้าง ซึ้งมันก็เป็นธรรมดาอย่างนี้แหล่ะ

และพ่อจะบอกให้ลูกฟังอีกอย่างนึงว่า พ่อรู้ว่ามันทำให้ลูกเจ็บมากกว่าที่มันต่อยพ่ออีก เพราะอะไรรู้ไหม นั่นก็เพราะลูกยังไม่ค่อยโดยผึ้งต่อยมากเท่ากับพี่พ่อเคยโดน และเมื่อเวลาผ่านไป ลูกก็จะชินกับมัน เพราะการที่ลูกจะเติบโต และพัฒนาขึ้น คือการเรียนรู้ที่จะทนต่อความเจ็บปวดเหล่านั้น

และก็ยังมีอีกอย่าง เมื่อเขาโดนผึ้งต่อย เขาก็จะคิดถึงเงินที่เขาจะได้รับจากการขายน้ำผึ้ง นั้นทำให้เขาลืมความเจ็บปวดได้

ก็เช่นเดี๊ยวกับหุ้นนะครับ ยังไงกว่าเราจะเก่งขึ้น เราก็ต้องผ่านอุปสรรมากมายนะครับ ต้องอดทน ผ่านประสบการณ์เลวร้าย นั้นจะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่มากขึ้น และทั้งหมดนี้ มันก็เป็นธรรมดาของชีวิต แล้วเราจะประสบความสำเร็จครับ

ยังไงคงได้แง่คิดอาไรบ้างนะครับ

ตัวผมชอบคำนี้ครับ
Part of growing up is learnign to endure pain.
boyles

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

money and risk management ของเซียนหุ้น มาดูแนวคิดกัน

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ หลังจากมีเทคนิคมากมายแล้ว การจัดการความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่น่าสำคัญที่เราควรจะรู้ เรามาดู idea ของเซียนหุ้น ว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง เกี่ยวกับเรื่องนี้ น่าสนใจครับ ต้องขอบคุณคุณมดจริงๆ ครับ ส่วนที่เขียนว่า boyles: ไว้ข้างหน้าก็เป็น idea ผมครับ จาได้ไม่สับสนกับวาทะของเหล่าเซียนหุ้นครับ ^^

Paul Tudor Jones

- ในการที่จะทำกำไรสะสมก้อนใหญ่ขึ้นมาได้นั้น คุณต้องเรียนรู้ที่จะขาดทุนสะสมทีละน้อยกว่านั้นมากๆ เมื่อคุณเล่นผิดทางให้ได้เสียก่อน

boyles: นี้น่าจามาจากแนวคิดของ trend following นะครับ ขาดทุนน้อยๆ หลายๆครั้งได้ แต่พอเป็นเทรน จะได้เงินก้อนโตคืนมา

- ผลจากการซื้อขายสัญญาฝ้ายในครั้งนั้นคือจุดเปลี่ยนของชีวิตผม เพราะผมได้มาถึงในจุดที่ผมพูดกับตัวเองว่า “ไอ้โง่เอ๋ย ทำไมแกต้องเสี่ยงทุกอย่างที่แกมีในการซื้อขายเพียงแค่ครั้งเดียววะ? ทำไมแกไม่แสวงหาความสุขให้กับชีวิตแทนที่จะเป็นความเจ็บปวดเล่า

boyles: อันนี้โดนครับ money management ไม่ได้เป็นการบริหารเงินอย่างเดียวนะครับ ต้องบริหารความสุขไปในตัวด้วยอย่างที่ลุงโฉลกบอกไว้ครับ หาจุดสมดุลครับของแต่ล่ะคน

- ผมมักจะคิดถึงแต่เรื่องที่จะขาดทุนเท่าไหร่ มากกว่าจะได้กำไรเท่าไหร่อยู่เสมอ จงอย่าคิดแต่จะทำกำไร แต่จงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะปกป้องเงินทุนที่มีอยู่ให้ได้เสียก่อน

boyles: เหมือน jorge soros พูดไว้แป๊ะน่าสนมากครับ กับ idea นี้

- ผมพูดอยู่เสมอว่าปรัชญาการลงทุนของผม คือการแบกรับความเสี่ยงอย่างบางเบา ผมจะมองหาโอกาสที่มีอัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นอย่างสูงเท่านั้น คุณไม่ควรจะต้องเจ็บตัวจนเข้าเนื้อในการลงทุน นั่นหมายความว่ามันไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องเดิมพันอย่างมากมาย มันไม่มีเหตุผลที่คุณจะต้องแบกรับความเสี่ยงจนมากเกินไปเลยสักครั้ง เพราะคุณควรจะสามารถมองหาโอกาศที่มีอัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ต่างกันอย่างมากได้ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณสามารถที่จะกระจายการลงทุนไปยังโอกาศเหล่านี้ โดยแบกรับความเจ็บปวดเพียงน้อยนิดพร้อมกับผลตอบแทนที่สูงที่สุดนั่นเอง

boyles: เหมือน larry williwams เลยครับ smart money never bet big จำไว้ จำไว้

- คุณต้องรู้จักปรับสภาพ, วิวัฒนาการ, ต่อสู้ หรือไม่ก็ตายไปจากตลาดหุ้น

boyles: เหมือน larry willieams เหมือนกัน It's all about survival

Larry Hite

- หากว่าคุณไม่จัดการกับความเสี่ยงอย่างจริงจัง มันจะจัดการคุณแทน

- พูดตามตรง ผมมองไม่เห็นตลาด ผมมองเห็นแต่ความเสี่ยง ผลตอบแทนและเงินของผม

- เราเล่นกับตลาดในมุมกลับ สิ่งแรกที่เราถามไม่ใช่ว่าเราจะสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่ แต่เราจะเสียมากเท่าไหร่ต่างหาก เราเล่นเกมรับเสมอ

- ข้อดีที่สุดอย่างหนึ่งของตลาดหุ้นก็คือ … มันไม่สนใจว่าคุณเป็นใคร ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะผิวสีอะไร ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะเตี้ยหรือสูง มันไม่เคยสนใจอะไรสักอย่างเดียว และไม่เคยสนใจว่าคุณจะอยู่หรือไปอีกด้วย

- ลักษณะของการเดิมพันนั้นมีอยู่สี่ประเภท นั่นก็คือ การเดิมพันที่ดี, การเดิมพันที่แย่, การเดิมพันที่คุณชนะ และการเดิมพันที่คุณแพ้ อย่างไรก็ตาม การชนะและได้กำไรจากการเดิมพันที่แย่ของคุณคือสิ่งที่อันตรายที่สุด เพราะความสำเร็จจากการเดิมพันลักษณะนี้จะผลักดันให้คุณกล้าเล่นในเดิมพันลักษณะนี้มากยิ่งขึ้นในอนาคต แน่นอนว่าคุณอาจขาดทุนจากการเดิมพันที่ดีไปก็ได้ แต่หากว่าคุณยังคงเลือกที่จะเล่นในการเดิมพันที่ดีต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆนั้น กฏของค่าเฉลี่ยจะคอยรับใช้เงินของคุณเอง


boyles: รายนี้ก็เน้น protect your capital first เน้นเกมรับอีกราย อย่าเพิ่งคิดถึงกำไรนะครับ รู้จักปกป้องเงินต้นก่อนนะครับ


Marty Schwartz

- เมื่อไหร่ที่ผมเล่นชนะตลาด ผมจะพูดกับตัวเองว่า “ฝีมือตรูเอง แต่ถ้าผมแพ้ผมจะหนีออกมา เพราะผมต้องการที่จะปกป้องเงินของผมไว้ เพื่อที่จะเอาไว้ซื้อหุ้นในครั้งต่อไป

- คุณต้องเรียนรู้ที่จะตัดขาดทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำกำไรได้นั้น คือการไม่ปล่อยให้การขาดทุนของคุณมันบานเบอะออกไป

boyles: idea ของนักเก็งกำไรชั้นนำของโลกอย่าง jorge soros ก็เช่นกัน กฏข้อแรกของเขา คือก่อนที่จะคิดทำกำไร ต้องรู้จักปกป้องเงินต้นของคุณให้ได้ก่อน สิ่งที่ช่วยคุณได้คือ stoploss และ timing ที่ดีที่สุดของการ stoploss คือ ช่วงแรก ถ้าคุณปล่อยมันไปเรื่อยๆ มันก็ยิ่งทำใจลำบากมากขึ้นเท่านั้นครับ

Bruce Kovner

- ไมเคิล มาร์คัส (สุดยอดเซียนหุ้นคนหนึ่ง) ได้สอนให้ผมรู้จักกับสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ : คุณต้องรู้จักยินดีที่จะทำผิดพลาดอยู่เป็นประจำ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่ผิด ไมเคิลสอนผมเกี่ยวกับการตัดสินใจให้ดีที่สุด และผิดพลาด, ตัดสินใจให้ดีที่สุดอีกครั้ง และผิดพลาด และตัดสินใจให้ดีที่สุดเป็นครั้งที่สาม และทำกำไรของคุณสักหนึ่งเด้ง!


boyles: ผมเข้าใจว่าข้อนี้ เขาน่าจะหมายถึงการตัดสินใจที่ดี การวางแผนที่ดี มีวินัยในการเทรด และ money management ที่ดี

Randy Mckay

- เมื่อไหร่ที่ผมเจ็บตัวจากตลาด ผมจะหนีออกมา มันไม่สำคัญหรอกว่ามันจะซื้อขายกันอยู่ที่เท่าไหร่ ยังไงเสียผมก็จะหนีออกมา เพราะผมเชื่อว่าเมื่อไหร่ที่คุณเจ็บตัวในตลาด การตัดสินใจของคุณจะย่ำแย่กว่าตอนที่คุณสบายดีเป็นอย่างมาก และหากว่าคุณยังคงติดหนึบอยู่กับตลาดในขณะที่มันวิ่งสวนทางกับคุณ ไม่ช้าไม่นานมันก็จะพาคุณออกจากตลาดไปเอง

boyles: อันนี้ดีครับ ต้องคิดว่าเราสามารถทำกำไรในตลาดได้ตลอดเวลา ผมก็เป็นหนึ่งคนที่เคยผ่านประสบการณ์แย่ๆมา ยิ่งผิดมาก การตัดสินใจมันก็แย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไปทำสมาธิมาครับ พอนิ่งได้ การตัดสินที่ดีก็กลับมา และกลับมาทำกำไรได้ัมากมายอีกครั้ง

Tom Basso

- ผมคิดว่าจิตวิทยาการลงทุนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ตามมาด้วยการควบคุมความเสี่ยง และสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุดก็คือคำถามที่ว่า คุณจะซื้อหรือขายตอนไหนเท่าไหร่ดี


boyles: ชัดเจนครับ หลังจากเราเรียนรู้เรื่องจิตวิทยาการลงทุนแล้ว อ่านใน blog ผมก็ได้ครับ ค้นดูนะครับ การควบคุมความเสี่ยงสำคัญมากเหมือนกัน เดี๊ยวหลังจากนี้ ผมจะ up เรื่องนี้เยอะขึ้นครับ

Victor Sperandeo

- กุญแจสำคัญของความสำเร็จในการเก็งกำไรคือ “วินัยการลงทุน” เพราะหากว่าความฉลาดของคุณคือกุญแจสำคัญจริงๆ มันก็คงจะมีคนจำนวนมากที่สามารถจะทำกำไรจากการเล่นหุ้นได้อีกเยอะ ผมเข้าใจว่ามันฟังดูน่าเบื่อ แต่สิ่งเดียวที่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุดซึ่งทำให้หลายๆคนหมดตัวจากการเล่นหุ้นก็คือ พวกเขาไม่ยอมตัดขาดทุนอย่างรวดเร็ว

William O’Neil

- ปรัชญาของผมก็คือ หุ้นทุกตัวนั้นแย่ มันไม่ใช่หุ้นที่ดีจนกว่ามันจะทำกำไรให้กับคุณ และหากว่ามันดันร่วงลงไปแทน คุณก็ควรที่จะตัดขาดทุนอย่างรวดเร็วเสีย


boyles: ผมว่าปรัชญาของนายคนนี้ น่าจามีแนวคิดไม่ยึดติด เพราะจะทำให้เขาสามารถตัดขาดทุนได้ดี โดยไม่ต้องมี positive thinking ที่ว่า หุ้นตัวนี้พื้นฐานดี ซึ่งมาจากความเชื่อหลายอย่าง นั้นจะทำให้เราไขว้เขว้ไม่กล้า stoploss

Monroe Trout

- จงมั่นใจก่อนว่าคุณมีความได้เปรียบ และจงรู้ให้ดีก่อนว่าความได้เปรียบของคุณคืออะไร

boyles: ความได้เปรียบที่เขาหมายถึงน่าจะคือ gaining knowledge นะผมว่า

Tony Saliba

- ผมรู้ถึงความเสี่ยงของผมอยู่เป็นประจำ และผมก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกับมันอีกต่อไป


boyles: สิ่งนี้น่าจะเกิดจากการวางแผนที่ดีครับ

Anonymous

- คำว่า TIPS หรือหุ้นเด็ด เป็นการย่อคำจากคำว่า “Trading Is Position Sizing” หรือการเก็งกำไรคือการบริหารเงินทุนต่างหาก

boyles: ท้ายที่สุด moneny management ก็สำคัญมากกว่าเทคนิคด้วยซ้ำ เดี๊ยวคราวหน้าผมจะทยอยลงเรื่องนี้ให้เยอะขึ้นครับ แล้วมาฝึกบริหารเงินทุนกันครับ

boyles